svasdssvasds

เปิดตัวเลข ว่าที่ ส.ส. หลากหลายทางเพศ LGBTQ+ หลังเลือกตั้ง 2566

เปิดตัวเลข ว่าที่ ส.ส. หลากหลายทางเพศ LGBTQ+ หลังเลือกตั้ง 2566

ในวาระเดืน Pride Month , SPRiNG ชวนมาส่องดูตัวเลข จำนวน (ว่าที่) ส.ส. ผู้มีความหลากหลายทางเพศของ รัฐสภาไทย 2566 หลังจากการเลือกตั้ง 2566 ตัวเลขเหล่านี้ มีแนวโน้มอย่างไรจากอดีตสู่ปัจจุบัน

เนื่องจากในเดือน มิ.ย. ถือเป็นเดือน Pride Month ซึ่งเป็นเดือน ซึ่งมี  "เทศกาลแห่งหารเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจ" โดยจุดเริ่มต้นมาจากในสหรัฐฯ ในยุค 1960   โดยหากจะลองอธิบาย ความหมายของ "LGBTQIAN+" นั้นย่อมาจากคำเรียกเพศวิถีต่างๆ ที่มีความหลากหลาย จากเดิมที่มีตัวอักษร "LGBT" แค่ 4 ตัว แต่ต่อมาได้ใส่ + เข้าไป เพื่อสื่อถึงความหลากหลายที่เพิ่มเข้ามา 

กระทั่งได้เพิ่มตัวอักษรเข้าไปอีก 4 ตัว กลายเป็น "LGBTQIAN+" ในปัจจุบันนั่นเอง โดย คำย่อในปัจจุบัน มาจากคำดังต่อไปนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Lesbian - เลสเบี้ยน คือ ผู้หญิงที่ชื่นชอบในบุคคลที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน
Gay - เกย์ คือ บุคคลที่ชื่นชอบในบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ และรสนิยมทางเพศตรงกับตนเอง โดยในบริบทของสังคมไทยจะเข้าใจว่าเกย์ คือ เพศชายที่ชื่นชอบในบุคคลที่เป็นเพศชายด้วยกัน
Bisexual - คนรักสองเพศ คือ คนที่ชื่นชอบได้ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม
Transgender - คนข้ามเพศ คือ บุคคลที่มีการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศตรงข้าม และแตกต่างไปจากเพศกำเนิดของตัวเอง
Queer - เควียร์ เป็นการใช้คำที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นำมาใช้เพื่ออธิบายอัตลักษณ์ทางเพศ รสนิยมทางเพศของตัวเอง ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มีกรอบในการเข้ามากำหนดเกี่ยวกับเรื่องเพศ
Intersex - คนที่มีเพศกำกวม คือ บุคคลที่มีสรีระทางเพศ หรือแบบโครโมโซมที่มีลักษณะกำกวม ไม่ตรงกับสรีระชายหรือหญิง หรืออาจจะมีลักษณะทั้งชายและหญิง โดยผู้ที่สามารถวินิจฉัยได้ จะเป็นบุคคลากรทางแพทย์
Asexual - คนไม่ฝักใฝ่ทางเพศ คือ บุคคลที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าในสถานการณ์ไหนก็ตาม
Non-Binary - นอนไบนารี่ เป็นคำศัพท์ที่ใช้เพื่อทำให้เห็นอัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศ ว่าอยู่นอกเหนือการจัดหมวดเรื่องเพศที่มีเพียงแค่เพศชายและเพศหญิง นอกจากนี้ยังเป็นคำที่ทลายการจัดระเบียบบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศว่าจะต้องดำรงชีวิต มีแนวปฏิบัติที่ให้สอดคล้องกับเพศหญิง หรือเพศชายเท่านั้น

ธัญวัจน์ กมลวงศ์ววัฒน์ ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 16 พรรคก้าวไกล

โดยตัวเลข ส.ส. หลังการเลือกตั้ง 2566 ซึ่ง ณ เวลานี้ กำลัง รอการรับรองจาก กกต. นั้น จะมี ส.ส. ที่เป็น LGBTQ+ ที่ชัดเจน 4 ราย จากพรรคก้าวไกล 

ได้แก่ 1. ธัญวัจน์ กมลวงศ์ววัฒน์ ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 16   ปารมี ไวจงเจริญ จากบัญชีรายชื่อ ลำดับ 28  และกฤษฏิ์ ชีวะธรรมานนท์ จากชลบุรี เขต 6 และ ปรัชญาวรรณ ไชยสืบ จากจันทบุรี เขต 2 ิ

โดยตอนแรกนั้น การเลือกตั้ง 2566 จะต้องมี (ว่าที่) ส.ส. ที่เป็น LGBTQ+ 5 คนด้วยซ้ำ แต่ ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับ 27 ของพรรคก้าวไกล ประกาศลาออกไปในวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 จากเหตุเมาแล้วขับ นั่นจึงทำให้ ตัวเลข ว่าที่ ส.ส. หลากหลายทางเพศ LGBTQ + หลังเลือกตั้ง 2566 เหลืออยู่ 4 คน

*รายชื่อข้างต้นนี้มาจากการนิยามตนเอง ผ่านสื่อ  จึงอาจไม่ใช่ตัวเลขท้ายสุด ของจากจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 500 คนในสภาฯ

ปารมี ไวจงเจริญ ว่าที่ ส.ส. หลากหลายทางเพศ LGBTQ+ หลังเลือกตั้ง 2566
เปิดตัวเลข ส.ส. เพศหญิง หลังการเลือกตั้ง 2566

ทราบหรือไม่ว่า จำนวน ส.ส.หญิงในประเทศไทยรอบนี้ หลังการเลือกตั้ง 2566 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากปี 2562 ที่เคยมี ส.ส.หญิงได้รับเลือก 16.20% มาปีนี้ตัวเลขกระโดดถึง 19.88% ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จนการเพิ่มความหลากหลายทางเพศในสภา

แต่ถึงกระนั้น ถ้าเทียบกับค่าเฉลี่ยสัดส่วน ส.ส.หญิง กับประเทศต่างๆ ในโลกแล้ว ยังถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่อยู่ที่ 26.8% ไปมาก ซึ่งประเทศที่เป็นแชมป์มีสัดส่วน ส.ส.หญิงในสภาฯ เยอะะที่สุดในโลกในขณะนี้ได้แก่ รวันดา (61.3%) คิวบา (55.7) นิการากัว (51.7) เม็กซิโก (50%) และ นิวซีแลนด์ (50%)

โดย จาก 18 พรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่ง ส.ส.ในรอบนี้ หลังการเลือกตั้ง 2566  มี 8 พรรคการเมืองที่ผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งของรายชื่อ ส.ส.ที่ได้รับเลือก พรรคก้าวไกลมี ส.ส.หญิงมากที่สุดอยู่ที่ 27 คน (คิดเป็น 17% ของ ส.ส.ทั้งหมดของพรรค) 

ส่วน พรรคเพื่อไทย หนึ่งในพรรคที่จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับก้าวไกล ได้ ส.ส.หญิงมา 26 คน (คิดเป็น 18.4% ของ ส.ส.ทั้งหมดของพรรค)

การเลือกตั้งครั้งนี้ยังเป็นการเลือกตั้งที่ ส.ส.แบบเขตเป็น ส.ส.หญิงเยอะที่สุดเท่าที่เคยมีมา จากปี 2562 ที่เคยมี ส.ส.หญิงแบบเขตเยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีอยู่ 54 เขต แต่ปีนี้ ส.ส.แบบเขตที่เป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

กฤษฏิ์ ชีวะธรรมานนท์ จากชลบุรี เขต 6 พรรคก้าวไกล

จังหวัดที่มีส.ส.หญิงมากที่สุดได้แก่ กทม. (10 คน) อุบลราชธานี (7 คน) เชียงใหม่ (5 คน) จังหวัดที่มี ส.ส.หญิงทั้งจังหวัดได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ที่มี ส.ส.หญิงเป็นผู้แทนทั้ง 2 ที่ในทั้ง 2 เขตของจังหวัด มีจังหวัดที่ยังไม่มีผู้แทนเป็นผู้หญิงเลย 38 จังหวัด

ทราบหรือไม่ ในการเลือกตั้ง 2566 พรรคเสมอภาค มีสัดส่วนของผู้หญิงและความหลากหลายทางเพศ ลงรับสมัครเลือกตั้งรวมกันมากกว่า 48% ของจำนวนผู้สมัครทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม พรรคเสมอภาค ที่มี รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นหัวหน้า ไม่ได้ ส.ส. เลย แม้แต่ที่นั่งเดียว 

ปรัชญาวรรณ ไชยสืบ จากจันทบุรี เขต 2
 

related