svasdssvasds

สรุป 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2565 เสียชีวิต 278 ราย บาดเจ็บ 1,869 คน

สรุป 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2565 เสียชีวิต 278 ราย บาดเจ็บ 1,869 คน

ศปถ.สรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนน 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2565 ประสานจังหวัดถอดบทเรียนเดินหน้าสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างเข้มข้น

วันนี้ (18 เม.ย. 65) เวลา 10.30 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2565

สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 17 เมษายน 2565

• เกิดอุบัติเหตุ 188 ครั้ง

• ผู้บาดเจ็บ 171 คน

• ผู้เสียชีวิต 31 ราย

 สถิติอุบัติเหตุสะสม 7 วันอันตราย (11 - 17 เมษายน 2565) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

• เกิดอุบัติเหตุรวม 1,917 ครั้ง

• ผู้บาดเจ็บ 1,869 คน

• ผู้เสียชีวิต 278 ราย

 ประสานจังหวัดวิเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนในเชิงลึก รวมถึงค้นหาปัญหาอุปสรรค และปัจจัยความสำเร็จ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในมิติเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับทุกปัจจัยเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ของประเทศในการลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 12 คน ต่อประชากรแสนคนภายในปี พ.ศ. 2570

สรุป 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2565 เสียชีวิต 278 ราย บาดเจ็บ 1,869 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• 'ปลัดสปน.' เข้มโควิด-19 ให้จนท.WFH 18 -30 เม.ย. หวั่นสงกรานต์แพร่เชื้อ

• สธ.แนะประชาชนกลับจากสงกรานต์สังเกตอาการ 7 วัน มีอาการให้ตรวจ ATK ทันที

 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง ในฐานะประธานการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนนตลอดทั้งปี (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมประจำวันที่ 17 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่เจ็ดของการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 188 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 171 คน ผู้เสียชีวิต 31 ราย

 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

• ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 40.69

• ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 21.81

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

• รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.11

• รถปิกอัพ 7.37

สรุป 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2565 เสียชีวิต 278 ราย บาดเจ็บ 1,869 คน

 ส่วนใหญ่เกิดบนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 47.34 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 27.66 บริเวณจุดเกิดเหตุเป็นทางตรง ร้อยละ 85.64

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

• ช่วงเวลา 17.01 -18.00 น. ร้อยละ 11.17

• ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่ในช่วงอายุ 20 - 29 ปี และช่วงอายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 17.33

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

• พระนครศรีอยุธยา

• เชียงราย และเพชรบุรี (จังหวัดละ 8 ครั้ง)

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด

• เพชรบุรี (9 คน)

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด

• กรุงเทพมหานคร

• กำแพงเพชร

• พระนครศรีอยุทธยา

• ราชบุรี

• ร้อยเอ็ด

• ลำปาง

• สงขลา และสุพรรณบุรี (จังหวัดละ 2 ราย)

 เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,895 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 56,134 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 372,032 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 59,049 รายมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 16,503 ราย ไม่มีใบขับขี่  15,366 ราย

 

 สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน (วันที่ 11 – 17 เมษายน 2565) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,917 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 1,869 คน ผู้เสียชีวิต 278 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (66 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (63 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (13 ราย) จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตรวม 6 จังหวัด ได้แก่ นครพนม ปัตตานี ยะลา ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี ท้ายนี้ ศปถ. ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วน เครือข่ายอาสาสมัคร กลุ่มจิตอาสาและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเดินทางด้วยความทุ่มเทและเสียสละ

 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวว่า เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 พบว่า  จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและจำนวนผู้บาดเจ็บลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยสถิติผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุมีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการขับรถด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต ซึ่งในช่วงสงกรานต์ปีนี้

 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลค่าเฉลี่ยสถิติอุบัติเหตุทางถนนย้อนหลัง 3 ปี สำหรับสาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนนยังคงเกิดจากการขับรถเร็วและดื่มแล้วขับ รวมถึงจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด

 ซึ่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้ประสานจังหวัดบูรณาการสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยกำชับจังหวัดตรวจสอบข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2565 เพื่อนำมาวิเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนในเชิงลึก รวมถึงค้นหาปัญหาอุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จ มุ่งเน้นการสร้างความปลอดภัยทางถนนในมิติเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา สถานการณ์ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งคน รถ ถนน และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานและติดตามประเมินผลการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ของประเทศ

 สำหรับการดำเนินงานลดอุบัติทางถนนในภาพรวม ศปถ.จะได้รวบรวมข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนไปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลกำหนดเป็นกรอบแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ การสร้างความปลอดภัยทางถนนของประเทศอย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับประเทศในการลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 12 คน ต่อประชากรแสนคนภายในปี พ.ศ. 2570 ท้ายนี้ ขอเชิญชวนประชาชนคนไทยทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการลดอัตราจำนวนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายเพื่อร่วมสร้างการสัญจรอย่างปลอดภัยของประเทศให้ยั่งยืน

related