ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี ปูชนิดใหม่ของโลกค้นพบโดยนักวิจัยไทย คุณพัน ยี่สิ้นและทีมงาน จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ปูชนิดนี้น่าสนใจอย่างไร
ขอแสดงความยินดีกับ คุณพัน ยี่สิ้น บุคลากรสาขาวิชาวิทยาการเกษตรและประมง คุณเรืองฤทธิ์ พรหมดำ และทีมงานจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ที่ได้ค้นพบปูชนิดใหม่ของโลก และได้ตั้งชื่อไทยว่า “ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี” (Phricotelphusa sukreei) ชื่อนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปูที่ค้นพบใหม่นี้มีลักษณะกระดองสีแดง ขายาว พบอยู่บนต้นไม้เตี้ย ๆ ภายในโพรงไม้ พื้นที่ที่พบคือ บริเวณเทือกเขาสูงทางภาคใต้ตอนล่างที่มีความชื้นสูง และการค้นพบปูชนิดใหม่ได้เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เช็กที่นี่ สัตว์น้ำวัยอ่อน ต้องมีขนาดเท่าไหร่ถึงบริโภคได้นะ?
การทำประมงเกินขนาดเริ่มมาจากไหน ทำความเข้าใจ วิกฤตอาหารทะเล Overfishing
ปูชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับปูสกุล Phricotelphusa เพียงผิวเผิน แต่ที่โดดเด่นขึ้นมาคือกระดองและอวัยวะเพศผู้จำนวนหนึ่งที่แตกต่างกับชนิดอื่น ๆ ปูสกุลนี้ปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่พบทางภาคใต้ของเมียนมาร์ ภาคใต้ของไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซีย
แน่นอน ปู เป็นสัตว์ทะเลที่ฮอตฮิตพอๆกับกุ้ง สำหรับอาหารซีฟู้ดทั่วโลก ปูอยู่ในทุกน่านน้ำทั่วโลก แค่จุดน้ำจืดก็มีปูไปแล้วกว่า 850 สายพันธุ์ ปูถูกคิดเป็น 20% ของกุ้งทะเลที่จับมาทำฟาร์ม และบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และคิดเป็น 1.5 ล้านตันต่อปี
ปัจจุบันปูยังไม่มีทีท่าในเรื่องการความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ เพราะยังสามารถอาศัยได้อย่างทนทานในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนอกจากอาหารแล้ว ปูยังมีแนวโน้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากอาหารด้วย เช่น การนำเปลือกไปแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ปูมีคุณประโยชน์มากกว่าที่คิด ถ้าสร้างการขยายสายพันธุ์ได้อย่างยั่งยืน ปูก็จะยังคงสร้างระบบนิเวศในทะเลให้สมบูรณ์เฉกเช่นสัตว์น้ำอื่น ๆ ได้ต่อไป
ที่มาข้อมูล