svasdssvasds

ตร.ไซเบอร์เตือน! เพจ "ที่พักปลอม" ระบาดหนัก แนะ 9 วิธีก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี

ตร.ไซเบอร์เตือน! เพจ "ที่พักปลอม" ระบาดหนัก แนะ 9 วิธีก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยนักท่องเที่ยว ระวังตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพสวมรอยเพจ "ที่พักปลอม" หลอกคนจองโอนเงินค่ามัดจำ สุดท้ายเข้าพักไม่ได้กำลังระบาดในช่วงฤดูท่องเที่ยว แนะ 9 ข้อก่อนโอนเงินตรวจสอบให้ดี

 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เตือนภัยประชาชนที่จองที่พักก่อนเดินทางในพื้นที่ท่องเที่ยวในหลายจังหวัด ให้ตรวจสอบให้ดีก่อนโอนเงินค่ามัดจำ เนื่องจากในระบบการรับแจ้งความออนไลน์ มีผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินมัดจำที่พักก่อนเดินทางเข้าพักแต่ไม่สามารถเข้าพักได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญในหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

มิจฉาชีพจะใช้แผนประทุษกรรมหลักอยู่ 2 วิธี คือ

1. สร้างเพจเฟซบุ๊กที่พักปลอมขึ้นมา หรือใช้เพจเฟซบุ๊กเดิมที่มีผู้ติดตามอยู่แล้ว

 ตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อเพจให้เหมือนกับเพจจริง คัดลอกภาพโปรไฟล์ ภาพหน้าปก เนื้อหา และโปรโมชันต่างๆ จากเพจจริงมาใช้หลอกลวงผู้เสียหาย และใช้เทคนิคในการซื้อ หรือยิงโฆษณาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

ตร.ไซเบอร์เตือน! เพจ "ที่พักปลอม" ระบาดหนัก แนะทำ 9 ข้อก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี

2. ใช้บัญชีเฟซบุ๊กอวตารแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแนะนำโรงแรม หรือที่พักต่างๆ

โพสต์ข้อความในลักษณะว่ามีที่พักหลุดจองราคาดี กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว ก็จะไม่สามารถติดต่อเพจนั้น หรือบัญชีอวตารนั้นได้ หรือกรณีที่แย่ที่สุดเมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงที่พักจริงแล้ว กลับได้รับแจ้งว่าไม่ได้มีการจองที่พักมาแต่อย่างใด ทำให้นอกจากจะสูญเสียทรัพย์สิน เสียเวลาแล้ว ยังจะไม่มีที่เข้าพักอีกด้วย

 ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาจากการตรวจสอบพบว่ามีผู้เสียหายกว่า 238 ราย ความเสียหายรวมหลายล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ยรายละประมาณ 4,600 บาท

 การหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวถึงจะมีความเสียหายที่ไม่มากเท่ากับความเสียหายของการหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ แต่มีจำนวนผู้เสียหายสูงกว่าในรูปแบบอื่น และยังมีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงแต่ไม่ประสงค์จะแจ้งความร้องทุกข์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย

ตร.ไซเบอร์เตือน! เพจ "ที่พักปลอม" ระบาดหนัก แนะทำ 9 ข้อก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• มิจฉาชีพปลอมเพจที่พัก ดอยม่อนแจ่ม หลอกนักท่องเที่ยวโอนเงิน

• 10 วิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ที่ชอบหลอกดูดเงิน

• รู้ทันมิจฉาชีพ เผยเคล็ดลับ 8 ข้อ วิธีป้องกันโดนแฮกข้อมูล-ดูดเงินในบัญชี

ตร.ไซเบอร์เตือน! เพจ "ที่พักปลอม" ระบาดหนัก แนะทำ 9 ข้อก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี

 เเม้ว่าการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวจะมีความเสียหายที่ไม่มากเท่ากับความเสียหายของการหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ แต่จะเห็นว่ามีจำนวนผู้เสียหายสูงกว่าในรูปแบบอื่น ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงแต่ไม่ประสงค์จะแจ้งความร้องทุกข์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย

 เพราะฉะนั้นการสำรองที่พัก หรือบริการต่างๆ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน เพราะอาจจะเป็นช่องทางที่ถูกมิจฉาชีพสร้างปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน

 ขอให้ระมัดระวัง รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพเหล่านี้ ไม่หลงเชื่อเพียงเพราะมีชื่อเพจเฟซบุ๊กที่พักเหมือนที่พักจริง หรือเพียงเพราะพบเจอผ่านการค้นหาผ่านเว็บไซต์ค้นหาทั่วไป พบเจอในกลุ่มท่องเที่ยวต่างๆ หรือถูกส่งต่อกันมาตามสื่อสังคมออนไลน์

ตร.ไซเบอร์เตือน! เพจ "ที่พักปลอม" ระบาดหนัก แนะทำ 9 ข้อก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี

วิธีการป้องกันการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง "ที่พักปลอม" 9 ข้อ ดังนี้

1. สำรองที่พักผ่านช่องทางที่เป็นทางการ หรือผ่านผู้ให้บริการสำรองที่พักออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ หรือผ่านเว็บไซต์ของที่พักโดยตรง

2. หากต้องการที่จะเข้าสู่เพจเฟซบุ๊กใดให้พิมพ์ชื่อด้วยตนเอง และตรวจสอบให้ดีว่ามีชื่อซ้ำ หรือชื่อคล้ายกันหรือไม่ เพจใดคือเพจจริง

3. เพจเฟซบุ๊กจริงจะต้องมีเครื่องหมายยืนยันตัวตน หากไม่มีเครื่องหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

4. โทรศัพท์ไปสอบถามที่พักก่อนโอนเงิน ว่าเพจที่พักถูกต้องหรือไม่ เลขบัญชีถูกต้องหรือไม่

5. เพจเฟซบุ๊กจริงจะมีส่วนร่วมในการโพสต์เนื้อหา รูปภาพ หรือกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการรวิวที่พักจากผู้เข้าพักจริง

6. เพจปลอมจะมีผู้ติดตามน้อยกว่าเพจจริง และมักจะเพิ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน

7. ระมัดระวังการประกาศโฆษณาที่พักราคาถูก หรือที่พักที่อ้างว่าหลุดจอง

8. ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ ว่ามีการเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่ ผู้จัดการเพจอยู่ในประเทศใด

9. หลีกเลี่ยงการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา บัญชีที่รับโอนควรเป็นบัญชีชื่อที่พัก หรือบัญชีชื่อบริษัท และต้องตรวจสอบหมายเลขบัญชีทุกครั้งว่ามีประวัติการหลอกลวงหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ Google, blacklistseller.com หรือ chaladohn.com เป็นต้น

ที่มา : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. - CCIB

 

related