พาผู้บริโภคมาทำความรู้จัก "อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเติมน้ำมัน" หรือค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ได้สูงสุดของมาตรวัดนั้นๆ คืออะไร ? เวลาเติมน้ำมันเราจะได้รู้ไว้ หลังมีปม #ดราม่าเติมน้ำมันไม่เต็มลิตร
จากกรณีที่มีกระแส #ดราม่าเติมน้ำมันไม่เต็มลิตร โดยมีลูกค้ามาเติมน้ำมันดีเซลจํานวน 1,000 บาท ที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และรู้สึกว่าเกจ์วัดน้ำมันรถขึ้นไม่เป็นปกติ และเมื่อบีบมือจ่าย 5 ลิตร 2 ครั้ง ได้ปริมาตรน้ำมันขาดไปประมาณ 25-30 มิลลิลิตร (หรือ 0.025 - 0.030 ลิตรต่อปริมาณน้ำมันที่ทดสอบ 5 ลิตร) ซึ่งเป็นประเด็นกระแสดราม่าขึ้นในสังคม
ล่าสุดได้มีการตรวจสอบนักงานหน้าลาน ที่ได้ชี้แจงว่ายังเป็นไปตามเกณฑ์ ใน “คู่มือการตรวจสอบและให้คํารับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง” ของสํานักงานชั่งตวงวัด ที่กําหนดให้มี “อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด” หรือค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ได้สูงสุดของมาตรวัดนั้นๆ ในการตรวจสอบระหว่างใช้งานสําหรับเชื้อเพลิงปริมาณ 5 ลิตรให้มีความคลาดเคลื่อนบวก/ลบได้ไม่เกิน 50 มิลลิลิตร (หรือ 0.050 ลิตรต่อน้ำมันที่ทดสอบ 5 ลิตร)
โดยพีทีที สเตชั่น ชี้แจงว่า มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงที่สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งต้องผ่านการตรวจสอบ และได้รับการรับรองจากสํานักงานชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ โดยที่ผู้ค้าน้ำมันไม่สามารถปรับแต่งมาตรวัดเองได้ และสถานีบริการน้ำมันจะต้องดําเนินการตรวจวัดปริมาตรน้ำมัน และนําส่งสํานักงานกลางชั่งตวงวัดเป็นประจําทุกเดือน โดยผลการตรวจวัดปริมาตรน้ำมันของสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น สระบุรี ล่าสุด ยังคงเป็นไปตามเกณฑ์ที่สํานักงานชั่งตวงวัดกําหนด ทั้งนี้ พีทีที สเตชั่น ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเรื่องดังกล่าว โดยในวันที่ 22 ธ.ค. จะประสานงานให้สํานักงานชั่งตวงวัดเข้ามาตรวจสอบและยืนยันว่ามาตรวัดของ พีทีที สเตชั่น เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคต่อไป
พร้อมยืนยันว่า ได้มุ่งมั่นที่จะส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักกํากับดูแลกิจการที่ดี ตาม นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน)
หลายคนอยากรู้ว่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเติมน้ำมัน คือออะไร ? โดยข้อมูลจาก กระทรวงพาณิชย์ เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ ชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และคำรับรองของเครื่องชั่งตวงวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัวพ.ศ. ๒๕๕๖
ทัั้งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๘ วรรคสอง มาตรา ๑๖ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓o วรรคห้า มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓ วรรคสาม และมาตรา ๔o วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติ บางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๘ ประกอบกับมาตรา ๓๑มาตรา ๓๕ มาตรา ๔ ๘ และมาตรา ๕o ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
สูงสุดของเครื่องชั่งตวงวัดนั้น ๆ"ความสามารถในการทำซ้ำได้"หมายความว่า ความสามารถของเครื่องชั่งตวงวัดที่ให้ผลการชั่ง ตวง หรือวัด ที่สอดกล้องกันในการ ชั่ง ตวง หรือวัดสิ่งของสิ่งเดียวกันหรือปริมาณเท่า ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง โดยใช้ผู้ปฏิบัติการ วิธีการ และสภาวะแวดล้อมเดียวกัน
"ดิสคริมิเนชัน" หมายความว่า ความสามารถของเครื่องชั่งตวงวัดในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงค่าน้อย ๆ ของปริมาณที่ชั่ง ตวง หรือวัด"ส่วนตั้งศูนย์" หมายความว่า ส่วนที่ใช้ปรับให้เครื่องชั่งตางวัดแสดงค่าเป็นศูนย์
"ส่วนแสดงค่า" หมายความว่า ส่วนของเครื่องชั่งตวงวัดที่ใช้แสดงค่าปริมาณของสิ่งที่ชั่ง ตวง หรือวัด
"ขั้นหมายมาตรา" หมายความว่า ขีด ฟันเลื่อย หรือเครื่องหมายอื่น ๆ บนที่แสดงค่าซึ่งใช้ระบุค่าปริมาณที่ชั่ง ตวง หรือวัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกร็ดความรู้ ! เติมน้ำมันอย่างไรไม่ให้รถพัง ใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ไม่ควรเติม 91
พาเทียบชัดๆ ระหว่างเติมน้ำมันครึ่งถัง VS เต็มถัง แบบไหนประหยัดกว่ากัน
ดราม่า สาวเอาแกลลอน 2 ลิตร เติมน้ำมัน 70 บาท ได้ไม่ถึงครึ่ง ล่าสุด ปตท. แจงแล้ว