svasdssvasds

วันพืชมงคล 2566 พระโคเสี่ยงทาย หญ้า เหล้า น้ำท่าบริบูรณ์ เศรษฐกิจรุ่งเรือง

วันพืชมงคล 2566 พระโคเสี่ยงทาย หญ้า เหล้า น้ำท่าบริบูรณ์ เศรษฐกิจรุ่งเรือง

วันพืชมงคล 2566 เปิดคำทำนาย "พระโคเสี่ยงทาย" กิน หญ้า-เหล้า น้ำท่าบริบูรณ์ เศรษฐกิจรุ่งเรือง การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น

17 พฤษภาคม 2566 วันพืชมงคล 2566 งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช 2566 ว่า ในปีนี้ได้กำหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์จะประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ

• พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

• พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ 

ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  

วันพืชมงคล 2566 พระโคเสี่ยงทาย หญ้า เหล้า น้ำท่าบริบูรณ์ เศรษฐกิจรุ่งเรือง

ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา เทพีคู่หาบทองและเทพีคู่หาบเงินในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566

• นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา

• นางสาวดวงพร งามประดิษฐ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร ผู้ทำหน้าที่เทพีหาบทอง

• นางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ ผู้ทำหน้าที่เทพีหาบทอง

• นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ผู้ทำหน้าที่เทพีหาบเงิน

• นางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ทำหน้าที่เทพีหาบเงิน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• วันพืชมงคล 2565 คืออะไร ความหมาย ที่มา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

• 5 พันธุ์ข้าวพระราชทาน 2563 ใน พระราชพิธีพืชมงคล ทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม

• เปิดผลเสี่ยงทายพระโคกินอะไร ผ้านุ่ง-ของกิน 7 สิ่ง "วันพืชมงคล 2565" ปีนี้?

 พระโค ในทางศาสนาพรามหณ์ หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์

 ดังนั้นในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์

ในปี 2566 กรมปศุสัตว์ ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จำนวน 2 คู่ คือ

• พระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง

• พระโคสำรอง 1 คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล

การตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย (การเสี่ยงทายผ้านุ่ง)  

 ผ้านุ่งแต่งกาย คือ ผ้านุ่งซึ่งเป็นผ้าลาย มีด้วยกัน 3 ผืน คือ สี่คืบ ห้าคืบ และหกคืบวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบ หากหยิบได้ผ้าผืนใด ให้นุ่งผืนนั้นทับผ้านุ่งผืนเดิมอีกชั้นหนึ่งเพื่อเตรียมออกแรกนา โดยผ้านุ่งนี้ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น

• พระยาแรกนาเสี่ยงผ้านุ่ง หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

 

การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง - ของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค

• ข้าวเปลือก

• ข้าวโพด

• ถั่วเขียว

• งา

• เหล้า

• น้ำ

• หญ้า

ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น

ปีนี้พระโคกินหญ้า           

พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์

ปีนี้พระโคกินเหล้า            

พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง 

 

related