เปิด "วาระเฉพาะ" พรรคก้าวไกล ทั้ง 8 กลุ่ม โดย มี กฎหมาย 45 ฉบับ ที่พรรคก้าวไกลเตรียมผลักดัน หลังจากเลือกตั้ง 2566 เสร็จสิ้นแล้ว และประกาศ MOU 23 ข้อ ที่ทำข้อตกลงร่วมกัน กับ 8 พรรคร่วมได้ประกาศไปแล้ว
หลังจาก 8 พรรคร่วมรัฐบาล แจกแจงทุกข้อสงสัยในการจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล พร้อมทั้ง มี "พิธา" นั่งแท่นเป็นผู้นำ แม้ในรายละเอียดของ MOU จะไม่มีเรื่องสำคัญที่สังคมให้ความสนใจ นั่นคือเรื่อง แก้ไข ม.112 เพราะช่วงก่อนหน้านี้ แกนนำพรรคร่วมฯ แสดงความไม่เห็นด้วย ซึ่ง นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค พท. อธิบายว่า “เอ็มโอยูที่เราทำ มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการเลือกนายกฯ คนที่ 30 ให้ได้ อะไรเป็นอุปสรรค กีดกั้น กีดขวางให้เลือกไม่ได้ สิ่งนั้นจะไม่ปรากฏในเอ็มโอยู” MOU
อย่างไรก็ตามบันทึกความเข้าใจของ 8 พรรคร่วมฯ รัฐบาลก้าวไกล เปิดช่อง มีแสงสว่างปลายอุโมงค์ไว้ให้กับทุกพรรค ผลักดันนโยบายและกฎหมายที่พรรคตัวเองเสนอไว้ว่า ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
ในระหว่างการแถลงข่าว นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ยอมรับว่า การแก้ไขมาตรา 112 เป็น “วาระเฉพาะ” ของก้าวไกลที่จะผลักดันตามนโยบายที่หาเสียงไว้ โดยเป็น 1 ใน 45 ร่างกฎหมายที่พรรค ก.ก. เตรียมยื่นต่อสภา เพื่อให้ได้พูดคุยกันอย่างมีวุฒิภาวะ
.
ดังนั้น SPRiNG ชวนเปิด "วาระเฉพาะ" ของพรรคก้าวไกล 8 กลุ่ม - กฎหมาย 45 ฉบับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ใช้อำนาจ "บริหาร" โดยผ่านการ ผลักดันผ่านกระทรวง มีพรรคตัวแทนเป็นรัฐมนตรี
ผลักดันนโยบายที่ไม่อยู่ใน MOU แต่อยู่ในขอบเขตอำนาจ ที่พรรคนั้นๆเป็นรัฐมนตรี ซึ่งในกรณี ในแต่ละพรรคที่เป็นรัฐบาลและมีเก้าอี้รัฐมนตรี ก็สามารถใช้ช่องทาง ทางนี้ได้
ใช้ อำนาจ "นิติบัญญัติ" ผลักดันผ่านกลไกลรัฐสภา โดย ส.ส. ของพรรค (ในกรณีนี้ คือ พรรคก้าวไกล ที่จะผลักดัน 45 กฎหมาย)
การเมือง 11 ฉบับ
1. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
2. พ.ร.บ. รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร)
3. พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
4. พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.
5. พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง
6. พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยุบ กอ.รมน.)
7. พ.ร.บ. ฉุกเฉิน
8. พ.ร.บ. กฎอัยการศึก
9. พ.ร.บ. การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
10. พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ
11. พ.ร.บ. นิรโทษกรรมคดีการเมือง
สิทธิเสรีภาพ 8 ฉบับ
1. ประมวลกฎหมายอาญา (หมิ่นประมาท /112 /116)
2. พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
5. พ.ร.บ. บิดเบือนกฎหมาย
6. พ.ร.บ. ชาติพันธุ์
7. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาญิชย์ (สมรสเท่าเทียม)
8. พ.ร.บ. รับรองอัตลักษณ์ทางเพศ
บริการสาธารณะ 4 ฉบับ
1. พ.ร.บ. การศึกษา
2. พ.ร.บ. น้ำประปา
3. พ.ร.บ. การขนส่งทางบก
4. พ.ร.บ. ถนน
ปฏิรูประบบราชการ 6 ฉบับ
1. พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร สาธารณะ
2. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต
3. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
4. พ.ร.บ. แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
5. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ กทม.
6. พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
ปฏิรูปที่ดิน 8 ฉบับ
1. ปะมวลกฎหมายที่ดิน
2. พ.ร.บ. ป่าไม้
3. พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ
4. พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
5. พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ
6. พ.ร.บ. ป่าชุมชน
7. พ.ร.บ. สปก.
8. พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เศรษฐกิจ 4 ฉบับ
1. พ.ร.บ. ภาษีความมั่นคง
2. พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (สุราก้าวหน้า)
3. พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า
4. พ.ร.บ. ประมง
สิ่งแวดล้อม 2 ฉบับ
1. พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. พ.ร.บ. อากาศสะอาด และรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)
แรงงาน 2 ฉบับ
1. พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์
2. พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
หมายเหตุ : กฎหมายหลายฉบับ มีวาระอยู่ใน MOU
ทั้งนี้ ในการเสนอร่างกฎหมายต่างๆ ต่อสภา นั้น กำหนดให้ ส.ส. รวมกันไม่น้อยกว่า 20 คนเข้าชื่อกันเสนอต่อประธานสภา แต่ในการผ่านร่างกฎหมาย ต้องอาศัยเสียงข้างมากของสภา