ถอดปรากฏการณ์ Swiftonomy ผู้ซึ่งคนทั่วโลกยอมจ่ายค่าตั๋ว ยอมบินข้ามทวีปเพื่อไปดูคอนเสิร์ต "Taylor Swift" จนขึ้นแท่นเป็นคอนเสิร์ตที่ทำรายได้สูงที่สุดตลอดกาล และเกิดแรงกระตุ้นเศรษฐกิจทุกตารางนิ้วทั่วโลก
คอนเสิร์ต Taylor Swift นี่คือปรากฏการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ชาวเน็ตและบางสำนักสื่อเรียกกันว่า Swiftonomics หรือ Taylortonomics หลังจากคอนเสิร์ต The eras world tour ของซูเปอร์สตาร์ชาวอเมริกา Taylor Swift วัย 33 ปี โดยการจัด The eras tour นี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการทำลายสถิติการจัดคอนเสิร์ตที่ทำรายได้สูงที่สุดในวงการเพลงเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละเมืองที่ไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังช่วยเพิ่มโอกาสให้กับแรงงานที่หวังเรื่องค่าตอบแทนในราคาที่สูงอีกด้วย
The Eras Tour เริ่มจัดขึ้นในปีนี้ โดยได้เริ่มทัวร์ในสหรัฐอเมริกาก่อนในปี 2023 และจะเริ่มต่อทัวร์ต่างทวีปที่ยุโรป เอเชีย และลาตินอเมริการวมกันอีก เมื่อรวมกันแล้วเท่ากับว่าเมื่อคอนเสิร์ตสิ้นสุดลงในปีหน้า (2024) Taylor Swift จะแสดงคอนเสิร์ต The Eras Tour รวมทั้งหมด 146 รอบ
โดยเฉลี่ยแล้ว มีแฟนๆ เกือบ 54,000 คนเข้าร่วมแต่ละคอนเสิร์ตในการทัวร์ในอเมริกา ที่มีราคาตั๋วเฉลี่ยที่แฟนๆ จ่ายให้กับ Ticketmaster อยู่ที่ 254 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาตั๋วที่นำมาขายต่อเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลายพันถึงหมื่นดอลลาร์
Pollstar นิตยสารคอนเสิร์ต คาดว่า คอนเสิร์ต Taylor Swift The Eras Tour จะทำรายได้มากถึง 1.4 พันล้านเหรีญสหรัฐฯ เมื่อทัวร์จบในปี 2024 และรายได้จำนวนมหาศาลนี้จะทำให้คอนเสิร์ตดังของ Swift ขึ้นแท่นเป็นคอนเสิร์ตที่ทำรายได้สูงที่สุดตลอดกาล
ยิ่งไปกว่านั้น หากเป็นไปตามตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ The Eras Tour จะกลายเป็นคอนเสิร์ตแรกที่ทำรายได้แตะหลักพันล้านเหรียญ
“ทุกคนพร้อมจะจ่ายเงินให้เพลงของ Taylor Swift เพลงของเธอคือเพลงที่ทำให้หลายคนตื้นตันใจ” David Herlihy ศาสตราจารย์การสอนในหลักสูตรอุตสาหกรรมดนตรีระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ ในโปรแกรมความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเพลงที่ Northeastern
นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้ tour concert ครั้งนี้เกิดปรากฏการณ์ Swiftonomy ที่มีผู้คนนับสิบล้านคนแย่งชิงตั๋วคอนเสิร์ตภายในวันเดียว จนทำให้เว็บไซต์จำหน่ายตั๋วล่ม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนพวกเขาก็พร้อมที่จะไปยังเมืองนั้นๆเพื่อดูคอนเสิร์ต
ซึ่งนอกเหนือจากผู้จัดคอนเสิร์ตที่มีรายได้แล้ว กิจการต่างๆของเมืองนั้นๆยังมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น จากการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมือง ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม แท็กซี่และรถโดยสาร และอื่นๆอีกมากมาย
หลังจาก Taylor Swift ได้จบการแสดงคอนเสิร์ตสุดท้ายที่อเมริกา เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า 52 โชว์ในอเมริกาที่จัดในแต่ละเมือง ส่งผลให้เศรษฐกิจของเมืองนั้นๆดีขึ้นไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประเทศและเมืองอื่นๆในช่วงที่ Taylor Swift กำลังจะเดินทางไปทัวร์คอนเสิร์ตนั้นอาจจะบูมมากขึ้นด้วยเช่นกัน
Taylor Swift จึงเป็นที่ต้องการของหลายๆประเทศ เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว แม้แต่นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ของแคนาดา ก็ได้โพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า "ขอให้ Taylor Swift มาแสดงคอนเสิร์ตที่แคนาดาด้วย" ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน Taylor Swift ก็ได้เพิ่มประเทศแคนาดาลงในลิสท์ประเทศทัวร์คอนเสิร์ต
สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากเพราะเหล่าคนขับรถบรรทุกขนย้ายเครื่องดนตรีให้กับ คอนเสิร์ต Taylor Swift The Eras Tour กว่า 50 คนได้เช็คโบนัสจาก Taylor Swift เป็นจำนวนถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทันทีที่เธอจบทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกา
“พ่อของเทย์เลอร์ คือคนที่นำเช็คเงินสดมามอบให้คนขับรถบรรทุกของพวกเรา และเขายังได้มอบจดหมายที่เขียนด้วยลายมือของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ ให้ด้วย มันเหลือเชื่อมากที่พวกเขาสละเวลาทำสิ่งเหล่านี้ มันมีความหมายต่อพวกเราทีมงานและเป็นสิ่งที่น่าจดจำมากๆ” ไมค์ เชอร์เคนบาค ซีอีโอ เจ้าของบริษัทรถบรรทุกเผย
นอกจากนั้น ไมค์ ยังเผยเพิ่มเติมว่า นอกจากคนขับรถบรรทุกแล้ว เทย์เลอร์ สวิฟต์ ยังได้มอบโบนัสให้กับนักดนตรีของเธอ ทีมแดนเซอร์ และทีมงานฝ่ายเทคนิค รวมถึงฝ่ายอื่นๆอีกมากมาย โดยไม่มีการยืนยันว่าได้คนละเท่าไหร่ แต่ทั้งหมดคืองบประมาณที่ เทย์เลอร์ จัดไว้ให้รวมแล้วกว่า 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 1,895 ล้านบาท
โดยระหว่างที่เดินสายทัวร์เธอยังได้บริจาคเงินให้กับองค์กรต่างๆด้วย ยกตัวอย่างเช่น Second Harvest Food Bank ขณะที่เธอเดินสายทัวร์ที่ Northern California
ในมุมของนักการตลาดมองว่าแฟนคลับของ Taylor Swift ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นรุ่นมิลเลนเนียลและGen Z มีพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบสุดโต่ง ผู้คนหลายล้านคนที่รอคอยการกลับมาของ Taylor Swift เป็นเวลาเกิน 5 ปี กว่าเธอจะกลับมาแสดงคอนเสิร์ตอีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมีอีกมุมมองที่ว่า ผู้คนยอมจ่ายค่าตั๋ว ยอมบินข้ามทวีปเพื่อไปดูคอนเสิร์ตครั้งนี้ เพราะเขาเชื่อว่าควรมีสักครั้งในชีวิต บางคนก็โหยหาการดูการแสดงสดเพราะห่างหายกันมาหลายปีกับโควิด19 อาจจะเป็นผลพวงมาจากเทรนด์ Revenge Spending หรือปรากฎการณ์ช้อปล้างแค้นหลังโควิด
ทางเศรษฐศาสตร์ก็คือ กระแสทุ่มกันแย่งซื้อตั๋วคอนเสิร์ต คือ ความต้องการที่จะซื้อตั๋วพุ่งสูงขึ้น และตั๋วคอนเสิร์ตคือสิ่งที่จำกัด ทำให้มีการปั่นราคาตั๋วจนสูงถึงใบละเกือบล้านบาท แต่ผู้คนก็ยังยินดีจ่าย แปลว่ากำลังการซื้อนั้นสูงมาก และมันแสดงให้เห็นว่า ยิ่งตั๋วมีจำกัดมากเท่าไหร่ความอยากซื้อของคนก็ยิ่งมากเท่านั้น เพราะคิดว่ามันคือของแรร์ และนี่คือ Swiftonomics นั่นเอง
อ้างอิง
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง