ปัจจุบันนี้การรับรู้ข่าวสารง่ายและสะดวกขึ้นเมื่อมีการเข้ามาของโลกออนไลน์ ซึ่งพบว่ามีจำนวนข่าวปลอมเพิ่มขึ้น และเนื่องในวันที่ 2 เมษายน 2465 วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 40 กว่าองค์กร ร่วมมือจัดงาน "FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย"
สสส. ปลื้ม นวัตกรรม "โคแฟค" ขยายผลสู่ระดับภูมิภาค ปั้น พลเมืองเท่าทันสื่อร่วมใช้งานกว่า 480,000 ครั้ง เล็งตึง กลุ่มผู้ผลิตสื่อ ร่วมรับผิดชอบสังคม-เป็นธรรม-ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะ
กิจกรรม "FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย" จัดขึ้นที่โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ โคแฟค ประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามันเพื่อเสรีภาพ (FNF) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) และภาคีเครือข่ายตรวจสอบข่าวลวงกว่า 40 องค์กร
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า ในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันตรวจสอบข่าวลวงโลก (International Fact-Checking Day) สสส. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งในปี 2563 สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมกลไกโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ cofact.org และไลน์ @cofact โดยมีฐานข้อมูลด้านสุขภาพกว่า 5,400 ข่าว พร้อมขยายผลกลไกการเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อบนฐานวัฒนธรรมการใช้สื่อของพลเมืองดิจิทัลไปสู่ชุมชน และสถานศึกษา เกิดเป็นชุมชนโคแฟคที่ประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลวง (Fact Checker) และให้ความสนใจใช้ข้อมูลการตรวจสอบข่าว ในช่องทางต่างๆ กว่า 480,000 ครั้ง ซึ่งมีเครือข่ายร่วมกันสอดส่อง เฝ้าระวัง และสกัดกั้นข่าวลวง ที่สะท้อนความสำเร็จในการขับเคลื่อนการต่อต้าน ป้องกัน และรับมือกับปัญหาข่าวลวงในระดับประเทศ
“การจัดงาน FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย ครั้งนี้ สสส. ได้รับความร่วมมือจากองค์กรสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมขับเคลื่อนกลไกป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง เพื่อพัฒนาความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน ที่มีความสำคัญต่อการผลิตข้อมูลที่ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่สังคมสุขภาวะ ถือเป็นการยกระดับการตรวจสอบข่าวตามมาตรฐานของ International Fact- Checking Network หรือ IFCN ที่ยังไม่มีองค์กรในไทยเป็นสมาชิก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสานพลังทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและรับมือกับปัญหาข่าวลวงในยุคดิจิทัลในระดับสากล” ดร.จิรพร กล่าว
นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) กล่าวว่า ข่าวลวง คือ ข้อมูลบิดเบือน หรือข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์ เป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบทั่วโลก สื่อสารมวลชน หรือกลุ่มผู้ผลิตสื่อโดยตรง พยายามทำหน้าที่สร้างการรับรู้ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ผ่านการตรวจสอบข้อมูล และรับผิดชอบในการสื่อสารต่อสังคม สิ่งสำคัญคือ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งขยายเครือข่ายเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึง และการสื่อสารให้กับประชาชนมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับปัญหาข่าวปลอม เป็นเสมือนวัคซีนคุ้มกันไม่ให้ข่าวปลอมระบาดในวงกว้างจนทำให้สถานการณ์วิกฤตในประเทศแย่ลง
นางสาวสุฏิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโลแฟล ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์วันตรวจสอบข่าวลวงโลก ประจำปี 2565 (Fact Collab Week to Celebrate International Fact Checking Day 2022) ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 2 เมษายน 2565 โคแฟค ประเทศไทย ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย ได้จัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์
อาทิ 1. กิจกรรมเสวนาผลการสำรวจแบบสอบถามปัญหา SMS Call center หลอกลวง 2. กิจกรรมเสวนารับมือปัญหามิงฉาชีพยุค 5G ถึงเวลาวาระแห่งชาติ 3. กิจกรรมเสวนาสิทธิติจิหัลใน ประเทศไทยคืออะไรทำไมจึงสำคัญ? และควรเริ่มตันที่ตรงไหน?
4. กิจกรรมเสวนาบทบาทของอัลกอริทีม กับการเข้าถึงข้อเห็จจริงของประชาชน 5. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การตรวจสอบข้อมูล ทั้งนี้ โคแฟค ประเทศไทย จะมีการจัดกิจกรรมทั้งในเชิงวิชาการการขับเคลื่อนประเด็น และการสัมมนาร่วมกันตลอดทั้งปี เพื่อเป็นแนวทางการ ขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายต่อไป
นายเฟรดเดอริค ชปอร์ หัวหน้าสำนักงานประเทศไทย มูลนิธิฟรีตริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ กล่าวว่า พรีตริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ได้ร่วมเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนข่าวจริงกับโคแฟค ประเทศไทย มีบทบาทในการจัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะต่างๆ
รวมถึงสนับสนุนทุนพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในการร่วมตรวจสอบข้อมูล ส่งผลให้กลไกโคแฟคมีความเข้มแข็ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างพลเมืองเท่าทันสื่อของประเทศไทย
นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มงานข่าว ไทยฟีบีเอส กล่าวว่า ไทยพีบีเอส มุ่งผลิตรายการ ทางด้านช่าวสารที่มีประโยชนในมิติต่าง ๆ ทั้งค้นการศึกษา และสาระบันเทิง โคยปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
ไทยพีบีเอส ร่วมกับโคแฟคตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนข่าวจริง โดยร่วมสร้างมาตรฐานการสื่อสารเพื่อประโยชน์ของสังคมและร่วมสานพลังยกระดับ งานตรวจสอบข่าวให้ได้มาตรฐาน International Fact Checking Network (IFCN)
ทั้งนี้ ภายในงานมีการเสวนา "บทบาทสื่อไทยในการสกัดข่าวปลอม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต" นำโดยนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยพีบีเอส นายนพปฏล รัตนพันธ์ รองเลขาธิการสภาการ สื่อมวลชนแห่งชาติ นายพีรพล อนุตรโสตธิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย
"กระบวนการการทำข่าวที่สื่อทำมาตลอดในอดีต ยังจำเป็นต้องทำอยู่ และเข้มข้นมากขึ้น ต้องปรับตัวให้เข้ากับช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ที่จะนำไปถึงผู้รับสาร"
- ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว ไทยพีบีเอส -
มณธิรา รุ่งจิรจิตรานนท์ ผู้สื่อข่าว ตรวจสอบข้อเท็จจริง AFP ให้คำนิยาม Fake News 2 แบบ
1. Misinformation นำเสนอข่าวสารผิดพลาด คลาดเคลื่อน อาจไม่มีเจตนาร้าย
2. Disinformation นำมาดิสเครดิตฝั่งตรงข้ามมากขึ้น ในรูปแบบ Hate Speech มีเจตนาทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
"สมัยก่อน Fake News แทบไม่ค่อยมีและเป็นไปได้ยากผ่านสื่อหลัก แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้การส่งต่อข่าวสารสามารถส่งได้อย่างรวดเร็ว และอาจจะขาดการตรวจสอบหรือผิดพลาดได้"
- นพปฎล รัตนพันธ์ รองเลขาธิการ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ -
"หนึ่งในวิธีการที่ทำให้คนไม่ถูกหลอก คือการทำให้คนรู้จักสังเกต และตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ทำให้คนรู้เท่าทัน ให้ป้องกันตัวเองได้ในบางเรื่อง"
- พีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ MCOT -
ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์โคแฟค ww.cofact.org https://blog.cofact.org และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/CofactThailand