svasdssvasds

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ

พาไป ดู วัฒนธรรม ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ที่มี สร้างสรรค์ เป็นระเบียบ เป็นมิตรกับผู้คน รวมถึงกับมิตรกับผู้คนที่ใช้รถใช้ถนนด้วย และพาไปดูว่า กติกา ป้ายหาเสียง ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งกำลังจะมีขึ้น 22 พฤษภาคม 2565 ห้ามอยู่ในบริเวณใดบ้าง

ใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยที่จะมีกำหนดการ เลือกตั้ง อีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งนับเป็นการกลับมาคืนสิทธิ์ที่คนกรุงเทพ "ควรมี" และ "ต้องมี" ในการลงฉันทามติ เลือกผู้ว่าฯ กทม. อีกครั้ง หลังจาก เมื่อปี พ.ศ. 2559  พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ได้รับการ "แต่งตั้ง" จากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) 

โดย บรรยากาศ การเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ที่ใกล้เข้ามานี้ นำมาซึ่ง ภาพที่คุ้นเคยและชินตา นั่นคือ "ป้ายหาเสียง" ที่กำลังจะเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่นโยบายของแต่ละผู้สมัคร ซึ่งหากลองเปรียบเทียบ ภาพที่ออกมานั้น ถือว่า ป้ายหาเสียงของไทย อาจจะ ยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง และ ดูจะไม่ค่อยเป็นมิตร กับคนเดินถนน ซึ่งแตกต่างกับในต่างประเทศ  โดยในต่างประเทศนั้น มีการผ่านการคิดวิเคราะห์มาแล้ว ว่าป้ายหาเสียงจะต้องไม่เป็นอันตรายกับ ผู้คนในเมือง ไม่ใช่ว่า สักแต่จะติดที่ไหนก็ได้ ตามใจฉัน

โดย ตัวอย่าง ป้ายหาเสียง ในต่างประเทศ ในความครีเอต สร้างสรรค์นั้น มีหลากหลายแง่มุม อาทิ ป้ายหาเสียงร่วม (Election Poster Board), ป้ายหาเสียงรีไซเคิล หรือ ป้ายหาเสียงสนามหญ้า (yard signs, Lawn signs) เป็นต้น 
 

ป้ายหาเสียงในไทย ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SPRiNG จะพาไปสำรวจกรุงเทพฯ กันก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่
"อัศวิน" ทัวร์ลง ติดป้ายเยอะบดบังวิสัยทัศน์ เจ้าตัวขออภัย เร่งแก้ไขแล้ว


•  ป้ายหาเสียงร่วม (Election Poster Board)

โดย ป้ายหาเสียง ที่ ประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ป้ายหาเสียงในลักษณะบอร์ดติดโปสเตอร์ผู้สมัครที่ติดร่วมกับผู้สมัครของพรรคอื่นๆ  ซึ่งนอกจากจะเป็นระเบียบ และไม่กีดขวางทางเท้าที่ผู้คนเดินผ่านไปผ่านมา แล้ว ยังทำให้ประชาชนสามารถดูรายชื่อ หน้าตา และนโยบายของผู้สมัครแต่ละคนได้จากที่เดียวกัน ซึ่งวัฒนธรรมป้ายหาเสียงแบบนี้ ก็ไม่ใช่มีแค่ญี่ปุ่นประเทศเดียว เพราะในยุโรปก็เป็น

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ

 รวมถึง ป้ายหาเสียง ที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเพจ ขาเกือบพลิก ที่นำเสนอภาพการหาเสียงเลือกตั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้นำเสนอ ภาพความต่างระหว่าง การหาเสียงของต่างประเทศกับไทย 

• ป้ายหาเสียงรีไซเคิล

ในต่างประเทศนั้น บางประเทศมีความเจริญและใช้นวัตกรรม จนสามารถพัฒนาทำให้ ป้ายหาเสียง เป็นขยะที่ต้องสามารถรีไซเคิลได้ อาทิ ที่ แคนาดา ส่วนใหญ่ จะออกกฎว่าป้ายหาเสียงพรรคการเมืองต้องใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เช่น เฟรมของป้ายทำจากโลหะที่รีไซเคิลได้ พลาสติกประเภท 5 (ประเภทโพลิโพรพิลีน) พลาสติกลูกฟูก (coroplast) กระดาษแข็ง หรือไม้ เป็นต้น

• ป้ายหาเสียงสนามหญ้า (yard signs, Lawn signs)

ป้ายหาเสียง ชนิดแบบปักบนสนามหญ้า ถือเป็นคัลเจอร์หนึ่งของการหาเสียงฝั่งสหรัฐฯ นับเป็นวัฒนธรรมการหาเสียงเลือกตั้งในแถบสหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงบางประเทศในยุโรปด้วย  ป้ายลักษณะนี้นิยมปักอยู่ตามริมถนนสายต่างๆ โดยมีข้อกำหนดหลักคือต้องหาจากขอบถนนราว 5 ฟุต เพื่อไม่ให้กีดขวางการทางเดินของผู้คน ซึ่งในต่างประเทศนั้น เคารพสิทธิ์ของคนเดินถนนเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ การติดป้ายหาเสียงในต่างประเทศ มักจะมีข้อห้าม ต่างๆ ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป อาทิ ห้ามติดตามสี่แยก จุดมุมอับสายตาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรบกวนต่อโครงสร้างพื้นฐานในสาธารณะนั้น
ป้ายหาเสียงในสวีเดน ภาพ : jomm.se

• ป้ายหาเสียง ผู้ว่าฯ กทม. ห้ามอยู่ในบริเวณใดบ้าง ? 
.
ตัดกลับมาที่ประเทศไทย และมาโฟกัสที่ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใน วันที่ 22 พฤษภาคม 2565  สำหรับพื้นที่หรือบริเวณที่ ห้ามปิดป้ายหาเสียง ประกอบด้วย 

ผิวการจราจร
เกาะกลางถนน
สะพานลอยเดินข้าม
สะพานลอยรถข้าม รวมทั้งส่วนประกอบของสะพาน รั้วและแผงเหล็กริมถนน ป้ายจราจรและสัญญาณไฟจราจร
ป้ายประกาศของทางราชการ
รั้วหรือกำแพงหรือผนังอาคารของทางราชการ
ต้นไม้และเสาไฟฟ้าบริเวณเกาะกลางถนน ในส่วนของเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด
ศาลาที่พักผู้โดยสารและบริเวณโดยรอบภายในระยะ 10 เมตร
ตู้โทรศัพท์
ตู้ไปรษณีย์
อนุสาวรีย์
ป้อมตำรวจ
สุขาสาธารณะ
สนามหลวง
สวนหย่อม
สวนสาธรณะ
วงเวียนทุกวงเวียน
ถนนโดยรอบพระบรมมหาราชวัง
ถนนโดยรอบพระราชวังสวนจิตรลดา
ลานพระบรมรูปทรงม้า
ถนนราชดำเนินนอก
ถนนราชดำเนินกลาง
ถนนราชดำเนินใน
กรณีกำหนดเป็นถนนให้หมายความรวมถึงซอยที่แยกจากถนนด้วย สำหรับการติดประกาศในซอยจะต้องมีระยะห่างจากปากซอยไม่น้อยกว่า 10 เมตร ป้ายหาเสียงในไทย


ป้ายหาเสียงในไทย
• สถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียง ให้ปิดประกาศในสถานที่ดังต่อไปนี้
.
บริเวณป้ายปิดประกาศของสำนักงานเขตปกครอง
บริเวณป้ายปิดประกาศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
บริเวณป้ายปิดประกาศของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
วิธีการปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครปิดประกาศตามที่หัวหน้าหน่วยงานกำหนด โดยปิดประกาศได้สถานที่ละ 1 แผ่น เท่านั้น
ให้ผู้สมัครที่ประสงค์จะปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง แจ้งขอปิดประกาศต่อหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายของสถานที่นั้น ๆ
.
• หากปิดป้ายเสียงผิดระเบียบ ต้องทำอย่างไร

ระเบียบปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ข้อสุดท้ายระบุไว้ว่า หากผู้สมัครทำผิดกฎตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 ข้อ 19 และตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานครฉบับนี้กำหนด

ให้หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งผู้สมัครให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด และหากไม่ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ผู้มีอำนาจข้างต้นมีอำนาจรื้อถอน ทำลาย ปลดออก ปกปิด หรือลบข้อความ ภาพ หรือรูปรอยดังกล่าว หรือสั่งให้หน่วยงานอื่นดำเนินการ



พาดู วัฒนธรรม ป้ายหาเสียงต่างประเทศ สร้างสรรค์  เป็นระเบียบ  เป็นมิตรกับผู้คน!

related