เศรษฐา น้อมรับฟังเสียงนักวิชาการแต่ไม่ยกเลิกนโยบายเงินดิจิทัล ยันตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ที่ต้องการเงิน พร้อมสร้างขวัญกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามเกี่ยวกับนักวิชาการที่วอนขอให้ชะลอหรือระงับโครงการนี้ไปก่อน เพราะต้องใช้งบกว่า 5 แสนล้านบาท อาจกระทบถึงเศรษฐกิจภาพรวม
ด้านนายกฯ ยัน ต้องการเดินหน้านโยบายนี้ต่อ เพราะต้องการทำให้ประชาชนหลายล้านคนในประเทศที่ลำบาก มีเงินทุนในการประกอบอาชีพต่อไป แม้จะช่วยเหลือประชาชนหลายเรื่องแล้ว ทั้งเรื่องค่าไฟฟ้า ค่าแก๊สหุงต้ม ลำดับต่อมาคือเรื่องของเงินหมุนเวียน
ทั้งนี้ พร้อมยอมรับฟังเสียงของนักวิชาการ ยันนักวิชาการแค่หนึ่งเสียง แต่ประชาชนมีอีกหลายล้านเสียง ด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่หมักหมม รัฐบาลนี้จะรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพราะมองเห็นแต่ความลำบากของประชาชนที่ขาดเงินทุนในการดำรงชีพ รวมทั้งเป็นสิ่งที่รัฐให้ความสำคัญ ยืนยันไม่ยกเลิกแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ทั้งนี้ นักวิชาการ นักเศรษฐาและคณาจารย์ 99 ท่าน ให้ความเห็นไว้ที่ 7 ประเด็น คือ
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ควรเก็บเงินก้อนนี้ไว้ เพื่อรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการคลังอย่างเคร่งครัด
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอทั้ง 7 ข้อ เพราะการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ถ้าไม่ทำรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยเสียชื่อ ตอนนี้ก็เสียชื่อเรื่องไม่ตรงปกทางการเมือง เพราะหาเสียงไว้อีกแบบหนึ่ง รอบนี้ถ้าไม่เดินหน้าเรื่องนโยบายเศรษฐกิจถ้าไม่ตรงปกอีกคงเสียคน เพราะอันนี้เป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย ที่โดดเด่น หากไม่ทำอาจโดนฟ้องร้องได้
ดังนั้น ทางนักวิชาการจึงมีข้อเสนอ 3 ข้อ ไว้ให้พิจารณา คือ
1. เดินเต็มสูบไม่สนใจใคร แต่ต้องวางแผนให้ดีว่าเงินก้อนนี้จะมาจากไหน ตอนนี้หนี้สาธารณะอยู่ที่ 62% กู้ไม่ได้แล้ว หรือถ้ากู้ผ่านรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินภาครัฐ รัฐบาลก็ต้องปั๊มเศรษฐกิจให้ได้ 4% หรือประมาณ 7 แสนล้าน เพื่อไปโปะหนี้ 62% นี้ ซึ่งถ้ากู้ 5.6 แสนล้านบาท เท่ากับกู้เต็มแม็ก เพราะเป็นโจทย์ยาก
ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตเฉลี่ย 2.6% รัฐบาลประยุทธ์โต 1.8% การทำให้เศรฐกิจโตได้ 4% ถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าไม่ทำหนี้สาธารณะก็จะเพิ่มขึ้น ขณะนี้แต่ละครัวเรือนเป็นหนี้ 4.4 แสนบาทต่อครัวเรือนแล้ว ถ้าไม่ปั๊มเศรษฐกิจให้เติบโตให้ได้ ก็จะเป็นการก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก 2 หมื่นกว่าบาทรวมเป็น 6.4 หมื่นบาทต่อครัวเรือน
2. ใส่เงินลงไปในคนที่ลำบากและต้องการเงินจริงๆ เช่น ครัวเรือนไทย 25 ล้านครัวเรือน คนที่จนจริงๆ มีจำนวนอยู่ ไม่เกิน 2 ล้านครัวเรือน การใส่เงินตรงไปที่คนเดือดร้อนจริงๆ จะใช้แค่ 6 หมื่นล้าน และเก็บเอาเงิน 2 แสนล้านบาทไปทำอย่างอื่นดีกว่า เพราะมีคนที่อายุ 16 ปีและมีความสามารถในการจ่าย ก็อาจจะไม่ต้องการเงินก้อนนี้ ทำให้กู้เงินเสียเปล่า แต่ถ้าลดลงมาช่วยเหลือคนแค่ 2 ล้านครัวเรือนจะช่วยให้รัฐมีงบประมาณไปทำโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นเศรษฐกิจและความสามารถของผู้ผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศดีกว่า ใช้เม็ดเงินเท่าเดิมแต่สร้างมูลค่าได้มากกว่า
3. ใช้เงินเท่าเดิมแต่เปลี่ยนไปใส่ในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มให้ธุรกิจรายย่อยของไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น กระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สิ่งที่จำเป็นในการนี้ คือการช่วยเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของประเทศ เพิ่มศักยภาพระหว่างประเทศจะดีกว่า
อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะที่มีอยู่ตอนนี้คือ 10.9 ล้านล้านบาท ถ้าวางแผนไม่ดีก็จะมีหนี้เพิ่มเป็น 16 ล้านล้านบาท หรือถ้าทำเศรษฐกิจให้มีการเติบโตเฉลี่ย 4% หรือเจ็ดแสนล้านล้านบาท ไม่ได้ก็จะกลายเป็นหนี้ 62% กลับมาเท่าเดิม
ดังนั้น อยากให้รัฐพิจารณาเหตุผลให้รอบด้าน มากกว่าคิดเรื่องของการหาเสียงที่ส่งผลต่อภาพรวมของประเทศ
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม