สำนักการแพทย์ ย้ำข้อปฏิบัติในการกักตัว ผู้ที่จะเข้าข่าย Home Isolation หรือกักตัวที่บ้าน รวมถึงอุปกรณ์ที่ควรมีเมื่อกักตัว
นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผอ.สำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่า สำนักการแพทย์ ได้กำชับและย้ำแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าระบบการรักษาแบบแยกกักตัวรักษาที่บ้าน (Home Isolation ) ต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย หรือตรวจพบเชื้อ
ผู้ที่เข้าข่าย ทำ Home Isolation ได้
1.ผู้ที่ติดเชื้อที่ไม่ได้อาการหนักและไม่มีอาการ
2.ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอด โรคหลอดเลือดในสมอง
3. อายุต่ำกว่า 60 ปี
4.มีร่างกายแข็งแรง
5.สถานที่มีความพร้อมสำหรับกักตัว เช่น มีห้องส่วนตัว หรือห้องน้ำส่วนตัว
6.ยินยอมที่จะกักตัวที่บ้าน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อติดโควิด-19 ระหว่างรอเข้าระบบการรักษา
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ลงมติ ลดวันกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงโควิด เหลือ 5 วัน
ข้อปฏิบัติในการกักตัว
1.งดให้ผู้อื่นเยี่ยมบ้าน และ งดการออกจากบ้าน ในระหว่างกักตัว
2.ล้างมือบ่อยๆ
3.อยู่ห้องส่วนตัวอยู่ตลอด
4. ถ้าต้องเข้าใกล้คนในบ้านให้ใส่หน้ากากอนามัยตลอด และเว้นระยะห่าง 2 เมตร
5.คุณแม่ที่ให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติแต่ต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่สัมผัสและให้นมบุตร
6.ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ จากคนที่กักตัวและเป็นโควิด
7.ผู้ป่วยควรซักเสื้อผ้า แยกกับผู้อื่น
8.ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
9.ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวที่อาจปนเปื้อน ด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว 5%
10.รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
11.ควรทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว
อุปกรณ์ที่ควรมีเมื่อ ทำ Home Isolation
1.ที่วัดไข้
2.ที่วัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว ออกซิเจนไม่ควรต่ำกว่า 94% เพราะถ้าต่ำกว่านั้นมีเกณฑ์ที่โควิดจะลงปอด และต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
ผู้ป่วยจะต้องสังเกตอาการตัวเอง หากมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง และหายใจลำบาก ซึมลง รวมถึงเด็กเล็กที่เริ่ม กินหรือดื่มได้น้อยลง ต้องแจ้งแพทย์และนำตัวส่งโรงพยาบาล หรือติดต่อสายด่วน 1646