ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการตรวจหาเชื้อ "ฝีดาษลิง" ตั้งแต่ 08.30-17.00 น. รู้ผลใน 24 ชั่วโมง
หลังจากที่ประเทศไทยพบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" ผลตรวจยืนยันพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 2 ของกรุงเทพมหานครเป็นหญิงไทย และเป็นรายที่ 4 ของไทย
ล่าสุดศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบริการตรวจหาเชื้อฝีดาษลิง ด้วยวิธี Realtime PCR / Conventional PCR and Sequencing โดยเปิดทำการตรวจในเวลา 08.30 -17.00 น. ที่ห้อง 912 อาคาร อปร.ชั้น 9 พร้อมแจ้งผลภายใน 24 ชั่วโมง
โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เผยผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า
การตรวจฝีดาษลิง เป็นการประสานเขื่อมโยงกับกระทรวงสาธารณสุข และ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬา สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ตามเบอร์โทรศัพท์ในเวลาราชการโทร. 08-256 400 ต่อ 3562 ส่วนนอกเวลาราชการโทร.094-364-1594 และ LINE ไอดี trceid
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• หนุ่มฝรั่งเศสเสี่ยงฝีดาษลิง จ.ตราด ล่าสุด ยอมสอบสวนโรคแล้ว หลังดื้อข้ามคืน
• ด่วน! หญิงไทย 22 ปีป่วยฝีดาษลิง รายที่ 4 ของประเทศ มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย
• Breaking News : พบ "ฝีดาษลิง" ในประเทศไทยคนที่ 3 ชายเยอรมันเข้ามาที่จ.ภูเก็ต
ประสิทธิภาพในการติดฝีดาษลิง สามารถติดต่อทางตรง คือ เชื้อน้ำลาย และ สิ่งคัดหลังจากเยื่อบุแผลตุ่มผิวหนังของคนติดเชื้อ เข้าไปที่เยื่อบุตา จมูก เข้าแผล เข้าช่องเยิ่บุอีกคน หรือ ทางอ้อมคือ เชื้ออยู่ที่ผิวหนัง พิ้นผิว ผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า เครื่องใช้ ซึ่งต้องอยู่ที่ปริมาณของเชื้อ ผ่านการสัมผัสแนบแน่น เข้มข้น เนิ่นนานพอสมควร ซึ่งยากกว่าการติดเชื้อโควิดมากมาย ดังนั้นคนที่เสี่ยงติดเชื้อ หรือมีโอกาสติด คือ ต้องชิด สนิทแนบ เนิ่นนาน
กลุ่มคนที่ควรระวังฝีดาษลิง คือ แพทย์ เช่น ทางผิวหนัง หู คอ จมูก ตา ฟัน อาจต้องระวังการแพร่ทางน้ำลายและละอองฝอยจากปาก การพูด ด้วย เพราะต้องมีการตรวจหรือปฏิบัติใกล้ชิด
อย่างไรก็ตามคนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อได้ ทาง ละอองฝอยน้ำลาย โดยยังไม่เกิดอาการทางกาย ยังสบายดี ด้วยซ้ำ โดยมีแผลตุ่มผื่นที่ผิวหนัง ไม่มากก็ได้ (ในที่ลับ ที่ตนเองก็ไม่ทราบ) หรือไม่สบาย โดยยังไม่มีแผลตุ่มผื่นด้วยซ้ำ