ปภ.แจ้งจังหวัดภาคเหนือ - ตะวันออกเฉียงเหนือ – กลาง – ตะวันออก - กทม. ฝนตกหนักและพร้อมรับมือฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ช่วงวันที่ 15 – 17 พ.ค. 65 เตือน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง
วันนี้ (14 พ.ค. 65) เวลา 21.00 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง
ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 2 (104/2565) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 เวลา 17.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2565 มรสุตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
ขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
โดยปริมาณฝนตกสะสมอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2565 ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปภ. เตือน 8 จังหวัดริมโขง ระดับน้ำเพิ่มสูง 1.20-1.50 เมตร ช่วง 11-19 พ.ค. 65
ทั่วไทย มีฝนเพิ่ม เตือนภาคใต้ รับมือพายุไซโคลนอัสนี อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้้าท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
ภาคเหนือ ได้แก่
1.แม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง)
2.เชียงใหม่ (ทุกอำเภอ)
3.เชียงราย (ทุกอำเภอ)
4.ลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน แม่ทา บ้านโฮ่ง ทุ่งหัวช้าง ลี้ บ้านธิ)
5.ลำปาง (อำเภอเมืองลำปาง เถิน เสริมงาม สบปราบ วังเหนือ เมืองปาน แจ้ห่ม งาว แม่เมาะ ห้างฉัตร แม่ทะ แม่พริก)
6.น่าน (อำเภอเมืองน่าน นาน้อย นาหมื่น เชียงกลาง ปัว เวียงสา ทุ่งช้าง ท่าวังผา บ้านหลวง แม่จริม สันติสุข ภูเพียง)
7.แพร่(ทุกอำเภอ)
8.อุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ฟากท่า ท่าปลา ลับแล บ้านโคก น้ำปาด ทองแสนขัน พิชัย)
9.สุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย ทุ่งเสลี่ยม บ้านด่านลานหอย ศรีสัชนาลัย คีรีมาศ)
10.พิษณุโลก (อำเภอวังทอง เนินมะปราง นครไทย ชาติตระการ วัดโบสถ์)
11.เพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ วังโป่ง ชนแดน หนองไผ่ หล่มสัก หล่มเก่า เขาค้อ)
12.กำแพงเพชร (อำเภอเมือง คลองลาน ปางศิลาทอง ขาณุวรลักษบุรี โกสัมพีนคร พรานกระต่าย)
13.ตาก (อำเภอเมืองตาก แม่ระมาด บ้านตาก แม่สอดสามเงา วังเจ้า พบพระ)
14.นครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์ แม่เปิน)
15.อุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่ ห้วยคต ลานสัก ทัพทัน สว่างอารมณ์)
16.พะเยา (อำเภอเมืองพะยา เชียงคา ปง จุน ภูซาง)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
1.เลย (อำเภอเมืองเลย ด่านซ้าย วังสะพุง ภูเรือ ภูหลวง ปากชม เชียงคาน หนองหินภูกระดึง ท่าลี่)
2.หนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา) อุดรธานี (อำเภอนายูง น้ำโสม)
3.หนองคาย (อำเภอสังคม)
4.ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน มัญจาคีรี ชุมแพ สีชมพู)
5.ชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ เทพสถิต หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์ คอนสาร บ้านเขว้า หนองบัวระเหว ภักดีชุมพล ซับใหญ่)
6.นครราชสีมา (อำเภอวังน้ำเขียว สีคิ้ว ปักธงชัย ครบุรี เสิงสาง ด่านขุนทด) ศรีสะเกษ (อำเภอภูสิงห์ ขุนหาญ)
7.อุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก นาจะหลวย น้ำขุ่น น้ำยืน)
ภาคกลาง ได้แก่
1.สุพรรณบุรี (อำเภอด่านช้าง)
2.ลพบุรี (อำเภอชัยบาดาล สระโบสถ์ ลำสนธิ)
3.สระบุรี (อำเภอเมืองสระบุรี แก่งคอย มวกเหล็ก พระพุทธบาท)
4.กาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี ไทรโยค ศรีสวัสดิ์ หนองปรือ ทองผาภูมิ บ่อพลอย เลาขวัญ)
5.ราชบุรี (อำเภอสวนผึ้ง ปากท่อ บ้านคา)
6.นครนายก (อำเภอเมืองนครนายก บ้านนา ปากพลี)
ภาคตะวันออก ได้แก่
1.ปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี)
2.สระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้ววังสมบูรณ์ วังน้ำเย็น ตาพระยา)
3.ฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ สนามชัยเขต)
4.ชลบุรี (อำเภอบ้านบึง ศรีราชา)
5.ระยอง(อำเภอเมืองระยอง เขาชะเมา แกลง บ้านค่าย)
6.จันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี เขาคิชฌกูฏ สอยดาว โป่งน้ำร้อน มะขาม ขลุง)
7.ตราด (อำเภอบ่อไร่ เขาสมิง)
พื้นที่เฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง และน้ำท่วมขัง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2565
โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
รวมถึงนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุ และช่วยเหลือประชาชนทันที
ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด
สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง
และลูกเห็บตก หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถถนนและเดินทางผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย”รวมถึง สายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป