svasdssvasds

ศาลฯ วินิจฉัย เปลี่ยนหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลฯ วินิจฉัย เปลี่ยนหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองกลาง วินิจฉัย รฟม.เปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ยกฟ้อง เพราะความเสียหายยังไม่เกิด

วันนี้ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดี กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี)

โดยคดีข้อพิพาทดังกล่าวสืบเนื่องจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ฟ้องว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ -  มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เรียกค่าเสียหาย 5 แสนบาท

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่อมา นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ได้เปิดเผย ศาลได้พิจารณาให้จำหน่ายคดีบางส่วนตามที่ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ยกเลิกการประมูลโครงการฯ โดยที่ผ่านมาการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำให้การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลในครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเกิดการใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย

“ส่วนผลกระทบด้านความเสียหายของบริษัทฯนั้น ศาลได้พิจารณาเห็นว่าบริษัทฯ จะต้องใช้งบประมาณในการประมูลอยู่แล้ว ทำให้การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลของ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย จึงเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งยกฟ้องในส่วนค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หลังจากนี้บริษัทฯ จะกลับไปหารือว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการภายใน 30 วัน" นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กล่าว

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

ในปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีบุรี (สุวินทวงศ์) ยังอยู่ในกระบวนการของศาลทั้งหมด 3 คดี ได้แก่

1.การพิจารณาคดีกรณีที่ศาลปกครองกลางยกคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย

2.คดี รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ยกเลิกการคัดเลือกประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

3.คดีการแก้ไขหลักเกณฑ์และยกเลิกการประมูลของ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36

ที่มา ศาลปกครอง วินิจฉัย ปมรฟม.ยกเลิกTOR-ล้มประมูลสายสีส้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครอง วินิจฉัย รฟม.แก้เกณฑ์ประมูล "สายสีส้ม" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

related