svasdssvasds

ผบ.เหล่าทัพ ของด "โหวตเลือกนายกฯ" ย้ำจุดยืนวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

ผบ.เหล่าทัพ ของด "โหวตเลือกนายกฯ" ย้ำจุดยืนวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

ผบ.เหล่าทัพ ของดโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าแคนดิเดตนายกฯ จะมาจากพรรคการเมืองใด ย้ำจุดยืน วางตัวเป็นกลางทางการเมือง

 มีรายงานเรื่องการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยตำแหน่ง ส.ว. ของผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่มี

• พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม

• พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.)

• พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)

• พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.)

• พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.)

• พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

โดยปัจจุบันยังอยู่ในช่วงการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมือง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะในการโหวตเลือกนายกฯ เพราะต้องผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอน ทั้งเปิดสภา เลือกประธานสภา แต่ ผบ.เหล่าทัพ มีจุดยืนในเรื่องการทำหน้าที่ ส.ว. มาตั้งแต่ประกาศไม่รับเงินเดือนมาก่อนหน้านี้แล้ว

โดยจะงดออกเสียงในประเด็นทางการเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาการวางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง ในฐานะที่กองทัพเป็นหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์เดียวกันของ ผบ.เหล่าทัพ และยึดปฏิบัติถือเป็นแนวทางเดียวกัน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ที่มา ส.ว. 250 คน มาจากไหน ทำหน้าที่อะไร มีผลกับการเลือกตั้ง 2566 อย่างไรบ้าง

• กางรายชื่อ ส.ว. 250 คน เป็นใครมาจากไหน และมีใครเป็นตัวตึงของสภาบ้าง

• ย้อนดู อำนาจ ส.ว. กับการเลือกนายกฯ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน จับตาเลือกตั้ง 66

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผบ.เหล่าทัพ ก็งดออกเสียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2565 รวมถึงประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง สำหรับการโหวตเลือกนายกฯ ครั้งนี้ ไม่ว่าแคนดิแดตนายกฯ จะมาจากพรรคการเมืองใด  ผบ.เหล่าทัพ ก็จะงดออกเสียง

related