กล่องดำ กุญแจไขปริศนาเหตุการณ์เครื่องบินตกที่สำคัญ ที่ช่วยเปิดเผยความจริงและช่วงเวลาสุดท้ายที่เกิดขึ้นก่อนเกิดโศกนาฏกรรม เปิดหน้าประวัติศาสตร์ในอดีตของเหตุการณ์เครื่องบินตกผ่านเสียงบันทึกสุดท้ายของคนบนเครื่อง
จากเหตุการณ์ เครื่องบินตก ครั้งล่าสุด ในวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมาของเครื่องบินโบอิ้ง 737 (Boeing 737) เที่ยวบิน MU5735 ของสายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ส (China Eastern Airlines)โดยภายในมีลูกเรือและผู้โดยสารทั้งหมดบนเครื่อง 132 ชีวิต ทั้งนี้ยังไม่มีการสรุปตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต มีรายงานว่าพบ กล่องดำ แล้วเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่าน ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการไขความจริงที่เกิดขึ้นภายในเครื่องบินก่อนที่จะเกิดโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ ผ่านการบันทึกเสียงทั้งหมดขณะทำการบิน
By NTSB - <a rel="nofollow" class="external free" href="http://www.ntsb.gov/aviation/CVR_FDR.htm">http://www.ntsb.gov/aviation/CVR_FDR.htm</a>, Public Domain, Link
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Earth’s Black Box เทคโนโลยีบันทึกงานวิจัยและข่าวสารด้านสภาพอากาศทั่วโลก
รำลึก ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ 93 : ความกล้าหาญ ที่ทำให้วินาศกรรม 9/11 สูญเสียน้อยลง
เราจึงอยากรวบรวมบันทึกเหตุการณ์เครื่องบินตก ผ่านเสียงบันทึกเรื่องราวจาก กล่องดำ ที่เคยเกิดขึ้น 3 เหตุการณ์ ที่แตกต่างกันทั้งเวลา สถานที่และความรู้สึกให้ได้รับรู้กัน ก่อนผลการสอบสวนของเครื่องบิน โบอิ้ง 737 (Boeing 737) เที่ยวบิน MU5735 จะแถลงออกมาในไม่ช้า
โดย 3 เหตุการณ์ที่คัดมามี ดังนี้
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1985 เครื่องบิน Boeing 747-146SR เที่ยวบินที่ JAL123 เป็นเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกว่ามีผู้เสียชีวิตมากที่สุดภายในเครื่องบินลำเดียวจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกถึง 520 ราย เกิดจากปัญหาแรงดันในตัวเครื่องลดลงอย่างฉับพลัน และตกใน 32 นาทีต่อมา ซึ่งห่างจากโตเกียว 100 กิโลเมตร
#OTD in 1985, Japan Airlines Flight 123 (JA8119) Boeing 747SR-46 crashed into Mt Takamagahara, Japan after the rear pressure bulkhead failed due to a faulty repair to a tailstrike incident 7 yrs earlier. Killing 520 of 524. It is the deadliest single-aircraft accident in history pic.twitter.com/7gRWZIMqcC
— Air Disasters (@AirCrashMayday) August 12, 2019
จากการสืบสวนพบว่าเป็นผลมาจากความบกพร่องในการซ่อมแซมส่วนหางของเครื่องบินเมื่อ 7 ปีก่อน ทำให้หางเครื่องบินหลุดออกไปขณะทำการบิน และระบบการบินทั้งหมดล้มเหลว นักบินจึงบินตามยถากรรมจนพุ่งเข้าชนภูเขาในที่สุด
เสียงจาก กล่องดำ ที่เผยแพร่ออกมาหลังจากเหตุการณ์ได้บันทึกช่วงเวลาสุดท้ายตั้งแต่เสียงระเบิดและกัปตันกับผู้ช่วยพยายามประคองสถานการณ์ให้ดีที่สุด ควบคุมอารมณ์และรายงานเหตุการณ์กับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นจนถึงวินาทีที่เอ่ย คำกล่าวสุดท้าย “it’s... THE END” มันจบแล้ว
คลิปเสียงช่วงเวลาสุดท้ายตั้งแต่หางเครื่องบินหลุดจนพุ่งจนภูเขา
ซึ่งช่วงเวลาระหว่างนั้น ผู้โดยสารบนเครื่องได้เขียนจดหมายถึงครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักเป็นครั้งสุดท้าย จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้รอดชีวิต 4 คนปัจจุบันเศษชิ้นส่วนของเครื่องบินลำดังกล่าวยังถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ของทางสายการบิน Japan Airlines ที่โตเกียว
เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 สายการบิน ยูเอสแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 1549 โดยกัปตัน เชสลีย์ บี. "ซัลลี" ซัลเลนเบอร์เกอร์ (Chesley B. "Sully" Sullenberger) และผู้ช่วยนักบิน ขับเครื่องลงจอดที่แม่น้ำฮัตสันแบบฉุกเฉินหลังชนฝูงนกจนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดรวม 155 คนบนเครื่องรอดชีวิต
หลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น กัปตันซัลเลนเบอร์เกอร์ ได้ถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษและได้มีการนำเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ 'Sully' ที่นำแสดงโดยดาราแถวหน้าของฮอลลีวู้ด Tom Hank รับบทฮีโร่ในภาพยนตร์ แต่ในความเป็นจริงไม่ง่ายกว่าที่กัปตัน ซัลลี จะได้รับการเชิดชู ยกย่อง ต้องผ่านการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ผ่านข้อความเสียงจาก กล่องดำ ของเครื่องบินกันอยู่พักใหญ่
ทั้งกัปตันและผู้ช่วยกัปตันต้องเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ (NTSB) ถึงเหตุการณ์และการตัดสินใจในวันนั้น เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว พวกเขาทำการติดต่อกับหอบังคับการบินเพื่อแจ้งเหตุและหาทางแก้ไข โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้นำเครื่องลงจอดที่ สนามบินลากวาร์เดียหรือลงจอดที่สนามบินเตเตอร์โบโรที่อยู่ใกล้เคียงแต่กัปตันยืนยันว่าเขาจะนำเครื่องลงจอดที่แม่น้ำฮัตสันแทนเพราะบินด้วยความสูงที่ต่ำเกินไปจะลงจอดที่อื่นได้ เกรงเรื่องความปลอดภัยของตึกสูงโดยรอบ
ซึ่งตามปกติแล้วการลงจอดฉุกเฉินควรเริ่มต้นที่ 35,000 ฟุต ผู้สืบสวนเปิดเผยว่า จากเครื่องบันทึกข้อมูลการบินแสดงให้เห็นว่าเครื่องบินลำดังกล่าวอยู่ในระดับความสูงสูงสุด 3,200 ฟุต (975 เมตร) ก่อนที่พลังงานจะหมดลงโดยการเสียงบันทึกที่ได้จากกล่องดำแสดงให้เห็นความกัปตันได้ตัดสินใจอย่างรอบคอบและไตร่ตรองอย่างดีแล้วก่อนที่จะเลือกลงจอดบนแม่น้ำแทนคำแนะนำ
ผลหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มีการปรับปรุงด้านความปลอดภัยและด้านเทคนิกการบินที่เน้นให้เครื่องยนต์สามารถรับมือกับฝูงนกบินเข้าชนได้ดียิ่งขึ้น
คลิปเสียงบันทึกบทสนทนาระหว่างกัปตันและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นที่ช่วยพิสูจน์เหตุการณ์จริงให้กับสาธารณชน
เมื่อวัน 11 กันยายน 2001 ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนของโลกในขณะนั้น เหตุการณ์ที่กลายเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของโลก คงไม่พ้น เที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ United Airlines เที่ยวบินที่ 93 (UA 93) ถูกผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินมุ่งหน้าไปยัง ณ อาคารเพนตากอน กระทรวงกลาโหม แต่ไม่สำเร็จ เพราะความร่วมมือและกล้าหาญของคนบนเครื่อง ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากบันทึกของ กล่องดำ พบว่า มีการขัดขืนและช่วยกันยืดการก่อการร้ายไว้จนนาทีสุดท้ายก่อนเครื่องพุ่งชน จากบันทึกเสียงสรุปเป็น timeline ได้ดังนี้
ไม่ใช่ อาคารรัฐสภาอย่างที่แผนผู้ก่อการร้ายวางเอาไว้ แม้สุดท้ายจะไม่มีคนบนเครื่องรอดชีวิต แต่ก็เป็นการช่วยให้อีกหลายร้อยชีวิตรอดตายได้จากความกล้าหาญของคนบนเครื่องบินในวันนั้น
คลิปเสียงจาก กล่องดำ ที่เปิดเผยความกล้าหาญของคนบนเครื่องบินในเหตุการณ์ครั้งนั้น