svasdssvasds

ย้ายช่วยราชการ ความหมาย คืออะไร : ทำไมตำรวจจึงชอบสั่งย้ายเวลาเกิดเรื่องฉาว

ย้ายช่วยราชการ ความหมาย คืออะไร  : ทำไมตำรวจจึงชอบสั่งย้ายเวลาเกิดเรื่องฉาว

ผู้การชลบุรี กลายเป็นชื่อที่ติดเทรนด์การค้นหาทันที ภายหลังมีข่าวว่า ผบ.ตร. ได้มีคำสั่งย้าย ผู้การฯชลบุรี พร้อมตำรวจรวม 8 นาย เข้าไปช่วยราชการ ศปก.ตร. จากปมรีดเงินผู้ต้องหา 140 ล้าน SPRiNG ชวนมาหาคำตอบ "ย้ายเข้าส่วนกลาง" , "ย้ายช่วยราชการ" แท้จริงแล้ว มันคืออะไร ?

"ช่วยราชการ" ความหมาย คืออะไร  : ทำไมตำรวจจึงชอบสั่งย้ายเวลาเกิดเรื่องฉาว

ประโยค "เป้รักการผู้การเท่าไร เป้เขียนมา" กลายเป็นไวรัลในสังคมขึ้นมาทันที หลังจากปรากฏข่าว วงการสีกากีสุดฉาว  เมื่อ ตำรวจ สภ.คูคต บุกรวบ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ชลบุรี พร้อมพวก 9 คน ก่อเหตุรีดเงินผู้ต้องหากว่า 140 ล้านบาท และ มีการเปิดเผยว่า มีคำพูดจากฝั่งตำรวจที่พยายามรีดไถ่ ผู้ต้องหาด้วย ประโยคแบบอ้อมๆ บอกผู้เสียหายว่า "มีทางออก" และพูดอีกว่า "เป้รักผู้การเท่าไร เป้เขียนมา"... ซึ่งเรื่องซุบซิบวงในแบบนี้ พล.ต.ต.อาชยน  ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน  ยังไม่ยืนยันคำพูดดังกล่าว มีการพูดจริงหรือไม่  พร้อมกำชับว่า ขอให้รอสอบถามและสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นเสียก่อน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ประโยค "เป้รักการผู้การเท่าไร เป้เขียนมา" นี้ ผู้การชลบุรีจะพูดจริงหรือไม่ คงต้องรอคำตอบจากกาลเวลา ... 

แต่ที่แน่ๆ และปฏิเสธไม่ได้ จากเรื่องนี้  นั่นก็คือ ผบ.ตร. ได้มีคำสั่งย้าย “พล.ต.ต.กัมพล ลีลาประภาภรณ์” ผู้การฯชลบุรี พร้อมตำรวจรวม 8 นาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการรีดเงินผู้ต้องหากว่า 140 ล้านบาท เข้าไปช่วยราชการ ศปก.ตร. ไปแล้ว พร้อมตั้งพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะ ทำงาน สืบปมตบทรัพย์เว็บพนัน 140 ล้านบาท และทำความจริงให้ปรากฏ

และที่ผ่านๆ มา มักจะมี คำสั่ง "ย้ายช่วยราชการ" กับตำรวจเสมอๆ  เวลามีเรื่องร้อน หรือมีเรื่องฉาว เกิดขึ้น , และโดยส่วนใหญ่ จะเป็น การย้ายเข้าช่วยราชการส่วนกลาง 

การย้ายช่วยราชการ ความหมายที่แท้จริงคืออะไร ?  การย้ายช่วยราชการ เป็นการลงโทษ หรือไม่  ? 

SPRiNG ไล่ล่าหาคำตอบ สำหรับผู้คนที่สงสัย คำถามนี้ มาให้แล้ว....

ย้ายช่วยราชการ ความหมาย คืออะไร : ทำไมตำรวจจึงชอบสั่งย้ายเวลาเกิดเรื่องฉาว

จากกรณีที่ปรากฏเป็นข่าว ในวันที่ 17 มิ.ย. 2566 , "ผบ.ตร." เดือด จัดหนักสั่งเด้ง "ผู้การชลบุรี" พร้อมพวก 8 นาย รีดเงินผู้ต้องหา 140 ล้าน เข้ากรุ ศปก.ตร. หรือ ศูนย์ปฏิบัติการสํานักงานตํารวจแห่งชาติส่วนหน้า พร้อมตั้ง "บิ๊กโจ๊ก" นำทีมสืบสวนคลี่คลายคดี ร่วมกับตำรวจภาค 1 ภาค 2  ทางผู้สื่อข่าว SPRiNG ได้ติดต่อสอบถาม ไปยัง แหล่งข่าว ซึ่งเป็นนายตำรวจ ท่านหนึ่ง เพื่อสอบถามว่า "คำสั่งย้ายช่วยราชการ" ความหมายที่แท้จริง คืออะไร  คำสั่งย้ายเปรียบเสมือน เป็นการลงโทษ จริงหรือไม่ ? 

นายตำรวจ แหล่งข่าว SPRiNG ได้ให้คำอธิบายว่า

"คำว่า ช่วยราชการ ใช้ได้หลายแบบ อย่างกรณี ย้ายจากส่วนภูมิภาค มาเข้าส่วนกลางนั้น ก็คือมีจุดประสงค์ ไม่อยากให้ ตำรวจที่เกิดเรื่องนายนั้นๆ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องในที่เกิดเหตุ  เลยต้องย้ายมาอยู่ส่วนกลางก่อน" 

"การย้ายเข้าส่วนกลาง เป็นการป้องกัน ไม่ให้คนที่มีประเด็นปมปัญหาไปยุ่งเกี่ยวกับคดี"

"เพราะคนที่มีปัญหา ต้องมาอยู่ในส่วนกลาง มารายงานตัวเหนือผู้บังคับบัญชา ที่มียศเหนือขึ้นไปทุกวันๆ และต้องอยู่กับผู้บังคับบัญชาที่เหนือชั้น เหมือนกับว่า ต้องเข้ามาส่วนกลางให้ผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าเห็นหน้าทุกวัน เรียกว่าเป็นการคุมความประพฤติไปกลายๆ"

"เมื่อเกิดเหตุในท้องที่ หรือในต่างจังหวัด  , จะมีการตั้งคณะกรรมการ จะมีผู้บัญชาการ ซึ่งใหญ่กว่าผู้การฯ จังหวัด เขาก็จะมีการตั้งคณะกรรมจากภาค ไปดูแลที่จังหวัด ไปสอบสวน ซึ่งคนที่ลงไปตรวจสอบ จะมียศ จะอาวุโสมากกว่าผู้การฯจังหวัด" 

" หากถามว่า การย้ายเข้าส่วนกลาง เป็นการลงโทษหรือไม่ ? คงต้องตอบว่า "ไม่เชิง" เพราะการย้ายเข้ามาส่วนกลาง ความสะดวกสบาย ก็จะอีกแบบหนึ่ง , การอยู่ในพื้นที่เดิม ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง" 


ทราบหรือไม่ พ.ร.บ.ตำรวจฉบับใหม่ 2565  ย้ำเด็ดขาด ห้ามสั่งให้ "ตำรวจโรงพัก" ไปช่วยราชการหน่วยอื่น

เรื่องการ ห้ามสั่งย้าย ตำรวจโรงพัก ไปช่วยราชการหน่วยอื่นนั้น มีความพยายามผลักดันมาตั้งแต่ ยุค พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เมื่อปี 2563 , และเมื่อปีที่แล้ว ปี 2565 ยุคของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ เป็น ผบ.ตร. ได้มี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565  ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 64 ก ลง 16 ต.ค.65 โดยกำหนดให้มีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ใช้บังคับ 17 ต.ค.65) เป็นต้นไปนั้น  
 

related