หมอยง เผยไวรัสในกลุ่มฝีดาษไข้ทรพิษ และฝีดาษลิง มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก โดยในกลุ่มฝีดาษ ระบบภูมิคุ้มกันข้ามมาป้องกันซึ่งกันและกัน สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
โรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ว่า การระบาดของโรค "ฝีดาษลิง" นอกทวีปแอฟริกา แต่เดิมเกิดจากการติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงตระกูลหนู ที่เป็นพาหะไวรัสนี้อยู่ เช่น หนูยักษ์แกมเบีย (Gambian giant rat) แพรี่ด็อก (Prairie dog) การระบาดในครั้งนี้ไม่มีหลักฐานการติดเชื้อจากสัตว์ แต่เป็นการติดระหว่างสัมผัสกับผู้ป่วย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ “หมอยง” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ประเด็น ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยระบุว่า
ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ รวมทั้งฝีดาษวานร สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ไวรัสในกลุ่มฝีดาษไข้ทรพิษ และฝีดาษลิง มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ในกลุ่มฝีดาษ ระบบภูมิคุ้มกันข้ามมาป้องกัน ซึ่งกันและกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• "ฝีดาษลิง" ระบาดหรือไม่และป้องกันอย่างไร หมอยง มีคำตอบ
• ดร.อนันต์ เผยผลตรวจผู้ป่วยฝีดาษลิง ในอดีต พบ สัมผัสตุ่มหนองเสี่ยงระบาดสูง
• ข่าวปลอม! "พบฝีดาษลิงที่เกาะช้าง" ที่จริงคือ "โรคไข้มาลาเรียชนิดโนว์ไซ"
สมัยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ที่ใช้ฝีดาษวัว (Vaccinia) มาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว และประสบผลสำเร็จ จนในที่สุดโรคไข้ทรพิษได้หายไปจนหมดสิ้น องค์การอนามัยโลกยกเลิกการปลูกฝีอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ 2523 หลายประเทศยกเลิกก่อนหน้านั้น
ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนให้ดีขึ้น (ใช้ Vaccinia Ankara strain) แทนการปลูกฝี เป็นไวรัสเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์และไม่แบ่งตัว มาใช้วิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยไม่เกิดอาการตุ่มหนองฝี มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีการปลูกฝี
ปัจจุบันวัคซีนได้อนุมัติใช้ทางประเทศตะวันตก ยุโรปและอเมริกา
โรคฝีดาษวานร วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันก็ไม่ได้เริ่มต้นมาจากศูนย์ แบบการพัฒนาวัคซีนป้องกัน covid 19
ที่มา : Yong Poovorawan