คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมวานนี้ (15 มิ.ย.) ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้
แถลงการณ์ของเฟดระบุว่า เอฟโอเอ็มซียังคงยืนยันหนักแน่นที่จะดึงตัวเลขเงินเฟ้อแตะเป้าหมาย 2% ให้ได้ และคาดว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้ เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 28 ปี
10 มิ.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนี CPI (ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค) พุ่งขึ้น 8.6% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.3% และถือว่าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2524 เป็นต้นมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
พารู้จัก! การซื้อขายเงินตราต่างประเทศผ่านออนไลน์ ทำยังไงเก็งกำไรค่าเงิน ?
World Bank เตือน "ภาวะเศรษฐกิจถดถอย" เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง
กมธ.งบปี 66 เร่งถก "งบคลัง" ธปท. คาด GDP กลับมาฟื้นตัวในระดับก่อนมีโควิด-19
เฟดยังระบุว่า เฟดจะทำการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน โดยจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 1.75 หมื่นล้านดอลลาร์ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม หลังจากนั้น 3 เดือน เฟดจะเพิ่มการลดขนาดงบดุลเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน โดยจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม