“หมอชลน่าน” ยันเพื่อไทยไม่ปล่อยมือก้าวไกล รอนัดหมายหารือเคาะชื่อ โหวตนายกฯ รอบ3 เห็นด้วยยื่นศาลรธน. ตีความมติที่ประชุมรัฐสภา ยันห่วงเรื่องเสนอชื่อซ้ำ-พรรคเพื่อไทยตกภาระลำบากหากเป็นแกนนำ ปัดวิจารณ์ความเห็น"เสรีพิศุทธ์" ผลักก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน
โหวตนายกฯ รอบ3 : นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ถึงทิศทาง ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลหลังจากนี้ว่า เมื่อ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นเหตุที่ปรากฏขึ้น ว่าเราไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบได้ โดยมีผลการวินิจฉัยว่าเป็นญัตติซ้ำ จึงถูกตีตกไป เหตุการณ์นี้ไม่ควรเกิดขึ้น ไปเป็นข้อที่จะผูกมัดต่อไปด้วย เพราะคำวินิจฉัยของรัฐสภาเป็นการผูกมัดการใช้ข้อบังคับของตนเอง แต่ข้อบังคับนี้เป็นข้อบังคับเฉพาะ ในรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เท่านั้น ถ้าเราเปลี่ยนไปใช้ข้อบังคับนี้กับรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ผลผูกพันก็จะลดลงไป
ดังนั้นการเดินหน้าของ 8 พรรค ก็ต้องเป็นไปตาม MOU ที่ทำร่วมกันโดยให้สิทธิ์แกนนำคือพรรคก้าวไกลเป็นผู้เริ่มในทุกกระบวนการ ดังนั้นการพูดคุยต่อจากนี้ให้เป็นหน้าที่ของพรรคก้าวไกลเป็นผู้นัดหมายมา เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางเลขาธิการ ของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ มีการหารือกันเบื้องต้น และจะมีการนัดหมายต่อไป พร้อมยันว่าพรรคเพื่อไทยยังไม่ปล่อยมือจากพรรคก้าวไกลขณะนี้ยังอยู่ด้วยกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
มาตรา 213 คืออะไร : บวรศักดิ์ แนะส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ญัตติปิดทางโหวต พิธา
เช็กมติรัฐสภาปิดสวิตช์ "พิธา" โหวตนายกฯ รอบ2 ไร้ชื่อ เสรีพิศุทธ์ พลิกมติ 4 คน
เคาะแล้วโหวตนายกฯ รอบ 3 วันไหนเช็กเลย "วันนอร์" ยันเสนอชื่อ พิธา ไม่ได้แล้ว
ส่วนการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ในการโหวตนายกฯ รอบ3 จะเป็นแคนดิเดต นายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยเลยหรือไม่นั้น ให้ขึ้นอยู่กับการพูดคุยกันที่จะเกิดขึ้นยังไม่สามารถที่จะฟันธงได้ รอเพียงพรรคก้าวไกลนัดหมายมาอาจจะเป็นวันนี้หรือวันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ เมื่อรัฐสภามีมติว่าจะเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีซ้ำไม่ได้ หากวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเป็น ไปตามข้อบังคับที่ 41 ซึ่งก็ยังสามารถใช้ข้อบังคับที่ 41 ในตัวเองได้ เพราะยังมีวรรคท้ายอยู่ ที่ระบุว่า กรณีที่การเปลี่ยนแปลงไปยังสามารถเสนอได้ เช่น การเสนอชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขึ้นมาใหม่ และมีการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกขึ้นมาด้วย
สำหรับกรณีที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้ โพสต์ Facebook ส่วนตัวแสดงความเห็นไม่พอใจต่อการวินิจฉัยข้อบังคับที่ 41 ที่ทำให้บทบัญญัตในรัฐธรรมนูญดูเป็นง่อย นายแพทย์ชลน่านกล่าวว่า ในเรื่องนี้นายบวรศักดิ์ ไม่เห็นชัดเจนเพราะ เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญและยังให้แนวว่าบุคคลที่เห็นว่าถูกละเมิดสิทธิ์ ก็สามารถใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 243 ยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ เป็นสิทธิ์ของบุคคลไม่ใช่สิทธิ์ของ สส. แต่กระบวนการร้อง ต้องร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน หากผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รับ ก็สามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
สำหรับการวินิจฉัยข้อบังคับที่ 41 มีคน ไม่พอใจในการทำหน้าที่ของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา นายแพทย์ชลน่าน ไม่มีใครพอใจ ตนเองก็ไม่พอใจที่มีการวินิจฉัยออกมาแบบนี้ ตนพยายามหาทางออกให้ เมื่อผลออกมาเช่นนี้ก็ต้องยอมรับไม่มีใครพอใจ โดยหลักแล้วเราอยู่ในระบบนี้ ระบบการปกครอง ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ระบบรัฐสภา ระบบเสียงข้างมากเราต้องยึดถือ
แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะคลางแคลงใจไม่พอใจ คือ เสียงข้างมากไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม พร้อมยืนยันว่าหลังจากนี้จะมีปัญหาในการทำหน้าที่ในที่ประชุมรัฐสภาอย่างแน่นอน แค่บทเรียนครั้งนี้สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ เพราะข้อบังคับเกิด สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้กำหนดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อหมดวาระ สว. วันที่ 11 พ.ค. 2567 ก็มีความชอบที่จะแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยยกเอาเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรี นำเรื่องการเห็นชอบนายกรัฐมนตรีมากำหนดไว้ในสภาผู้แทนราษฎร อะไรที่เป็นข้อจำกัดมนข้อบังคับของการประชุมรัฐสภา ก็สามารถนำไปบัญญัติไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ชัด
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า มีความเป็นห่วงในเรื่องการเสนอชื่อซ้ำ และยอมรับว่าพรรคเพื่อไทยตกภาระลำบากหากได้รับโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งตามหลักการแกนนำจะต้องไปแสวงหาความมั่นใจว่าก่อนเสนอเสียงจะผ่าน ไม่มีใครที่อยู่ในสมรภูมิที่แพ้แล้วไปรบ เพราะเราจะเสียคนของเราไปด้วย ส่วนกรณีพรรคก้าวไกลจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น ตนเห็นสมควรด้วย อะไรที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถ้าเรามีสิทธิก็ควรจะต้องดำเนินการ สำหรับกรณี ส.ว. บางคนระบุว่า ถ้าเพื่อไทยยังจับมือกับพรรคก้าวไกลจะไม่โหวตให้นั้น เราคงไม่รอให้มีมติออกมา กรณีที่เราต้องเสนอถ้ารอมติตรงนั้นก็แพ้อย่างเดียว อย่างไรก็ตามขณะนี้พรรคเพื่อไทยยังไม่มีแนวทางในการดำเนินการหาเสียงเพิ่ม เพราะถ้าบอกว่ามีจะหาว่าเราคิดไปก่อน
“กำลังเราแค่ 100 ถ้าจะเอาชนะก็ต้องทำให้เต็ม 100 หรืออย่างน้อยต้อง 80-90 ถ้ามีกำลังแค่นี้ไปรบกับเขาก็แพ้ ส่วนสัมการชนะนี้มีก้าวไกลอยู่ด้วยหรือไม่นั้น ไม่ได้กำหนดว่ามีหรือไม่มี แต่ขณะนี้เรายังอยู่ใน 8 พรรคร่วม ทั้งนี้ไม่ว่าใครเจอสถานการณ์นี้ต้องคิดหนัก ต้องสร้างความมั่นใจว่าก่อนที่จะไปรบมีโอกาสชนะอย่างไร และยังไม่คิดถึงการข้ามขั้วในการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนจะขอให้พรรคก้าวไกลลดเพดานม.112 นั้น ตนสงสารพรรคก้าวไกล มนการมบ้ประเด็นเหล่านี้มาเป็นเงื่อนไข ขณะนี้ไม่ใช่ม.112 ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยไม่มีความคิดไปก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของพรรคก้าวไกล” นายชลน่านกล่าว
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวถึง กรณีพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ไม่ร่วมโหวตเมื่อวานนี้ ตนทราบว่าออกไปก่อนเลยไม่ได้โหวต แต่ไม่ได้มีผลอะไร เพราะเป็นคนละประเด็นกับการเห็นชอบนายกรัฐมนตรี รวมถึงประเด็นที่มีการวิจารณ์พรคก้าวไกลอยากหนักถึงขั้นให้ไปเป็นพรรคฝ่ายค้านนั้น เรื่องดังกล่าวนี้กระบวนการการทำงานร่วมกันความคิดความเห็น เป็นสิทธิเสรีภาพ จะถือเป็นความเห็นรวมไม่ได้ ส่วนที่บอกว่าอยากให้พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน ก็เป็นความเห็นท่าน ต้นไม่สามารถวิเคราะห์แทนท่านได้
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่บอกว่า 8 พรรคร่วมติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรกนั้น คงแล้วแต่มุมมอง จะสรุปว่าผิดหรือไม่จะต้องดูข้อเท็จจริง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ดูเป็นเรื่องๆ ไป ความเห็นต่างเป็นสีสันของระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้จากเหตุการณ์เมื่อวานเป็นเพราะ8 พรรคร่วมแพ้ จึงถูกมองว่าเราติดกระดุมผิด แต่หากเราชนะก็จะมีการมองอีกแบบ