มีชาวต่างชาติในอิสราเอลมากกว่า 30 สัญชาติที่เสียชีวิตในความขัดแย้งครั้งนี้ ตัวเลขเผยประเทศไทยถูกจับเป็นตัวประกันอันดับหนึ่ง และมีผู้เสียชีวิตรั้งอันดับ 2 ! รองจากสหรัฐอเมริกา
นับตั้งแต่เกิดการจู่โจมของกลุ่มฮามาสในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ทำให้อิสราเอลมีผู้เสียชีวิต 1,400 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเมืองภายในประเทศตามการระบุของเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นอิสราเอลจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีฉนวนกาซาทางอากาศซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 ราย และตัวเลขผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาตอนนี้ ก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องของอิสราเอล
ท่ามกลางการสู้รบที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ทำให้พลเมืองจากนานาประเทศที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง ต้องรับเคราะห์จากภัยสงครามครั้งนี้ไปด้วย
และนี่คือตัวเลขที่เรารู้ของชาวต่างชาติผู้เคราะห์ร้าย ที่ได้รับการยืนยันจากทางของแต่ละประเทศแล้ว
อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา
-เสียชีวิต 31 ราย
-สูญหาย 13 ราย
-ประธานาธิบดี "โจ ไบเดน" ยังคาดว่ามีอีกจำนวนหนึ่งนอกเหนือจากนี้ ที่ยังคงถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน แต่ยังไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอนได้
อันดับ 2 ไทย
-เสียชีวิต 30 ราย
-ถูกจับเป็นตัวประกัน 17 ราย
- มีคนไทยประมาณ 30,000 คนที่ทำงานในอิสราเอล ส่วนใหญ่ทำงานเกษตรกรรมตามการอ้างอิงจากรัฐบาลไทย ซึ่งตอนนี้มีผู้แสดงความประสงค์ขอเดินทางกลับประเทศไทยกับสถานทูตแล้วจำนวน 8,160 คน โดยนายก “เศรษฐา ทวีสิน” ตั้งเป้าว่าภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้จะต้องนำกลับมาให้ได้ทั้งหมด
อันดับ 3 ฝรั่งเศส
-เสียชีวิต 21 ราย
-ถูกจับเป็นตัวประกัน 11 ราย
-ตัวประกันที่ระบุตัวตนได้ คือ มิอา "เชม อายุ 21" ปี หญิงสาวชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิสราเอลที่ปรากฏตัวในคลิปวิดีโอของกลุ่มฮามาสเมื่อวันจันทร์ที่ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2566) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มก่อการร้ายนี้เปิดเผยภาพของตัวประกัน
อันดับ 4 รัสเซีย
-เสียชีวิต 16 ราย
-สูญหาย 8 ราย
-สถานทูตรัสเซียในกรุงเทลอาวีฟเสริมว่า อาจมีตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่านี้ และอาจมีพลเมืองรัสเซียที่ถือสัญชาติอิสราเอล 1 ราย ถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน
อันดับ 5 เนปาล
-เสียชีวิต 10 ราย
-สูญหาย 1 ราย
-สถานทูตของสาธารณรัฐหิมาลัยในกรุงเทลอาวีฟระบุว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดถูกสังหารใน “คิบบุตซ์” ที่เป็นนิคมเกษตรกรรม
อันดับ 6 อาร์เจนตินา
-เสียชีวิต 7 ราย
-สูญหาย 15 ราย
อันดับ 7 ยูเครน
-เสียชีวิต 7 ราย
-สูญหาย 9 ราย
อันดับ 8 สหราชอาณาจักร
-ผู้เสียชีวิต 6 ราย
-สูญหาย 10 ราย
อันดับ 9 แคนาดา
-เสียชีวิต 6 ราย
-สูญหาย 2 ราย
อันดับ 10 จีน
-เสียชีวิต 4 ราย
-สูญหาย 2 ราย
นอกเหนือจาก 10 อันดับข้างต้น มีดังนี้
โรมาเนีย เสียชีวิต 4 ราย สูญหาย 1 ราย
ออสเตรีย เสียชีวิต 3 ราย สูญหาย 2 ราย
เบลารุส เสียชีวิต 3 ราย สูญหาย 1 ราย
บราซิล เสียชีวิต 3 ราย
ฟิลิปปินส์ เสียชีวิต 3 ราย สูญหาย 3 ราย
เปรู เสียชีวิต 2 ราย สูญหาย 5 ราย
แอฟริกาใต้ เสียชีวิต 2 ราย
ออสเตรเลีย เสียชีวิต 1 ราย
อาเซอร์ไบจาน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
กัมพูชา เสียชีวิต 1 ราย
ชิลี เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 1 ราย
โคลอมเบีย เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 1 ราย
ฮอนดูรัส เสียชีวิต 1 ราย
ไอร์แลนด์ เสียชีวิต 1 ราย
อิตาลี เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 2 ราย
โปรตุเกส เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 4 ราย
สเปน เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 1 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ เสียชีวิต 1 ราย
ตุรกี เสียชีวิต 1 ราย สูญหาย 1 ราย
เยอรมนี ถูกจับเป็นตัวประกันอย่างน้อย 8 ราย
เม็กซิโก ถูกจับเป็นตัวประกัน 2 ราย
ปารากวัย สูญหาย 2 ราย
ศรีลังกา สูญหาย 2 ราย
แทนซาเนีย สูญหาย 2 ราย
ล่าสุดนาย "อาบู โอเบดา" โฆษกของกลุ่มกองพลน้อยอิซ อัล-ดิน อัล-กัสซาม ของฮามาสได้ออกมาประกาศว่า พร้อมแลกตัวประกันที่มีอยู่ประมาณ 200-250 คน กับนักโทษปาเลสไตน์ 5,000 คน ที่อิสราเอลจับกุมไปก่อนหน้านี้ ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า ทั้งสองฝ่ายจะยอมให้การแลกเปลี่ยนตัวประกันเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรือจะไม่มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันตราบใดที่สงครามยังยังคงคุกรุ่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-อิสราเอลเริ่มบุกฉนวนกาซา ทั่วโลกแตกเป็นสองฝั่ง
-เปรียบเทียบ กองทัพ ฮามาส VS อิสราเอล ในสงครามที่ไม่รู้จะจบสิ้นเมื่อไร ?
-สันติภาพ อิสราเอล - ปาเลสไตน์ เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่มันกลายเป็นฝุ่นไปแล้ว