svasdssvasds

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

กกท. ส่งหนังสือถึง กสทช. ให้กลุ่มผู้ให้บริการวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 โดยเข้ารหัสสัญญาณตามมาตรฐานฟีฟ่า ป้องกันละเมิดลิขสิทธิ์นอกดินแดน หากไม่ปฏิบัติตาม อาจถูกฟีฟ่าตัดสัญญาณถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก

ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในฐานะผู้ถือลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ได้ส่งหนังสือเรื่องขอความอนุเคราะห์แจ้งให้ดำเนินการเข้ารหัสสัญญาณให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ถึงเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตามที่อ้างถึง การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้ขอความอนุเคราะห์คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งขอความร่วมมือจากกลุ่มผู้ให้บริการวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ อันประกอบด้วย ผู้ให้บริการ Multiplexer DTT ทั้ง 5 MUX และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Carry และผู้ให้บริการกล่อง STB คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) โดยเข้ารหัสสัญญาณ และดำเนินการทำ OTA ของกล่องเครื่องรับระบบโทรทัศน์ดาวเทียม นั้น

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกท. ได้รับแจ้งจากทางสหพันธ์ฟตุบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ว่า สัญญาณออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ในประเทศไทย ยังคงแพร่กระจายไปละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น นอกเหนือลิขสิทธิ์ที่ได้รับตามข้อกำหนดของสหพันธ์ ทั้งนี้ สหพันธ์ ได้ขอให้ผู้ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดของประเทศไทย ดำเนินการแก้ไขการเข้ารหัสสัญญาณ (Encryption) ที่ส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นไปตามข้อกำหนด และมาตรฐานของสหพันธ์ โดยด่วนที่สุด

เพื่อป้องกันปัญหาสัญญาณการออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ในประเทศไทย ไปละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น ตามที่สหพันธ์แจ้งมา กกท. ใคร่ขอความอนุเคราะห์ และความร่วมมือจาก กสทช. ดำเนินการแจ้งผู้ให้บริการ Multiplexer DTT ทั้ง 5 MUX และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Carry และผู้ให้บริการกล่อง STB คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

1. ให้ดำเนินการเข้ารหัส (Encryption) ในการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมตามมาตรฐานของ FIFA ซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ BISS CA Director หรือ Power/u

2. ในส่วนของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Carry และผู้ให้บริการกล่อง STB จะต้องเข้ารหัส โดยไม่ใช่การดำเนินการในลักษณะ BISS 1 Simultcrypt เหมือนที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

3.ในกรณีที่ผู้ให้บริการใด ไม่สามารถเข้ารหัสให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สหพันธ์ กำหนด มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณที่จะส่งไปเผยแพร่ผ่านผู้บริการนั้น ซึ่งต้องดำเนินการในลักษณะส่งข้อความขี้แจงข้อกำหนดการเผยแพร่ตามข้อกำหนดลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยได้รับ (หรือตามที่ผู้รับชมทั่วไปจะเข้าใจในลักษณะการขึ้น “จอดำ”)

ในการนี้ ทางสหพันธ์ ได้กำชับให้ผู้ได้รับลิขสิทธิ์ และดำเนินการเผยแพร่ในประเทศไทย แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยด่วนที่สุด หากไม่สามารถดำเนินการได้ ทางสหพันธ์ มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการซื้อลิขสิทธิ์ ซึ่งการดำเนินการของสหพันธ์ ที่ร้ายแรงที่สุด คือ การตัดสัญญาณการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่จะส่งมาเผยแพร่ในประเทศไทย อันจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการติดตามรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอสโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ของประชาชนชาวไทย ได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งจบการแข่งขัน

ทั้งนี้ กกท. เห็นว่า ทั้ง กกท. และ กสทช. มีความจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยด่วนที่สุด เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามที่สหพันธ์ แจ้งเตือนมา จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา และขอความอนุเคราะห์ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยด่วนที่สุดต่อไป

หลังจาก กสทช. ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ในวันนี้ ก็ได้ส่งเอกสารด่วนที่สุด ถึงผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เกี่ยวกับการดำเนินการเข้ารหัสสัญญาณออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

กกท. หวั่นถูกตัดสัญญาณฯ แจ้งผู้ให้บริการฯ เข้ารหัส ตามข้อกำหนดฟีฟ่า

related