สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 ประจำสัปดาห์ที่ 20 ระหว่างวันที่ 14 - 20 พ.ค.2566 พบผู้ติดเชื้อโควิด จำนวน 10,648 ราย และมีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 12 ราย
วันนี้ 22 พ.ค.2566 เพจเฟซบุ๊กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดชลบุรี ประจำสัปดาห์ที่ 20 ระหว่างวันที่ 14 - 20 พ.ค.2566 ระบุว่า ในสัปดาห์นี้พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 จำนวนทั้งสิ้น 10,648 ราย และมีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 12 ราย
รายละเอียดผู้เสียชีวิต จากสถานการณ์โควิดใน จ.ชลบุรี
รายที่ 1
• เพศหญิง อายุ 69 ปี โรคประจำตัว โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
• ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว
• วันที่เริ่มป่วย 27 เม.ย. 66
• วันที่เสียชีวิต 13 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน ไม่ฉีด
รายที่ 2
• เพศชาย อายุ 88 ปี โรคประจำตัว ต่อมลููกหมากโต ภาวะโลหิตจาง
• ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
• วันที่เริ่มป่วย 12 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 14 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 64 และเข็ม 2 เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 64
รายที่ 3
• เพศชาย อายุ 44 ปี โรคประจำตัว ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง
• ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
• วันที่เริ่มป่วย 2 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 15 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน ไม่ฉีด
รายที่ 4
• เพศชาย อายุ 90 ปี โรคประจำตัว ต่อมลูกหมากโต
• ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว
• วันที่เริ่มป่วย 7 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 14 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 64, เข็ม 2 เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 64, เข็ม 3 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 64 และเข็ม 4 เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 65
รายที่ 5
• เพศหญิง อายุ 74 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง หัวใจ หอบหืด ไตวายระยะ 4
• ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว
• วันที่เริ่มป่วย 12 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 15 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 64, เข็ม 2 เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 65 และเข็ม 3 เมื่อวันที่ 26 เม.ย 65
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ไทยพบแล้ว 1 ราย โควิด19 โอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 ระบาดสูงกว่าถึง 50%
• WHO ประกาศยกเลิกสถานะฉุกเฉินของโรคโควิด-19 แล้ว
• หมอยง หวั่น "หาเสียงเลือกตั้ง-เปิดเทอม" โควิดระบาด แนะจับตาปลายเดือน พ.ค.
รายที่ 6
• เพศชาย อายุ 51 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
• วันที่เริ่มป่วย 6 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 16 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน ไม่ฉีด
รายที่ 7
• เพศชาย อายุ 73 ปี โรคประจำตัว โรคหัวใจ
• ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
• วันที่เริ่มป่วย 29 เม.ย 66
• วันที่เสียชีวิต 15 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 64 และเข็ม 2 เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 64
รายที่ 8
• เพศชาย อายุ 64 ปี โรคประจำตัว จิตเวช
• ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
• วันที่เริ่มป่วย 16 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 18 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน ไม่ฉีด
รายที่ 9
• เพศชาย อายุ 79 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง
• ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว
• วันที่เริ่มป่วย 29 เม.ย 66
• วันที่เสียชีวิต 18 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 64, เข็ม 2 เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 64 และเข็ม 3 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 65
รายที่ 10
• เพศชาย อายุ 85 ปี โรคประจำตัว ไตวายระยะ 4
• ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว
• วันที่เริ่มป่วย 9 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 19 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 64, เข็ม 2 เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 64, เข็ม 3 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 64, เข็ม 4 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 65 และเข็ม 5 เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 65
รายที่ 11
• เพศหญิง อายุ 75 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง
• ประวัติเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว
• วันที่เริ่มป่วย 13 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 19 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 64 และเข็ม 2 เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 64
รายที่ 12
• เพศชาย อายุ 66 ปี โรคประจำตัว ปฏิเสธโรคประจำตัว
• ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
• วันที่เริ่มป่วย 10 พ.ค. 66
• วันที่เสียชีวิต 18 พ.ค. 66
• ประวัติวัคซีน ไม่ฉีด
จากสถานการณ์ดังกล่าว จังหวัดชลบุรี ขอให้ประชาชน ปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเคร่งครัดมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ดังนี้
1.ผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามดุลยพินิจของแพทย์ และผู้ติดเชื้อมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตนตามมาตรการ DMH (เว้นระยะห่างตามควร สวมแมสก์ ล้างมือ) อย่างเคร่งครัด
2. แนะนำให้ประชาชนทุกคน "ปฏิบัติตนตามมาตรการ DMH และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี" เน้นย้ำผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวซึ่งยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต และอาการรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ จึงควรรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์และรับการกระตุ้นตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดอาการรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และสำหรับผู้ที่สร้างภูมิต้านทานได้ไม่ดี ควรได้รับการฉีดภูมิต้านทานสำเร็จรูป หรือ Long-Acting Antibody (LAAB) โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
3. สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคธารัสซีเมียและผู้คุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคอ้วน หรือผู้มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 และผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ "ควรได้รับวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่" ก่อนฤดูฝน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน