svasdssvasds

ยานยนต์ไฟฟ้าไทย ไปถึงไหนแล้ว ? กับเป้าหมาย ศูนย์กลางผลิต รถ EV ของเอเชีย

ยานยนต์ไฟฟ้าไทย ไปถึงไหนแล้ว ? กับเป้าหมาย ศูนย์กลางผลิต รถ EV ของเอเชีย

ส่องอนาคต ยานยนต์ไฟฟ้าไทย วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ? กับเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางผลิต รถ EV ของเอเชีย วันนี้ SPRiNG จะชวนไปหาคำตอบจากเวที EV Forum 2022 : Move Forward to New Opportunity

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ปาฐกถาพิเศษ มาตรการ EV ขับเคลื่อนไทย สู่ศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าแห่งเอเซีย ในงาน กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับ ฐานเศรษฐกิจ สัมมนา EV Forum 2022 : Move Forward to New Opportunity ระบุว่า สาเหตุที่ประเทศไทยจะต้องผลักดันนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าเนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของเอเชียมานาน ซึ่งการเข้ามาของยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นโอกาสใหม่ของประเทศไทยในการก้าวไปสู่ศูนย์กลางของเอเชียได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ปี พ.ศ. 2573 รัฐบาลตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอัตรา 30% ของรถยนต์ทั้งหมดที่ประเทศไทยผลิต ซึ่งการที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มสภาพแวดล้อมในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้พร้อม และส่งเสริมให้ประเทศเหมาะสมกับการลงทุนจากต่างประเทศ

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ

นายสุพัฒนพงษ์ เล่าถึงภาพรวมว่า การที่ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ส่งผลดีเฉพาะแค่ในภาพโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นแต่มันยังทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ , อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่น้ำมาประกอบยานยนต์ไฟฟ้า , สถานีอัดประจุ(สถานีชาร์จ) เป็นต้น ซึ่งตัวพลังงานเอง รัฐบาลก็ต้องพยายามผลักดันให้พลังงานที่นำมาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องมาจากพลังงานสะอาดเช่นกัน

ภาครัฐพร้อมไหม ?

ด้าน นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต ระบุบน เวทีเสวนา ช่วง EV Ecosystem พลิกโฉมยานยนต์ไทย จากภาครัฐ ว่า ความเชื่อมั่นในยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีความเชื่อมั่นแล้ว แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่อาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบมากพอและเหมาะสมต่อการใช้งานเช่นราคา , ขนาด และความจุในการวิ่ง แต่เรื่องการสนับสนุนดเานภาษี ไทยถือว่ามีความพร้อม

ยานยนต์ไฟฟ้าไทย ไปถึงไหนแล้ว ? กับเป้าหมาย ศูนย์กลางผลิต รถ EV ของเอเชีย

ส่วน นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) มองว่า อุตสาหกรรมยานยนต์แตกต่างอื่น ๆ เพราะจำเป็นที่ต้องใช้การบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานของภาครัฐหลายหน่วยงาน ที่ผ่านมา ไทยสามารถสร้างฐานการผลิตยานพาหนะได้ถึง 20 กว่าราย ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมบริษัทผลิตอะไหล่ยานยนต์เพิ่มขึ้นถึง 3,000 บริษัท ซึ่งเป็นสัญชาติไทยทั้งหมด

ซึ่งทั้งระบบแวดล้อมของยานยนต์ไฟฟ้าก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะตัวอย่างเรื่องไฟฟ้าแต่มันครอบคลุมไปถึงสถานีชาติและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ดังนั้น BOI จึงออกมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนการติดตั้งแท่นชาร์จตามจำนวนที่กำหนดก็จะได้รับการลดภาษี หรือ การสร้างแอปฯ บริหารจัดการสถานีชาร์จ ก็จะได้สิทธิประโยชน์นี้เช่นกัน โดยประเทศไทยเองถือว่าเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการ Project Management Office การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ระบุว่า ในฐานะที่การไฟฟ้าเองเป็นหน่วยงานที่ต้องสนับสนุนนโยบายการของรัฐบาล ดังนั้นใน 3 การไฟฟ้าก็จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้คนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น ทั้งแท่นชาร์จตามสถานีชาร์จ และแท่นชาร์จที่บ้านของประชาชน โดย กฟผ. เอง จะนำร่องการติดตั้งสถานีชาร์จที่รองรับการใช้งานของหน่วยงานรัฐ เพราะในอนาคตรถยนต์ของหน่วยงานต่างๆก็จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ขณะที่ในสำนักงานใหญ่เองก็จะมีการเริ่มติดตั้งหัวชาร์จ 50-60 หัว แบบที่ตกแต่งสวยงาม เพื่อเป็นตัวอย่างให้หน่วยงานอื่น ๆ ปฎิบัติตาม

ยานยนต์ไฟฟ้าไทย ไปถึงไหนแล้ว ? กับเป้าหมาย ศูนย์กลางผลิต รถ EV ของเอเชีย

ขณะเดียวกันการใช้งานแท่นชาร์จก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยแพลตฟอร์มกลางในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนซึ่งที่ผ่านมามีการพูดคุยกันในเรื่องการสร้างแพลตฟอร์มการคล้ายกับบัตร ATM ที่ไม่ว่าจะเป็นบัตรของธนาคารใดก็สามารถใช้งานได้โดยช่วงกลางปีหน้าเราจะได้เห็นกัน

ภาครัฐพร้อม แล้วบริษัทอื่น ๆ พร้อมไหม ?

นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุบนเวที เปิดแผนธุรกิจรุกตลาด EV จากภาคเอกชน ว่า ปตท. เอง ถือว่ายังอยู่ในจุดเริ่มต้นของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า แม้ว่าในรถยนต์สันดาป ปตท. จะมีหน้าที่ในการให้บริการหลัก แต่ในยานยนต์ไฟฟ้า ปตท. ก็เล็งเห็นว่าบริษัท เอง ยังคงต้องเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจนี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนของน้ำมันเครื่องและสถานีบริการชาร์จไฟ

 

นอกจากนี้ ปตท. ยังมีหน้าที่ในการสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในการขับเคลื่อนไปสู่สังคมไร้คาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นการก้าวเข้าไปสู่โลกของยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนจึงเป็นเรื่องที่ ปตท. ให้ความสำคัญเป็นหลัก ปตท. จึงมีการตั้งบริษัทที่เข้ามาดูแลในส่วนของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก ภายใต้ชื่อ อรุณพลัส(Arun+)

ด้วยกลยุทธ์ของ ปตท. ในการก้าวเข้าสู่โลกยานยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วยการเป็นหนึ่งในผู้เล่นในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ การเข้าไปมีส่วนในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า , เข้าไปมีส่วนในการพัฒนาแพลตฟอร์มสภานีชาร์จ , การเข้าไปมีส่วนในการให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

นอกจากนี้บริษัทยังมีการสร้างพันธมิตรกับบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลกเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยเพื่อรองรับความต้องการแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศอื่น ๆ Nuovo Plus ขณะเดียวกันก็มีการร่วมทุนกับบริษัทผลิตเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า Foxconn ให้เกิดโรงงานผลิตขึ้นในประเทศไทย

ณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลส์ มอเตอร์ ประเทศไทย ระบุว่า แม้ว่า GWM จะเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่เข้ามาตีตลาดในประเทศไทยในระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา การที่ได้เห็นความพร้อมของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างสภาพแวดล้อมให้พร้อมต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่บริษัทตื่นเต้นเป็นอย่างมาก

ยานยนต์ไฟฟ้าไทย ไปถึงไหนแล้ว ? กับเป้าหมาย ศูนย์กลางผลิต รถ EV ของเอเชีย

จากข้อมูลพบว่าในช่วงเวลาระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเติบโตขึ้น จาก 3.2 ล้านคัน เพิ่มมาเป็น 6.7 ล้านคัน แม้ว่าจะเติมจะมีการคาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะทำให้ยอดการซื้อขายลดลงแต่ปรากฏว่ายอดการซื้อขายกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งในประเทศจีนมีการใช้งานจากเดิมที่เติบโตเพียงแค่ไม่เกิน 10% เท่านั้นก็เพิ่มขึ้นจนทะลุเลข 2 หลักไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หลังจากประเทศไทยมีการส่งเสริมในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ตัวเลขจดทะเบียนของยานยนต์ไฟฟ้าในแค่ไตรมาสแรกของปี 2565 พบว่า มียอดจดทะเบียนเกือบครึ่งหนึ่งของปี 2564 แล้ว

GWM มองว่าตลาดรถยนต์ปีนี้ จะเติบโตมากขึ้นกว่าปี 2564 ราว 8% ซึ่งในตลาดรถยนต์ทั้งหมดจะมียานยนต์ไฟฟ้าถึง 10% ดังนั้นในปีนี้อาจจะได้เห็นยอดการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแตะหมื่นคันเป็นครั้งแรก ขณะเดียวกันภายในไตรมาส 4 ปี 2566 จะเริ่มมีการผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ขณะที่ปี 2561 จะเริ่มมีการประกอบและผลิตยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ

related