ภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทย สุดทน ส.ว.สมชาย แสวงการ เปิดชื่อ ส.ส.ติดโควิด ซัดเดือด “อย่านึกถามหามารยาททางการเมืองเลย มารยาททางสังคมยังไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำไป”
จากกรณีที่มีการอ้างว่า ส.ว. สมชาย แสวงการ ได้นำรายชื่อ ส.ส.ติดโควิด-19 ในโซเชียลมีเดีย ล่าสุด นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง โฆษกพรรคภูมิใจไทย โพสต์ข้อความถามถึง “มารยาททางสังคม !” จากการกระทำดังกล่าว โดยภราดร ปริศนานันทกุล ได้อ้างว่า “โดยปกติหากมีผู้ติดเชื้อ ทางสาธารณสุขก็จะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนโรค ตีวง ขีดวง ว่าใครบ้างเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน วงที่1 วงที่ 2 ก็ว่ากันไป
“และโดยมารยาททางสังคมจะไม่มีการเปิดเผยรายชื่อต่อสาธารณะ เพราะแน่นอนจะไปกระทบสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย และ เครือญาติ โรงพยาบาล แพทย์ ใครก็แล้วแต่ ไม่มีสิทธิเปิดเผยสภาวะทางสุขภาพของคนไข้ หรือ ผู้ป่วย นั่นคือสิทธิขั้นพื้นฐานของคน เว้นเสียแต่บุคคลนั้นๆจะเปิดเผยต่อสาธารณะด้วยตัวเขาเอง
“สัปดาห์ก่อน เพื่อนของตนหลายคนติดเชื้อในช่วงที่มีการประชุมสภา คาดว่ารับเชื้อจากบุคคลภายในสภากันเอง แน่นอนมีการแจ้งยอดผู้ติดเชื้อจำนวนเท่านั้น เท่านี้ เพื่อให้เกิดความระแวดระวังกัน ส่วนหน้าที่สืบสวนโรคและตีวง ควรเป็นของเจ้าหน้าที่ที่จะไปดำเนินการ ใครเสี่ยงสูงควรใครควรกักตัวกี่วัน มาตรการอย่างไรก็ว่ากันไป
ข่าวที่น่าสนใจ
เสรีพิศุทธ์ ได้กลิ่นรัฐประหารหรือไม่ ? กับไพ่ในมือของบิ๊กตู่ ที่เหลืออยู่
จับตาคดีเหมืองทองอัครา ส่อดีลรัฐยกทรัพย์สินชาติให้คู่กรณี แลกถอนฟ้อง
แพงทั้งแผ่นดิน ! ณัฐวุฒิ ชี้ อหิวาต์หมู คือใบเสร็จความล้มเหลวรัฐราชการ
“ตนยังไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดที่ท่านผู้อาวุโส อุตส่าห์นำชื่อผู้ป่วยเปิดเผยสู่สาธารณะโดยไม่ได้ขออนุญาติผู้ป่วย
แน่นอน ผู้แทนเป็นบุคคลสาธารณะ เราพบเจอผู้คนมากมาย และประชาชนมีสิทธิรู้ แต่ต้องรู้จากบุคคลที่มีหน้าที่เปิดเผย ท่านใดไม่มีหน้าที่ดังกล่าวควรหรือไม่ที่จะเอารายชื่อผู้ป่วยมาเปิดเผยแบบนี้ ?
“ตนเชื่อมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้แทน เมื่อเขารู้ว่าเขาเสี่ยง เขาไม่กล้าแบกหน้าไปเจอประชาชนของเขาหรอกครับ
ตนเชื่อว่าเขามีความรับผิดชอบพอ อย่าอ้างสิทธิความจำเป็นส่งเดช ตัวท่านเองยังไม่แม้กระทั่งเคารพสิทธิโดยชอบของผู้อื่น อย่านึกถามหามารยาททางการเมืองเลย มารยาททางสังคมยังไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำไป”
กฎหมายข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ได้ระบุว่า “ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล
ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือ กฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้”
และ มาตรา 49 ระบุว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”