วราวุธ ศิลปอาชา ย้ำถึงนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนา ในการเดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังเลือกตั้ง 2566 ต้องเริ่มกระบวนการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภายใน 100 วัน นอกจากนี้ ยังเสนอ ต้องให้ความเป็นธรรมกับการเกณฑ์ทหาร ลดขนาดกองทัพ แต่เพิ่มคุณภาพให้ตัวบุคคล
วราวุธ ศิลปอาชา ย้ำถึงนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนา ในการเดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังเลือกตั้ง 2566 ต้องเริ่มกระบวนการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภายใน 100 วัน โดยมีทุกภาคส่วนอยู่ในสสร. เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญที่เหมาะกับสังคมไทยในปัจจุบัน เพื่อเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนกับรธน. 2540 ที่มี่นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังเสนอ ต้องให้ความเป็นธรรมกับการเกณฑ์ทหาร ลดขนาดกองทัพ แต่เพิ่มคุณภาพให้ตัวบุคคล
วราวุธ ศิลปอาชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ "Road to The Future เส้นทางผู้นำ" ทาง "เนชั่นทีวี 22" โดยย้ำถึงนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนา ในการเดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังเลือกตั้ง 2566 ต้องเริ่มกระบวนการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภายใน 100 วัน โดยมีทุกภาคส่วนอยู่ในสสร. เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญที่เหมาะกับสังคมไทยในปัจจุบัน เพื่อเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนกับรธน. 2540 ที่มี่นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยนโยบายการแก้ปัญหาปากท้อง ในการสู้ศึกเลือกตั้ง 2566 โดยเฉพาะเรื่องค่าไฟ ในระยะสั้นสถานการณ์ความร้อนจะไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านี้ ดังนั้นจะในช่วง 1 ไตรมาส รัฐบาลจะต้องอุดหนุนค่า Ft ให้กับประชาชน 50 % ระยะกลางสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์ลูฟท็อปให้ประชาชนและขายไฟให้กับรัฐ สวนระยะยาว จะเจรจาผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนในการลดปริมาณกำไร เพื่อให้ค่าไฟถูกลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวมนโยบายด้านเกษตรกรรม เลือกตั้ง 2566 เกษตรกรไทยจะชีวิตดีขึ้นไหม ?
นโยบายเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2566 มีอะไรบ้าง?
ขณะที่อากาศที่ร้อนมากอยู่ในขณะนี้นั้นจะร้อนยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคทำมาตลอด 4 ปี คือเรื่องคาร์บอนเครดิต สภาวะโลกร้อน ซึ่งมีนโยบายในการตั้งเอเชียแปซิฟิกคาร์บอนเครดิตเซ็นเตอร์จะเร่งทำให้เกิดเร็วที่สุดเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน
"เรื่องการปลูกต้นไม้เป็นล้านๆ ต้น ทันหรือเปล่าไม่รู้ ผมรู้แต่ว่า ถ้าไม่เริ่มก็ไม่รอด อย่าเพิ่งตั้งเงื่อนไข ขอร้องเลยอย่าตั้งเงื่อนไข เพราะถ้าตั้งเงื่อนไข จะไม่มีวันได้เริ่มสักทีนึง ทุกวันนี้ ความร้อนมาถึงแล้ว ความแล้งมาถึงแล้ว" วราวุธ ศิลปอาชา แคนดิเดตนายกฯ พรรคชาติไทยพัฒนาเผย
"ไม่ว่าเป็นคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นใหญ่ ชาติไทยพัฒนาเปิดโอกาสให้คนเข้ามาทำงานร่วมกัน พรรคเรามีความคิดที่ก้าวหน้า เปิดกว้าง ยอมรับในความเห็นที่แตกต่างซึ่งเป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตัริย์ทรงเป็นพระประมุข ไม่จำเป็นว่าคุณจะอายุเท่าไรถ้ามีความคิดที่ทันสมัย เปิดรับความแตกต่าง มองเห็นการเมืองสร้างสรรค์ที่สาดโคลนกันไปมา เราเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่และทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะอายุเท่าไร และเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" นายวราวุธ กล่าว
นายวราวุธ กล่าวอีกว่า การเกณฑ์ทหารมีปัญหา 2 เรื่องคือ เรื่องสิทธิมนุษยชน และเรื่องโอกาสของวัยรุ่นที่หายไปเมื่อเขาต้องเป็นทหารเกณฑ์ คิดว่าเรื่องนี้ต้องให้ความเป็นธรรม เริ่มจากการเปิดให้มีการสมัคร เมื่อสมัครไม่เพียงพอการเกณฑ์ทหารต้องมีสวัสดิการรองรับเพิ่มขึ้น มีการฝึกอาชีพ สร้างรายได้ให้เขา มีการฝึกซ้อนที่มีมาตรฐาน ไม่มีการกลั่นแกล้ง และต้องไม่มีทหารรับใช้ตามบ้านส่วนในระยะยาวจำนวนทหารอาจจะต้องลดลง แต่เมื่อลดแล้วต้องมีคุณภาพ ทหาร 1 นาย ต้องทำได้มากกว่า 1 อย่าง ต้องมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพราะในเมื่อลดปริมาณลงแล้ว ต้องเพิ่มคุณภาพด้วย
• ทหารต้องไม่ยุ่งการเมือง !
ส่วนการปฏิรูปกองทัพ นั้น คือการปฏิรูประบบราชการซึ่งเป็นนโยบายของพรรค ต้องระบบดิจิทัลมาใช้ในงานราชการให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้เอกสาร มีกฎกติกาที่เอื้อต่อการทำงานระบบออนไลน์ ใช้บล็อกเชน เอไอ เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการก็จะทำให้การปฏิรูปกองทัพมีความเป็นไปได้มากขึ้น
"ส่วนการที่ห้ามทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมืองก็เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องตกลงกันในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใต้ สสร. ซึ่งต้องตกลงกันให้ได้ว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่" นายวราวุธ ระบุ
นอกจากนี้ นายวราวุธ ยังกล่าวถึงนโยบายในการดำเนินคดีกับผู้ก่อรัฐประหาร โดยอยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า หลักของกฎหมายจะไม่เอาผิดย้อนหลังได้ แต่ถ้าเรื่องใดเป็นคุณสามารถย้อนหลังได้ เมื่อหลักกฎหมายเป็นแบบนี้หากไปเอาผิดย้อนหลังจะทำให้ระบบกฎหมายรวนทั้งหมด ซึ่งตนหมายถึงทุกเรื่องไม่ใช่แค่เรื่องการรัฐประหาร
"แต่หากจะให้มีการรับบทลงโทษย้อนหลังอย่างไร ก็ใช้กระบวนการของสสร. ที่ร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ว่าจะเอาอย่างไร เพราะเราเชื่อว่าการแก้ปัญหาประเทศทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วม" นายวราวุธ กล่าว
• "วราวุธ" เดินหน้าตั้งสสร. ร่างรธน.ฉบับปชช.ภายใน 100 วัน หลังได้เป็นรัฐบาล
ส่วนนโยบายในการปฏิรูปพลังงาน พรรคจะเริ่มจากค่าไฟ ที่มีปัญหาหลักคือเรื่องเชื้อเพลิง อย่างไรที่เรียนว่า ระยะสั้น รัฐบาลต้องช่วยสนับสนุนค่าไฟให้ประชาชน 50% เป็นเวลา 1 ไตรมาส หรือ 3 เดือน เพราะอากาศจะร้อนขึ้นไม่ใช่แค่ปีนี้ ระยะกลาง ต้องสนับสนุนให้ประชาชนติดโซลาร์ลูฟท็อปในราคาที่จับต้องได้และสามารถขายไฟคืนรัฐได้ด้วย เพื่อเป็นแรงจูงใจ ส่วนระยะยาวต้องทำแผนพลังงานใหม่ ปรับลดสัดส่วนการใช้ฟอสซิลและยกเลิกการใช้ให้ได้ในปี 2065 เพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาด และขอเจรจากับโรงกลั่น - เอกชนให้ลดกำไรลง ซึ่งไม่ใช่การหักคอ เพราะหากทำแบบนั้นจะไม่มีใครมาลงทุนกับประเทศไทย มั่นใจว่าเจรจากับเอกชนได้ และยังต้องสร้างมิตรกับเพื่อนบ้าน
ขณะที่นโยบายในการแก้ปัญหาทุนสีเทา-ทุนผูกขาด นายวราวุธ กล่าวว่า ปัญหาทุนสีเทาปัญหามาจากช่องโหว่ของกฎหมายหลายฉบับที่ใช้เวลาในการขอ ในการอนุมัติ และมีหลายหน่วยงานเป็นเจ้าภาพในเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดการทุจริตได้ โอกาสที่ทุนสีเทาเข้ามาจึงมีเต็มไปหมด หากใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาจะทำให้ทุนสีเขาเป็นสีขาวทั้งหมด ส่วนกรณีทุนผูกขาด ส่วนตัวไม่ได้มองว่าเป็นทุนเล็กหรือใหญ่ แต่ต้องการให้การเกิดการแข่งขันอย่างเสรี และต้องมีความโปร่งใสในการทำกิจการ โดยใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาเพื่อให้ทุกคนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่สามารถตรวจสอบได้และมีข้อมูลเท่ากัน
"อยากให้นายกรัฐมนตรีคนต่อไปเป็นคนที่เพิ่มโอกาสให้ประเทศ เป็นคนที่สามารถนำโลกทั้งใบมาเสิร์ฟให้คนไทย คนคนนั้นอยากให้เป็น" นายวราวุธ กล่าว
• แจ้งชัดพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับไทย ปลายมิ.ย.
ส่วนประเด็นสังคมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กรณี พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยในศรีลังกา ซึ่งเป็นสัตวเชื่อมสัมพันธ์ประเทศไทย-ศรีลังกา เมื่อปีพ.ศ. 2544 และมีประเด็นข้อเรียกร้องถึงอาการบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจย่ำแย่ของช้างหลังถูกใช้งานหนักทุกปีจนเกือบพิการ ซึ่งทีมข่าวสปริงนิวส์ได้สัมภาษณ์นายวราวุธ ศิลปอาชา ถึงกระบวนการนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับบ้านว่าถึงไหนแล้ว ?
นายวราวุธ ศิลปาอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายว่า กำหนดการเดินทางของพลายศักดิ์สุรินทร์ คือปลายเดือนมิถุนายนนี้ มั่นใจว่าจะได้กลับบ้านตามกำหนดนี้แน่นอน หากไม่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ที่ยังไม่สามารถนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับได้ทันที เป็นเพราะ การเจรจาระหว่างประเทศ เพราะพลายศักดิ์สุรินทร์ ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของไทยแล้ว เพราะเรายกให้เป็นช้างของศรีลังกาเรียบร้อยแล้ว การจะนำกลับมานั้นต้องมีการเจรจา ซึ่งเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนมาเราก็ส่งผู้เชี่ยวชาญไปดู รวมถึงส่งควาญช้างที่เป็นเจ้าของไปด้วย จากการพบกันครั้งแรก ช้างจำเสียงควาญช้างได้และมีน้ำตาไหล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจที่เขาต้องเจ็บปวด