ชวนทำความรู้จัก สมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly : UNGA) คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร และในการประชุม UNGA มีกำหนดการขั้นตอนอย่างไร และ มีผู้นำของโลก คนใดเดินทางมาบ้าง
การประชุมที่เรียกกันว่า ประชุมยูเอ็น UN นั้น มีชื่อเป็นทางการว่า สมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly : UNGA) หรือที่เรียกกันว่า “สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ” หรือ การประชุม UNGA นั้นถือเป็น ฟันเฟืองขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุดในสหประชาชาติ หรือใน UN
โดยการประชุม UNGA จะประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหประชาชาติทุกรัฐ (ปัจจุบันมี 193 รัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย) นอกจากนั้น ในแต่ละปีจะมีการเชิญรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกเข้าร่วมด้วย
สมัยการประชุมของสมัชชาสหประชาชาติมีระยะเวลา 1 ปี เริ่มต้นในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี โดยในแต่ละปีรัฐสมาชิกจะเลือกตั้ง “ประธานสมัชชาสหประชาชาติ” (President of the General Assembly : PGA) สลับสับเปลี่ยนตามภูมิภาค และ “รองประธาน” จำนวน 21 คน
ทั้งนี้ กระบวนการที่สำคัญของสมัยการประชุมสมัชชาสหประชาชาติคือ การอภิปรายทั่วไป (general debate) โดยเริ่มขึ้นวันอังคารของสัปดาห์เปิดสมัยการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) และจบลงในสัปดาห์ถัดจากนั้น ซึ่งในปีนี้คือระหว่างวันที่ 19-23 และ 26 กันยายน 2023
การอภิปรายทั่วไป ถือเป็นการเริ่มต้นสาระหลักของสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ประมุขของรัฐ หัวหน้าคณะรัฐบาล และหัวหน้าผู้แทนของทุกรัฐสมาชิกกล่าวถ้อยแถลงบนแท่น (rostrum) หน้าหอประชุม (GA Hall) เพื่อแสดงนโยบาย ความคิดเห็น และท่าทีของประเทศตนในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ตามหัวข้อหลักของสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA)
ในกรณีที่มีรัฐสมาชิกไม่เห็นด้วยกับถ้อยแถลงของรัฐสมาชิกใด หรือมีการพาดพิงถึงประเทศตน รัฐสมาชิกสามารถใช้สิทธิตอบโต้ (right of reply) ได้ แต่การใช้สิทธิมักทำหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นแล้วในวันนั้น โดยมีสิทธิในการตอบโต้สองครั้งต่อหัวข้อเรื่องหนึ่ง ครั้งแรกไม่เกิน 10 นาที และครั้งที่สองไม่เกิน 5 นาที
•UNGA มีคณะกรรมการอะไรบ้าง ?
สมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) จะมีคณะกรรมการหลัก (Main Committees) 6 คณะ โดยรับผิดชอบประเด็นที่แตกต่างกันคือ
1-การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ,
2-เศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนา,
3-สังคม สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรมและวัฒนธรรม
4-การเมืองพิเศษและการปลดปล่อยอาณานิคม,
5-การบริหารจัดการและงบประมาณ
6-กฎหมาย
• ผู้นำโลก มีใครมา UNGA บ้าง ?
ปีนี้ ปี 2023 ผู้นำประเทศที่มีบทบาทในระดับโลกหลายประเทศไม่เข้าร่วมงาน อาทิ
สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีจีน
ริชี ซูแน็ก (Rishi Sunak) นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
วลาดิมีร์ ปูติน (Vlardimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งโดนศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ออกหมายจับด้วยข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม คงไม่เดินทางออกนอกประเทศไปเข้าร่วมงาน
ในทางกลับกัน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskyy) จะเข้าร่วมงาน ซึ่งนี่จะเป็นการปรากฏตัวต่อสหประชาชาติเป็นครั้งแรกของเซเลนสกีนับตั้งแต่ยูเครนโดนรัสเซียรุกรานเมื่อปี 2022
• UNGA ครั้งที่ 78 คุยเรื่องอะไรกัน ?
หัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไปในปีนี้คือ “Rebuilding trust and reigniting global solidarity : Accelerating action on the 2030 Agenda and its Sustainable Development Goals towards peace, prosperity, progress and sustainability for all.” หรือ “การสร้างความไว้วางใจและสร้างความเป็นเอกภาพระดับโลกขึ้นมาอีกครั้ง : เร่งรัดดำเนินการ ‘2030 Agenda’ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า และความยั่งยืนสำหรับทุกภาคส่วน”
ประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองในสมัยการประชุมของสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 78 นี้
ตามคำแนะนำของมูลนิธิองค์การสหประชาชาติ (United Nations Foundation) ได้แก่
• เปิดคำแถลงของเศรษฐา ทวีสิน ใน ที่ประชุม UNGA78
คำแถลงแรก ณ ที่ประชุม UNGA78 SDG Summit 2023 เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการบรรลุ "เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" SDGs และการมุ่งสู่เป้าหมาย ดังนี้
1. ภายในทศวรรษนี้ เราตั้งใจสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เข้มแข็ง รัฐบาลของผมจะมีบทบาทเชิงรุกที่สร้างสรรค์บนเวทีโลก ผ่านความร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อเสริมสร้างระบบพหุภาคีที่สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย
2. ประชาคมระหว่างประเทศต้องสรรหาแหล่งเงินทุน จัดการกับช่องว่างด้านเงินทุนสำหรับ SDG เพิ่มการลงทุนเพื่อบรรลุ SDG และแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ รวมถึงพันธบัตรสีเขียวและผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล
3. สร้างความเสมอภาคในระบบการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น ไทยจึงสนับสนุนข้อเรียกร้องของเลขาธิการ UN ให้มีการปฏิรูปและอัดฉีดเงินทุนกระตุ้น SDG 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจนถึงปี 2573
4. ในระดับชาติ ไทยได้ออกพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) 2 ชุด ซึ่งช่วยระดมเงินทุนได้ถึง 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการลงทุนลดก๊าซเรือนกระจกและเพื่อสังคม รวมทั้งได้จัดทำมาตรฐานสำหรับการประเมินการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
5. บริษัทในไทยกว่า 100 บริษัทที่อยู่ใน Global Compact Network Thailand ได้ให้คำมั่นว่าจะลงทุนมูลค่า 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ SDG ภายในปี 2573
6. ในปีหน้า เราตั้งเป้าจะออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อกระตุ้นการเติบโตของตลาดพันธบัตรสีเขียว โดยเพิ่มแรงจูงใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อบรรลุ SDG
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลของผมให้คำมั่นที่จะลดความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่น ภายในปี 2573 รวมทั้งจัดให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้เหลือต่ำกว่า 0.25% ในด้านสิ่งแวดล้อม เรามีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 40% ภายในปี 2583 เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2583 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0 ภายในปี 2608
ข่าวที่เกี่ยวข้อง