เปิดที่มา ประวัติวันลอยกระทง เชื่อว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เทศกาลสำคัญเพื่อสำนึกคุณค่า และขอขมาพระแม่คงคา ผู้ให้สายน้ำหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต
วันลอยกระทง 2565 ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ในคืนพระจันทร์เต็มดวง วันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 โดยผู้คนจะลอยกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง รวมถึงการประดับไฟ ปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย ฯลฯ จนเป็นที่มาขอวลีเผาเทียน เล่นไฟ
ข่าวที่น่าสนใจ
ลอยกระทง เชียงใหม่ รวมสถานที่จัดงาน ประเพณีเดือนยี่เป็ง 2565
ลอยกระทง 2565 ที่ไหนดี เช็กสถานที่จัดงาน “กทม.-ททท.-เอกชน” มีกิจกรรมเพียบ
วิธีทำกระทงขนมปัง กระทงอาหารปลาแบบง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน (มีคลิป)
ข้อมูลจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง เคยเล่าถึงงานรื่นเริงที่ยิ่งใหญ่สมัยสุโขทัย โดยใช้คำว่า "เผาเทียนเล่นไฟ" มีการทำบุญไหว้พระ เรียกว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป” รวมถึงจดหมายเหตุลาลูแบร์ที่กล่าวอ้างถึงการ ชักโคม ลอยโคม ในสมัยอยุธยา
ประวัติประเพณีลอยกระทงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้งตามพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชา พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ก่อนจะปรับให้เข้ากับศาสนาพุทธเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ การทำบุญ ตักบาตร หรือการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ฯลฯ
ประวัติ และที่มา "นางนพมาศ"
นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสนมเอกของพระร่วงคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นมาคนแรกเพื่อนำไปลอยที่แม่น้ำตามคำกล่าวอ้างว่า "ประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่" และเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย และโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง ปฏิบัติในประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี
ความหมายของวันลอยกระทง
นอกจากเป็นการขอขมาพระแม่คงคา เทพศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูเป็นเทวีแห่งสายน้ำ รวมถึงการบูชาเทพศาสนาพราหมณ์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม รวมทั้งยังเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที อินเดีย รวมถึงบางหลักฐานก็เชื่อว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
Cr. ภาพประกอบ กรมศิลปากร , สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มทร.รัตนโกสินทร์ ศาลายา