คนทั่วโลกถูกมิจฉาชีพหลอกโอนเงินมากขึ้น ประเทศไทยโดนมากเป็นอันดับ 6 ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้! สาเหตุหลักคือ รัก-โลภ-โกรธ-กลัว
ถึงสื่อจะช่วยกันออกข่าวเรื่อง “กลโกงมิจฉาชีพ” กันมากขนาดไหน แต่ก็ยังมีคนถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกอยู่ทุกวัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเหล่าบรรดามิจฉาชีพมีกลยุทธ์ และมุกใหม่ๆ มาหลอกเหยื่ออยู่เรื่อยๆ ทำให้คดีที่มีคนถูกแก๊งคอลเซนเตอร์โกงจนหมดตัวกลายเป็นข่าวที่ยืนยงอยู่คู่สังคมไทยไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแค่คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อ เพราะ The Global State of Scam Report ระบุว่า คนทั่วโลกถูกหลอกโอนเงินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2021 มีรายงานคนถูกหลอกเงินผ่านช่องทางออนไลน์ 293 ล้านครั้ง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายรวม 55.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 10.2% จากปีก่อนหน้า
นอกจากนี้ รายงานจาก ACI Worldwide เรื่อง It’s Prime Time for Real-Time 2023 ยังพบว่า 1 ใน 5 ของผู้บริโภคที่ถูกสำรวจในปี 2023 เคยตกเป็นเหยื่อของการโกงชำระเงิน และประเทศที่ใช้ระบบเงินแบบทั้งโอนและรับเงินได้ 24 ชั่วโมง (real-time payment) มีแนวโน้มที่จะมีคนถูกหลอกสูงตามไปด้วย
ประเทศที่ถูกหลอกลวงอันดับต้นๆ ในปี 2565 ได้แก่
โดยสาเหตุที่สถิติการฉ้อโกงยังคงพุ่ง เป็นเพราะมิจฉาชีพไม่ลดละความพยายาม และมองหากลโกงรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น การสวมรอยเป็นคนอื่น การหลอกเก็บเงินปลายทาง การแฮกบัญชีดิจิทัลวอลเล็ตร้านค้า เป็นต้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) ได้เปิดเผยว่า ประเทศไทยมารพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินที่ก้าวกระโดดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ถูกมิจฉาชีพหลอกมากเป็นอันดับ 6 รองจากอินเดีย ไนจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐฯ และออสเตรเลีย
5 ประเภทคดีที่สถิติมีการแจ้งความมากที่สุดในไทยปี 2566
อย่างไรก็ตาม ในมิติของธนาคาร ไทยอยู่ระหว่างการผลักดันให้ธนาคารต่าง ๆ ยกระดับระบบตรวจจับและติดตามธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดปกติได้แบบ near real-time เพื่อระงับธุรกรรมให้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะเสร็จช่วงปลายปี 2556 และนอกจากนี้ยังสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพต่อไป ซึ่งเป็นหัวใจที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน
ธนาคารแห่งประเทศไทย เตือนว่า ภัยทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก เริ่มจากพื้นฐานเดียวกันคือ การที่มนุษย์มีอารมณ์ รัก-โลภ-โกรธ-กลัว และถึงแม้เทคโนโลยีจะอำนวยความสะดวกให้มากแค่ไหน แต่หากใช้อย่างขาดสติก็อาจส่งผลเสียกับตัวเราได้ เพราะฉะนั้น อย่ากลัวเทคโนโลยีแต่ขอให้ใช้อย่างมีสติ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของภัยทางการเงิน
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง