กรมราชทัณฑ์ เผย ทักษิณ ชินวัตร เป็นนักโทษชั้นกลางยังไม่เข้าเงื่อนไขของการขอพักโทษ ต้องติดคุกต่อจนกว่าจะครบ 1 ปี
จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับพระราชทานอภัยทานลดโทษจาก 8 ปี เหลือ 1 ปี รับโทษมาแล้ว10 วัน เหลือโทษจำคุก 7 ปี 11 เดือน 20 วัน อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากนี้จะมีการขอพักโทษจากกรมราชทัณฑ์ได้หรือไม่?
ด้าน กรมราชทัณฑ์ เปิดเผยโดยอธิบายหลักเกณฑ์พร้อมเงื่อนไขการขอพักโทษว่า ตามเงื่อนไขของการพักโทษนั้น สำหรับนักโทษชั้นดีที่จะได้รับการพักโทษต้องได้รับโทษแล้ว 1 ใน 3 ซึ่งกรณีของนายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ถือเป็นนักโทษชั้นกลาง
ดังนั้น จึงยังไม่เข้าเงื่อนไขของการขอพักโทษ นายทักษิณ จึงต้องติดคุกต่อจนกว่าจะครบ 1 ปี สำหรับขั้นตอนการพักโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ หรือ ระเบียบ หรือกฎกระทรวงยุติธรรม ต้องเข้าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
การพักการลงโทษ หมายถึง การปลดปล่อยไปก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติที่กำหนด หากฝ่าฝืนจะถูกนำตัวกลับมาคุมขังในเรือนจำตามเดิมและถูกลงโทษทางวินัย
ทั้งนี้ การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขังแต่เป็นประโยชน์ที่ทางราชการให้แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
คุณสมบัติผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ
เป็นนักโทษเด็ดขาด
การลดวันต้องโทษ
คุณสมบัติผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวลดวันต้องโทษจำคุก
เป็นนักโทษเด็ดขาดที่จำคุกมาแล้วตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยจะลดโทษให้ตามชั้นของนักโทษ คือ
"ชั้นเยี่ยม" จะได้รับวันลดโทษเดือนละ 5 วัน
"ชั้นดีมาก" จะได้รับวันลดโทษเดือนละ 4 วัน
"ชั้นดี" จะได้รับวันลดโทษเดือนละ 3 วัน
โดยทางเรือนจำจะรวมวันลดต้องโทษสะสมของผู้ต้องขังทุกรายไว้ให้เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกรมราชทัณฑ์พิจารณาอนุมัติให้ปล่อยตัวเมื่อมีวันลดโทษสะสมเท่ากับโทษที่เหลือ การพิจารณา จะทำทุกเดือนหากไม่ไปกระทำผิดวินัยเสียก่อน
ข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง