ทำความรู้จัก "กุน ขแมร์" คืออะไร กันแน่ หลังจากที่มีประเด็นดราม่า "กุน ขแมร์" ที่ฝั่งกัมพูชาอ้างว่าเป็นศิลปะการป้องกันตัวของชาติตัวเองและไม่ยอมรับที่จะใช้ชื่อ มวยไทย ในการแข่งขันซีเกมส์ 2023
ประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้น จาก "กุน ขแมร์" ถูกฝ่ายจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2023 ที่ประเทศกัมพูชา ซึ่งทางเจ้าภาพยืนยันว่าจะไม่มีการบรรจุกีฬามวยไว้ในการแข่งขัน แต่จะบรรจุโดยกีฬาที่ ใช้ชื่อ "กุน ขแมร์" (Kun Khmer) แทน ซึ่งแน่นอนว่า ไทยจะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมในซีเกมส์ ครั้งนี้เหตุผลเพราะ สหพันธ์มวยไทยนานาชาติ (IFMA) ยืนยันชัดเจนว่า กีฬามวยไทยและคิกบ็อกซิ่งในซีเกมส์จะต้องใช้ชื่อ "มวย" เท่านั้น พร้อมประกาศย้ำด้วยว่า หากชาติใดส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันรายการดังกล่าวก็จะถูกแบนจากแมตช์ที่ อีฟม่า IFMA รับรองแน่ๆ
สำหรับ กุนขแมร์ หรือ Kun Khmer มวยเขมร ถือว่า กีฬาที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Kbach Kun Pradal Khmer มีความหมายว่า “การต่อสู้อย่างอิสระ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มวยไทย ได้รับการรับรองจากโอลิมปิกสหรัฐฯ มีโอกาส บรรจุโอลิมปิกเกมส์ มากขึ้น
โบกาตอร์ Bokator ศิลปะมวยเขมร เน้นรำ หลอกล่อ ออกอาวุธ (คลิป)
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการยืนยันว่า กุนขแมร์ หรือ Kun Khmer มีการพัฒนาแบบแผนศิลปะป้องกันตัวชนิดนี้มาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง หรือ พัฒนาแบบแผนการต่อสู้มาจากประเทศอินเดีย
อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ยังมีศิลปะการต่อสู้ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก มีชื่อเรียกว่า “กุน ลโบกาตอร์” (Kun Lbokator) ซึ่งขึ้นทะเบียนไป เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยป็น 1 ใน 22 มรดกภูมิปัญญาอื่นๆที่ได้นับการขึ้นทะเบียน อาทิเช่น ขนมปังบาแกตต์ในฝรั่งเศส พิธีชงชาของจีน พิธีเต้นรำฟูริวโอโดริของญี่ปุ่น
โดย ปัจจุบัน กุน ขแมร์ ควบคุมโดยสหพันธ์มวยกัมพูชา (CBF) ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1961 โดยผู้ตัดสินและนักมวยทุกคนต้องมีการขึ้นทะเบียนอนุญาตจาก CBF สถานีโทรทัศน์ที่จัดการแข่งขันมวยก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ CBF
• กุนขแมร์ กับ มวยไทย ต่างกันอย่างไร
UNESCO Bangkok ระบุข้อมูลถึงความแตกต่างของ ศิลปะการต่อสู้ มวยเขมร โบกาตอร์ bokator ที่ประเทศกัมพูชา กล่าวอ้างว่าเป็นต้นแบบของ กุน ขแมร์ แตกต่างกับมวยไทยอย่างไร ว่า ในเว็บไซต์ว่า “เป็นศิลปะที่มีความคล้ายคลึงกันกับมวยไทยและมวยลาว” ทั้งนี้ศิลปะเหล่านี้สืบต่อมาจากเหล่าอาณาจักรโบราณที่ผสมผสานเชื้อชาติและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันมาช้านานหลายศตวรรษ
รูปแบบการแข่งขัน กุน ขแมร์ ในปัจจุบัน กำหนดการชก 5 ยก (ยกละ 3 นาที) และและจะมีการพักระหว่าง 1 นาทีครึ่งถึง 2 นาที
ส่วนกฏ กติกานั้น คือการใช้ศิลปะการต่อสู้ หมัด เท้า เข่า ศอก โดยห้ามชกเมื่อคู่ต่อสู้ล้มลงกับพื้น ห้ามกัด ไม่อนุญาตให้ทำร้ายด้านหลังของฝ่ายตรงข้าม ห้ามจับเชือกหรือเกี่ยวเชือก ห้ามต่อยที่จุดยุทธศาสตร์ของนักมวย การน็อกเอาต์เกิดขึ้นเมื่อนักมวยล้มลงกับพื้นและไม่สามารถชกต่อไปได้หลังจากกรรมการนับ 1-10 หรือ กรรมการสามารถยุติการชกได้ทันที หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถสู้ได้ สุดท้ายหากสู้กันครบ 5 ยกจะตัดสินด้วยคะแนน กรณีไม่มีการน็อกเกิดขึ้น
สรุปได้ว่า กุน ขแมร์ มีกติกาที่แทบจะเหมือนกับ มวยไทย เป๊ะๆ ต่างกันที่รูปแบบ สไตล์ หรือลักษณะการต่อสู้ของนักมวยแต่ละคนเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝั่งไทย โดยสมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้เด็ดขาด เพราะที่ผ่านมาในซีเกมส์มีการตกลงกันไว้แล้วว่าให้ใช้ชื่อ "มวย" เท่านั้น
"กุน แขมร์" จะกลายเป็นกีฬาพื้นบ้านของเจ้าภาพกัมพูชา ในการแข่งขันซีเกมส์ 2023 ตอนนี้มีเพียง 3 ประเทศที่จะส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน ได้แก่ กัมพูชา ลาว และ เมียนมา ในซีเกมส์ครั้งนี้ ซึ่งเจ้าภาพบรรจุ "กุน ขแมร์" ไว้ 11 เหรียญทอง โดยพิธีเปิดซีเกมส์ 2023 จะมีในช่วงวันที่ 5 พฤษภาคม 2566
Credit Youtube KhmerBoxing