กสทช.ออกกฎระเบียบใหม่! หากบุคคลในครอบครัวของพนักงาน กสทช.ติดโควิด-19 เข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนไม่ต้องนำใบรับรองแพทย์มาเบิกจ่าย
พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำหน้าที่ประธาน กสทช. ได้ลงนามและออกประกาศระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้าง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2565 และมีผลบังคับใช้แล้ว
โดยเนื้อหาระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ.2557 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• กสทช. เตือนมิจฉาชีพอ้างเจ้าหน้าที่แจ้งตัดสัญญาณ ระวังอย่าให้ข้อมูล
• กสทช. สั่งทุกค่ายมือถือ บล็อก SMS หลอกเอาเงิน -พนันออนไลน์ เริ่มแล้ววันนี้
• มิจฉาชีพ โผล่ อ้างเป็นหน่วยงานรัฐให้เงินเยียวยา กสทช.แนะดำเนินคดี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (19) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) พ.ศ.2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
• ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าด้วยการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้าง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2565”
• ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
• ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในข้อ 17 ของระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าด้วยการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ.2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559
• ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค COVID - 19 ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยวิธีการตรวจแบบ RT - PCR ที่เข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ไม่ต้องนำใบรับรองแพทย์มาประกอบการเบิกจ่าย