วิเคราะห์แนวทาง 3 ความเป็นไปได้ Scenario ชี้ชะตา ‘พิธา-ก้าวไกล’ ปมเสนอแก้ ม.112 หาเสียงเลือกตั้ง 2566 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 หรือไม่ ?
คดี พิธา และ พรรคก้าวไกล ที่กลายเป็นประเด็นร้อนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 จากกรณีเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 หรือไม่ ?
โดยผู้ยื่นคำร้อง คดีนี้คือ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความของอดีตพระพุทธะอิสระ โดย ม้คำร้องของ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ที่ส่งตรงถึงศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ ไม่ได้ขอให้มีคำสั่งยุบ พรรคก้าวไกล แต่ขอให้ศาลสั่งให้พิธา และพรรคก้าวไกล ทำสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. เลิกการดำเนินการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112
2. เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ที่กระทำอยู่ และจะดำเนินการหรือกระทำต่อไปในอนาคต
ขณะเดียวกัน ผศ.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีทัศนะว่าการที่มีพรรคการเมืองหาเสียงจะแก้ไขกฎหมายมาตราหนึ่งมาตราใดยังไม่สามารถที่จะพูดได้ว่านั่นเป็นการล้มล้างการปกครอง
1. ศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคำสั่งยกคำร้อง
2. ศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สั่งให้หยุดการกระทำ
3.ศาลวินิจฉัยว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งให้ยุบพรรค
โดยจากความคิดเห็นของ ผศ.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มองว่าแนวทางทางที่ 3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไปไกลเกินคำร้อง ของ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพราะคำร้องไม่ได้ขอในประเด็นนี้
ทั้งนี้ ผศ.ศร.ปริญญา ระบุว่า แนวทางที่เป็นไปได้คือ แนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 ซึ่งเชื่อมาจะออกมาแนวทางที่ 2 แต่ถ้าศาลสั่งให้หยุดการกระทำต้องดูเนื้อหาต่อไป หยุดไม่ให้ใช้หาเสียงในวันข้างหน้า หรือหมายรวมถึงการกระทำเรื่องนี้ เช่นเรื่องการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขเรื่องนี้ไม่ได้ ต้องรอดูคำวินิจฉัยในวันที่ 31 ม.ค.2567 นี้