สจล. เปิดแผน ลาดกระบังโมเดล แก้ปัญหาน้ำท่วมกทม. ถอดบทเรียนจากปีอุทกภัย 54 ปรับใช้ในปี 65 ดึงความร่วมมือจาก 65 ชุมชน ใช้ ปฏิบัติการ "สำรวจ ตั้งรับ เฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟู"
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ดึงแผน "ลาดกระบังโมเดล" ซึ่งเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 นำมาเป็นโมเดลต้นแบบ พัฒนาปรับใช้แก้ปัญหาและบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์ในปีนี้อีกครั้ง พร้อมเปิดแผนปฏิบัติการ "สำรวจ ตั้งรับ เฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟู" โดยร่วมมือกับ 65 ผู้นำชุมชนใน 6 แขวงของเขตลาดกระบัง เป็นจิตอาสาร่วมเฝ้าระวังระดับน้ำในชุมชน และสื่อสารกระจายข้อมูลไปยังประชาชนในชุมชนให้พร้อมตั้งรับน้ำได้ทันท่วงที พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันในชุมชน และฟื้นฟูชุมชนให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้งโดยเร็ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
MEA ร่วมติดตาม มท.1 ลงพื้นที่ติดตามแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมลาดกระบัง
กรุงเทพเขตไหนบ้าง ฝนตก 15 กันยายน 65 เย็นนี้ เช็กเลย น้ำท่วมหรือไม่ ?
DES & ไปรษณีย์ไทยส่งถุงยังชีพ 3,000 ถุง ช่วยผู้ประสบอุทกภัย กทม.
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า จากที่ สจล. จัดการประชุม พบปะหารือชุมชนเขตลาดกระบัง เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พบว่า ประชาชนประสบปัญหาเกี่ยวเนื่องจากน้ำท่วมขังในพื้นที่เป็นระยะเวลานาน ทำให้น้ำเริ่มเน่าส่งกลิ่นเหม็น และอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา อีกทั้ง ถนนชำรุดเสียหาย ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้โดยสะดวก ซึ่งต้องการให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง โดยจากสถานการณ์ปัจจุบัน ชุมชนมีความขาดแคลนยารักษาโรค ข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อเป็นเสบียงใช้ดำรงชีพจนกว่าจะสามารถเดินทางสัญจรได้ ทั้งนี้ ประชาชนในชุมชนลาดกระบัง มีความกังวลในสถานการณ์น้ำ หากในอนาคตมีการปล่อยน้ำเหนือลงมา โดยที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ยังระบายออกไม่หมด จะทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในพื้นที่ลาดกระบังอีกครั้ง ซึ่งมองว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก และคลองต่างๆ ยังสามารถรองรับได้อยู่ หากมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี ในการเร่งระบายน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่เขตลาดกระบังขณะนี้ได้
จากการประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารจัดการน้ำ "ลาดกระบังโมเดล" ที่เคยประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำช่วงเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ปี 2554 ซึ่ง เป็นโมเดลต้นแบบที่สจล. นำมาพัฒนา ปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่ และสถานการณ์ปัจจุบัน โดยโมเดลนี้ จะเชื่อมโยงเครือข่าย ระหว่าง สจล. กับผู้นำชุมชนทั้ง 65 ชุมชน ใน 6 แขวงของเขตลาดกระบัง ให้ร่วมเป็นจิตอาสาเฝ้าระวังระดับน้ำในชุมชน และทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลไปยังประชาชนในชุมชน โดยมีแนวคิดการดำเนินงาน คือ "สำรวจ ตั้งรับ เฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟู"
แผนการสำรวจ ศูนย์ฯ จะสำรวจเส้นทางน้ำ ทั้งทางเรือ ทางบก และทางอากาศ ของพื้นที่ลาดกระบัง และขยายไปทั่วพื้นที่ตะวันออก เพื่อศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำ และนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อผู้นำชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านรับรู้สถานการณ์ พร้อมเตรียมตัวตั้งรับได้ทันท่วงที แผนการตั้งรับ หลังการลงพื้นที่สำรวจเส้นทางน้ำ วิเคราะห์ปัญหา ศูนย์ฯ จะประชุมหารือแนวทางแก้ไขร่วมกันกับชุมชน เพื่อดำเนินการโดยเร่งด่วน อาทิ วางแผนงานขุดลอกคูคลองเพื่อกำจัดผักตบชวา และขยะที่กีดขวางเส้นทางน้ำ