svasdssvasds

วินาทีประวัติศาสตร์! "พลายศักดิ์สุรินทร์” เดินทางถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว

วินาทีประวัติศาสตร์! "พลายศักดิ์สุรินทร์” เดินทางถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว

"พลายศักดิ์สุรินทร์” ถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว ก่อนส่งตัวไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง เพื่อตรวจโรคและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป นับเป็นครั้งแรกในการขนย้ายสิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบินมา

 วินาทีประวัติศาสตร์ "พลายศักดิ์สุรินทร์” ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย   โดยขั้นตอนการขนย้าย "พลายศักดิ์สุรินทร์" ได้ เริ่มการเคลื่อนย้ายในคืน วันที่ 1 ก.ค. 2566 เวลา 22.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นศรีลังกา จากนั้นเวลา ประมาณ 00.20 น. นำช้างเดินเข้ากรง โดยใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกกรงช้างไปไว้บนรถเทรลเลอร์ลากพ่วง และเวลา 01.05 น. เริ่มขนย้ายทางรถยนต์จากสวนสัตว์ Dehiwala ไปยังสนามบิน "บันดารานายาเก" กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา   

วินาทีประวัติศาสตร์ "พลายศักดิ์สุรินทร์” ถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว

 "พลายศักดิ์สุรินทร์” เดินทางด้วยเครื่องบินแบบ Ilyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) จากนั้นเครื่องบินขนส่งรัสเซียจะเริ่มเดินทาง เพื่อบินสู่สนามบินเชียงใหม่ ประเทศไทย โดยใช้เวลาในการทำการบินประมาณ 5-6 เนื่องจากต้องใช้เพดานบินและความเร็วต่ำ ซึ่งมาถึงไทยในเวลา 14.03นาที ที่ล้อเครื่องบินแตะรันเวย์สนามบินเชียงใหม่ มีประชาชนจำนวนมามาปรบมือทันที่ที่ล้อเครื่องบินแตะสนามบิน

 ทั้งนี้ พลายศักดิ์สุรินทร์จะอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของควาญช้างนายทรชัยสิทธิ์ ศิริ นายศุภชัย บุญเกิด นายไกรสร เครือจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ รวมจำนวน 3 คน และ Mr. Don Upul Jayarathna Denelpitiyage หัวหน้าชุดควาญศรีลังกา จากสวนสัตว์ Dehiwala จำนวน 1 คน ที่ช่วยปฏิบัติหน้าที่ในการร่วมเดินทางดูแลช้างบนเครื่องบินขนส่ง ซึ่งการเคลื่อนย้ายช้างครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในการขนย้ายสิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบินมา

วินาทีประวัติศาสตร์ "พลายศักดิ์สุรินทร์” ถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• "พลายศักดิ์สุรินทร์" เข้าน่านฟ้าไทยแล้ว คาดถึงสนามบินเชียงใหม่ 14.00 น.

• เปิดภาพ "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับไทย ล่าสุด ขึ้นเครื่องบินจากศรีลังกาแล้ว

• เตรียมต้อนรับ พลายศักดิ์สุรินทร์ ถึงไทย 2 ก.ค.นี้ เฝ้าระวังสังเกตอาการ 30 วัน

วินาทีประวัติศาสตร์ "พลายศักดิ์สุรินทร์” ถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว

 ส่วนสถานที่แรกรับ ภายในพื้นที่ศูนย์วิจัย และเฝ้าระวังโรคช้าง ของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง พร้อมที่จะเปิดรับช้าง “พลายศักดิ์สุรินทร์” หรือ มธุราชา อายุ 30 ปี ที่จะได้เดินทางกลับมาตุภูมิ ประเทศไทย หลังในอดีตเมื่อ 22 ปีก่อน หรือเมื่อปี 2544 ได้ไปเป็นทูตสันถวไมตรี ในการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานแห่พระธาตุประจำปี ที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งขณะนี้ช้างเจ็บป่วย

 ดังนั้น ทางรัฐบาลศรีลังกาจึงได้ให้ช้างกลับประเทศไทย เพื่อทำการรักษา และรัฐบาลไทย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน พาช้างพลายศักดิ์สุรินทร์กลับบ้านกลับมาตุภูมิ ประเทศไทย ซึ่งในวันนี้ช้างกำลังเดินทางมาโดยเครื่องบินจากประเทศศรีลังกา โดยบินออกมาตั้งแต่ช่วงเช้า และจะมาลงจอดที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ในช่วงบ่ายของวันนี้ จากนั้นจะมีการเคลื่อนย้ายโดยรถบรรทุกมายังสถานที่แรกรับที่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

วินาทีประวัติศาสตร์ "พลายศักดิ์สุรินทร์” ถึงสนามบินเชียงใหม่แล้ว

 ในส่วนของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ทาง นายสุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ ได้มีการซักซ้อม และเตรียมพร้อมทีมสัตวแพทย์ และคณะเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนไว้ ซึ่งจะใช้เจ้าหน้าที่รวมกว่า 100 นาย เพื่อรับช้างเชือกนี้ เข้าอยู่ในความดูแล โดยคาดว่าจะเดินทางมาถึงช่วงเย็นวันนี้ ในขณะที่ภายในสถานที่แรกรับที่จะใช้ดูแล และเฝ้าระวังโรค ก็เตรียมพร้อมแล้วเช่นกัน โดยบริเวณด้านหน้า ก็ได้เริ่มขึ้นป้ายเตือน ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายใน รวมถึงสื่อมวลชน ที่จะให้ปักหลักเฉพาะอยู่ด้านหน้าศูนย์วิจัย

 สำหรับการเคลื่อนย้าย ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ ทีมเจ้าหน้าที่ของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ได้เดินทางไปยังท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตั้งแต่เช้า เพื่อเตรียมพร้อมรับตัว ซึ่งในการเคลื่อนย้าย มายัง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดยรถบรรทุกจะใช้ระยะเวลาประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร โดยรถบรรทุกจะไม่ใช้ความเร็ว ซึ่งจะมีรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจนำขบวน เมื่อมาถึงก็จะเข้าพื้นที่แรกรับ โดยเป็นจุดที่อยู่ห่างไกลจากช้างทั่วไปของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เพื่อเฝ้าระวัง และสังเกตอาการ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ภายใต้ระเบียบการควบคุมโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อบางชนิด

related