ฝนตก น้ำท่วม ซ้ำด้วยการโดนแท็กซี่ไม่รับ ชีวิตคนกรุงเทพฯ ที่ยังพูดได้ว่าดีได้ไม่ถนัดนัก แต่ถึงแม้จะสู้ชีวิตขนาดไหนก็ตาม การเรียกร้องสิทธิผู้บริโภค ก็ช่วยให้ส่งเสียงความอัดอั้นระบายออกไปสู่หูผู้มีหน้าที่ดูแลได้บ้าง
เวียนมาถึงหน้าฝนในกรุงเทพฯ นอกจากต้องเจอ น้ำท่วม ไม่ใช่สิต้องเรียก น้ำรอระบาย ยังต้องสู้รบกับปัญหา แท็กซี่ไม่รับ ผู้โดยสาร
เมื่อมีฝนตกในกรุงเทพฯ อีกปัญหาหนึ่งที่คนเมืองต้องเจอ คือการลุ้นว่า เรียกแท็กซี่แล้วจะจอดรับคันที่เท่าไหร่ โดยเฉพาะช่วงเลิกงานหรือบริเวณในโซนจราจรคับคั่ง ถ้าใครไม่ได้เช็กสภาพอากาศ ลืมติดร่มพกใส่กระเป๋ามาด้วยแล้วก็คือพังพินาศ ยืนเปียกโชก ชะเง้อรอรอรถเมล์ ก็ไม่มีวี่แวว รถยนต์ส่วนตัวขับผ่านก็ไม่เคยชะลอเห็นใจคนยืนริมถนน ตัดใจขึ้นแท็กซี่ก็ยังโดนเทแล้วเทอีก ไม่รู้ว่าพี่คนขับอยากไปไหน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“คนพิการ” ผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังในศึกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.
คนขับแท็กซี่ช็อกตาย! เหตุเพราะสุวรรณภูมิห้ามรถฉุกเฉิน 1669 เข้า
ตำรวจนครบาลชี้แจง ไม่มีการตั้งด่านตรวจคาร์ซีท รอผลบังคับใช้ 5 ก.ย.นี้
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่แปะป้ายสโลแกนเตือนใจไว้ว่า ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง เปลี่ยนเสียงบ่นให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้ข้อมูลไว้ว่า แท็กซี่ที่เปิดไฟต้องรับผู้โดยสาร (มีจุดหมายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
ตามพ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารโดยไม่มีเหตุอันควร ถือเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และเป็นข้อหาที่ต้องถูกบันทึกคะแนน 20 คะแนน อีกทั้งยังถูกยึดใบอนุญาตขั้บขี่อีกด้วย สำหรับผู้โดยสารที่ถูกปฏิเสธควรรักษาสิทธิ์ของตน จดจำทะเบียน สีรถ และชื่อผู้ขับรถซึ่งติดอยู่ในใบอนุญาตหน้ารถ
แจ้งศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ สายด่วน 1584
หรือกองบังคับการตำรวจจราจร สายด่วน 1197 ให้ดำเนินการ
ส่วนในเว็บไซต์สามารถเข้าไปยื่นร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทได้ ที่นี่ ทั้งนี้ยังสามารถติดตามผลได้โดยการใส่เลขบัตรประชาชนและวันที่แจ้งเรื่องร้องเรียนก็ตรวจสอบกระบวนขั้นตอนการทำงานได้ง่ายๆ
จากข้อมูลกรมการขนส่งทางบกปี 2561 พบว่า สถิติร้องเรียนรถแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร ถึง 50,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10,000 ครั้ง ทั้งนี้ได้มีการติดตามดำเนินการลงโทษได้คิดเป็นร้อยละ 80 จากข้อร้องเรียนทั้งหมด
นอกจากปัญหา แท็กซี่ไม่รับ ผู้โดยสารโบกจนมือหงิก ยังพบปัญหาอื่นๆ ด้วย เช่น
ส่วน QR code นี้เป็นของ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สแกนเก็บไว้ รักษาสิทธิของเราเอง เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่เป็นธรรมไม่ว่าจะเรื่องแท็กซี่หรือเรื่องที่กระทบกับผู้บริโภคสามารถเมื่อไหร่แจ้งทันที บ่นด้วย ร้องเรียนด้วย ปัญหานี้จะได้ไม่ถูกเก็บไว้กับตัวแต่ยื่นให้กับหน่วยงานรับผิดชอบเร่งแก้ไขให้จริงจังเสียที
ไหนๆ ก็ใกล้จะเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ทั้งนี้จะได้รับเรื่องร้องเรียน พร้อมสังคายนาปัญหาพร้อมกัน ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ของเมืองหลวงมีงานรอให้ทำและประสานงานกับหน่วยงานอีกเพียบ