ศาลยุติธรรม เตือนระวังแก๊งมิจฉาชีพ ส่งหมายศาลส่งมาหา แล้วมาบอกให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ด้วยสารพัดข้ออ้าง ห้ามหลงเชื่อโดยเด็ดขาด
ในโลกปัจจุบันยุค 2022 ที่อันตรายและกลโกงมิจฉาชีพที่มารอบด้าน บางครั้งต้องยอมรับว่า ต่องให้เรารู้เท่าทันคนร้ายมาแค่ไหน แต่คนจ้องจะทำผิดหาวิธีพลิกแพลงได้อยู่ดี แก๊งมิจฉาชีพที่ใช้เทคโนโลยีหลอกลวงเอาเงินออกจากกระเป๋าประชาชนมีมาหลายรูปแบบ ไม่เพียงเฉพาะ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หรือแม้แต่การอ้างว่า มีใบสั่งตกค้างให้รีบชำระ ล่าสุดมีกลโกงหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชีในรูปแบบใหม่อย่าง "หมายศาลปลอม"
ล่าสุด หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมอีกหน่วยงานอย่างศาลยุติธรรม ได้ออกมาแจ้งเตือนประชาชน ผ่าน "เพจสื่อศาล" ซึ่งเป็นเพจในการประชาสัมพันธ์ให้บริการข้อมูลข่าวสารของศาลยุติธรรมไปยังบุคลากรภายในองค์กรและสังคม ได้ออกคำเตือนสังคมเช่นกัน เนื่องจาก แก๊งมิจฉาชีพ ได้มีการออกแบบ "หมายศาลปลอม" พร้อมกับแจ้งให้ผู้ที่มีชื่อในหมายศาลทำการโอนเงิน
โดย"เพจสื่อศาล" ได้เผยภาพตัวอย่าง "หมายศาลปลอม"และแจ้งข้อความเตือนภัย ระบุว่า
หากมีหมายศาลส่งมาหาท่าน แล้วมาบอกให้ท่านโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ด้วยสารพัดข้ออ้าง ห้ามหลงเชื่อโดยเด็ดขาด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• วิธีตั้งค่า S.O.S. โทรศัพท์ ส่งข้อความฉุกเฉิน เมื่อเจอมิจฉาชีพทำยังไง
• ระวังมิจฉาชีพ! 4 เรื่อง ที่เราไม่ควรโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทิ้งร่องรอยไว้
• 8 โปรแกรมหลอกดูดเงินระยะไกล กลโกงใหม่ของมิจฉาชีพ ไม่ได้มีแค่ TeamViewer
เพจ "สื่อศาล" ยังได้เผยแพร่ข้อมูลวิธีการรับมือภัยทางเทคโลยีไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า
หากเจอข้อความแชทใน facebook จากคนรู้จักในลักณะแบบนี้ ขอให้ท่านอย่าเพิ่งเชื่อเพราะ facebook ของเขา อาจถูกแฮ๊กแล้วส่งข้อความหลอกลวงบุคคลต่างๆ ที่เป็นเพื่อนใน facebook เพื่อหวังเอาข้อมูลหรือรหัสเพื่อเข้าถึงในการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ขอให้โทรสอบถามให้แน่ใจก่อนจะดีที่สุด
"สื่อศาล" มีคำแนะนำ เล่นโซเชียลอย่างไร ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ
• ไม่รับแอดคนไม่รู้จัก
• ไม่รับแอดบัญชีแฝง เช่น บัญชีการใช้ภาพวิว,บัญชีที่ไม่ใช่ชื่อจริง
• ตรวจสอบตัวจริง เช่น การโพสต์ที่สม่ำเสมอ ,การแชร์ข่าว
• หากโปรไซล์ดูดีต้องระวัง อาจเป็นปัญชีที่ถูกปลอมขึ้นมา
• ย้อนไปถึงวันที่สร้างบัญชีตัวจริง จะมีการโพสต์เรื่องส่วนตัวมากกว่างานลูกโซ่
• ไม่ต้องตั้งค่าสาธารณะหรือ โชว์ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป เช่น ทรัพย์สินมีค่า,ที่อยู่,อยู่บ้านกี่คน
ที่มา : สื่อศาล