กลายเป็นคำถามใหญ่ๆ ของสังคมไทย ภายหลังการเลือกตั้ง 2566 จากปมประเด็นที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น ITV และเรื่องนี้ "อาจจะ" ส่งผลให้ มีการเลือกตั้งซ่อมทั้งประเทศ ได้ , โดย ปมประเด็นนี้ เป็นอย่างไร SPRiNG ลองมา ค้นหาคำตอบกัน
• จุดเริ่มต้น ปมถือหุ้นสื่อ
สำหรับ ประเด็น ถูกร้อง ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงก่อนเลือกตั้ง 2566 แล้ว โดย จุดเริ่มที่กลายเป็นประเด็น นั่นคือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ก่อนการเลือกตั้ง 4 วัน เพื่อขอให้ตรวจสอบว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าเข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่ และให้ตรวจสอบด้วยว่าคุณสมบัติ ของหัวหน้าพรรค จะส่งผลต่อการเซ็นรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคก้าวไกลหรือไม่ ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• เลือกตั้งซ่อมทั้งประเทศ เป็นไปได้หรือไม่ ?
สำหรับ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ บนวัย 42 ปี ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ปัจจุบัน เขา ไม่ได้เป็น เพียงเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรค ก้าวไกล แต่ยังเป็นหัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวของพรรคก้าวไกลอีกด้วย ดังนั้น การตั้งปมประเด็น ถือหุ้นสื่อ ITV ย่อม เป็นที่สนใจแน่นอน เพราะ หาก สมมติ ว่า รัฐธรรมนูญ ฟันธง ว่าผิด , เขาย่อมหมดสิทธิ์เป็น ส.ส. และอาจจะหลุดจากการเป็นนายกฯ คนที่ 30 ทั้งที่ ก้าวไกล ชนะเลือกตั้ง , และที่ คำถาม ที่มาใหม่ล่าสุด ก็คือ อาจจะทำให้ มีการเลือกตั้งซ่อมทั้งประเทศ ?
เรื่องนี้ เรื่อง เลือกตั้งซ่อมทั้งประเทศ ? ถูกขยายความเพิ่มเติมมากขึ้น จาก วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี โดย ได้ให้ ข้อคิดเห็นว่า หากมีการร้อง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในประเด็นเรื่อง "สมาชิกพรรคก้าวไกล" หรือ เซ็นรับรอง ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคก้าวไกล ก็จะต้องมีการเลือกตั้งซ่อม ทั้งหมดหรือไม่ นายวิษณุ เครืองาม กล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ต้องเลือกตั้งซ่อมใหม่ทั้งหมด
โดย วิษณุ เครืองาม ได้พยายาม ยกตัวอย่างในอดีตที่คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยาของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯรัฐมนตรี ไปกาลงคะแนน และมีคนไปถ่ายไว้ ซึ่งเกิดเหตุเพียงคูหาเดียว เมื่อปี 2557 แต่ทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นโมฆะทั้งประเทศ ฉะนั้น กรณีนี้ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็เช่นเดียวกัน หากมีการเลือกตั้งซ่อมก็ต้องเลือกตั้งใหม่ทั้งประเทศได้
• เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ร้อง พิธา ทุกประเด็น
ขณะเดียวกัน ข้อเท็จจริงจาก ปาก ของ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ระบุว่า เขานั่น ร้องเรียน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ทุกเรื่อง! กล่าวคือ คือ ร้องทั้ง คุณสมบัติการเป็นส.ส.ของนายพิธา ตั้งแต่ ปี 2562 คุณสมบัติการเป็นผู้สมัครส.ส. ปี 2566 และ คุณสมบัติการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ บอกว่า 6 ครั้ง ที่เขายื่นร้องเรียนกับกกต. เขาร้องครอบคลุมทุกประเด็น รวมถึง ให้ถ้อยคำเพิ่มเติมกับกกต.ไปด้วย ว่า ควรต้องตรวจสอบ สถานะของ ว่าที่ส.ส.ในพรรคก้าวไกล เพราะ คนที่เซ็นรับรองให้ ว่าที่ส.ส.เหล่านี้ คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
นายเรืองไกร บอกว่า ส่วนตัวเขา มองว่า ว่าที่ส.ส.ของพรรคก้าวไกล 151 คน เข้าข่าย มีที่มาผิด กลุ่ม ส.ส.เขต ควรเลือกตั้งใหม่ 112 เขต ส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ กกต.แค่ไปหารเฉลี่ยใหม่
นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า ตัวเขา ร้องเรียนไปถึงขั้น ให้นายพิธา รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อม 112 เขต คิดเป็น เขตละประมาณ 10 ล้านบาท
ทั้งนี้ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ย้ำว่า ผลจะออกมาอย่างไร ไปไกลถึงขั้นที่เขาร้องเรียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกกต.และศาลรัฐธรรมนูญว่าจะตีความไปถึงไหน ?
• หุ้น ITV ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ!
ขณะที่ ฝั่ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชี้แจงว่า เขานั้น มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดก และหุ้น ITV เป็นของกองมรดกไม่ใช่หุ้นเขาเอง ได้ปรึกษาและแจ้งต่อ ป.ป.ช.ไปนานแล้ว มีทีมกฎหมายพร้อมเตรียมการชี้แจงหาก กกต.ส่งคำร้องมา โดยตามข้อมูล ระบุว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น ITV อยู่ราว 42,000 หุ้น แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.0035% ของหุ้นทั้งหมดเท่านั้น
• เทียบ กรณี ธนาธร มาสู่ พิธา
ทั้งนี้ หากลองจินตนาการ และเทียบเคียง จากกรณี ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นใน ลักษณะที่ "ใกล้เคียงกัน"
โดยหากย้อนไปเมื่อ 25 มี.ค.2562 , นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อ กกต.ให้ตรวจสอบการถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ของ "นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ที่ห้ามผู้เป็น ส.ส.เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด หรือไม่ ?
โดย ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ ธนาธร สิ้นสภาพ ส.ส.จากเหตุถือหุ้นใน บ.วีลัค มีเดียจำกัด เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2566 นายธนาธรยังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทวีลัค มีเดียจำกัด ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พรรคอนาคตใหม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต่อ กกต.
โดยบริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ที่นายธนาธรถือหุ้น เป็นบริษัทที่ระบุวัตถุประสงค์ในการยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่า ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน
และหากพิจารณาจากงบการเงินของบริษัท พบว่ามีรายได้จากการขายนิตยสาร ให้บริการโฆษณาถือเป็นการประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน และยังคงประกอบกิจการอยู่ ไม่มีการจดทะเบียนยกเลิกบริษัทหรือเสร็จการชำระบัญชี
ประเด็นที่ขัดต่อข้อกฎหมาย จึงทำให้ "ธนาธร" อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ้นสภาพ ส.ส.โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2562
หมดยุคจากพรรค "อนาคตใหม่" มาเป็น "ก้าวไกล" ภายใต้การนำของนายพิธา ก็เคยเห็นชะตากรรม ที่เคยเกิดขึ้นกับนายธนาธร ด้วยเหตุการถือครองหุ้นสื่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ไปแล้ว จึงมีคำถามว่าเหตุใด "นายพิธา" จึงยังถือครองหุ้นไอทีวี มานานถึง 17 ปี
และเป็นไปได้หรือไม่ว่า " จากกรณี "ธนาธร" ถึง "พิธา" นั้น จะซ้ำรอยอีกครั้ง ซ้ำย้ำๆ ความจำปวด ให้เกิดขึ้นกับ "ด้อมส้ม" อีกครั้ง
เรื่องนี้ คำตอบคงต้อรอดูกันต่อไป