หลังเกิดคดี “แอม ไซยาไนด์” ผู้ต้องสงสัยวางยาเหยื่อ จนมีผู้มาร้องทุกข์นับ 10 ราย ทำให้เกิดการพูดถึงอาการทางจิต อย่าง “โรคไซโคพาธ” อีกครั้ง เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกัน
โรคไซโคพาธ คืออะไร อาการยังไง มีวิธีการรักษาอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปให้ หลังจากกรณี นางสรารัตน์ หรือแอม ไซนาไนด์ ผู้ต้องหาคดีวางยาฆ่า ก้อย เพื่อนสาว โดยขณะเกิดเหตุ นางสาวแอมก็เป็นคนสุดท้ายที่อยู่กับก้อย เมื่อญาติสงสัยสาเหตุการเสียชีวิต จึงได้ร้องขอเจ้าหน้าที่ให้มีการผ่าพิสูจน์อย่างละเอียด และปรากฏว่าพบสารพิษในร่างกายเหยื่อ รวมไปถึงรถที่นางสาวแอมขับก็พบสารไซนาไนด์ พฤติกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดความกังขาถึงการเสียชีวิตปริศนาของคนใกล้ชิดและแวดล้อมรายอื่นๆอีก 13 ราย
พฤติกรรมของนางสาวแอม ที่อาจจะเข้าข่าวฆาตกรรมต่อเนื่อง ก่อเหตุซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไร้สำนึกผิดชอบ ทางกรมสุขภาพจิตชี้นางสาวแอม เข้าข่ายกลุ่มโรคไซโคพาธ
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
“โรคไซโคพาธ” คืออะไร? อาการขาดความสำนึกผิด โกหก ไร้ความเห็นใจผู้อื่น
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุ คำว่า “โรคไซโคพาธ (Psychopaths)” เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) และได้กลายเป็นคำที่วินิจฉัยถึงอาการทางจิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ (Psychopaths) โดยมีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว, ขาดความยับยั้งชั่งใจ และเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
ตามรายงานของ Very well mind ผู้ที่มีภาะวะไซโคพาธไม่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมทางจิตอย่างผู้ป่วยจิตเวช แต่อาจเป็นบุคคลทั่ว ๆ ไปที่มีลักษณะทางจิตบางอย่างซ่อนลึกในจิตใจ ซึ่งสาเหตุเกิดภาวะไซโคพาธทางด้านทางกาย คือมีความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้า-ส่วนอะมิกดะลา ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง และพันธุกรรม
สาเหตุเกิดโรคไซโคพาธ
โรคไซโคพาธ เป็นภาวะทางด้านจิตใจและสังคมอาจเกิดขึ้นในวัยเด็กและแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ขาดความรัก, ขาดความสนใจ, ไร้คำแนะนำจากผู้ปกครอง, ถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก, ถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย, การเลี้ยงดูที่ไม่พึงประสงค์, อาชญากรรมในครอบครัว, ความแตกแยกในครอบครัว รวมถึงสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย
อาการของโรคไซโคพาธ
วิธีการรักษาโรคไซโคพาธ
จิตเวชบำบัดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงอาการโรคไซโคพาธดังกล่าว เพียงอาจช่วยปรับการทำงานของระบบประสาท พฤติกรรม และลักษณะบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องให้เป็นปกติ แต่ยังต้องใช้ยาบำบัดตามคำแนะนำของจิตแพทย์
อารอน คิปนิส, PhD, ผู้เขียน The Midas Complex กล่าวว่า “บุคคลที่มีบุคลิกไซโคพาธ มักจะมองว่าผู้อื่นเป็นวัตถุที่เขาสามารถใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองได้ พวกเขาอาจแสร้งทำเป็นสนใจคุณ แต่ในความเป็นจริง พวกเขาอาจไม่สนใจ พวกเขาเป็นนักแสดงที่มีทักษะ ซึ่งมีภารกิจเพียงอย่างเดียวคือจัดการกับผู้คนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว”
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข