องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือน ขยะจากอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากที่ใช้ในการต่อกรโควิด-19 เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เตือนว่า ขยะจำนวนมหาศาลจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว ชุดทดสอบที่ใช้แล้ว และขวดวัคซีนเก่า รวมกันเป็นขยะทางการแพทย์หลายหมื่นตัน
เอกสารกว่า 71 หน้าของ WHO ระบุว่า อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) จำนวน 87,000 ตัน ตั้งแต่มีนาคม 2020 ถึงพฤศจิกายน 2021 จบด้วยการเป็นขยะ
นอกจากนี้ มีการจัดส่งชุดตรวจโควิด-19 มากกว่า 140 ล้านชุด ซึ่งมีส่วนประกอบหลักมาจากพลาสติกหนักกว่า 2,600 ตัน รวมไปถึงขยะเคมีเพียงพอที่จะเติมสระว่ายน้ำโอลิมปิกได้ถึงหนึ่งในสาม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์วัคซีนราว 8 พันล้านโดสที่กระจายไปทั่วโลก ก่อให้เกิดขยะอีก 144,000 ตันในรูปของ ขวดแก้ว เข็มฉีดยา และกล่องบรรจุ
แม้ว่า WHO จะไม่แนะนำให้ใช้ถุงมือฉีดวัคซีน แต่รายงานดังกล่าวก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา โดยประมาณการณ์ในสหราชอาณาจักร ว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่ละคนทิ้งถุงมือโดยเฉลี่ย 50 คู่ต่อสัปดาห์เข้าสู่ระบบของเสียทั่วไป
ไมเคิล ไรอัน (Michael Ryan) ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินของ WHO กล่าวว่า "การให้ PPE ที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ"
การเผาขยะเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย รวมไปถึงความเสี่ยงในการถูกเชื้อโรคจากเข็มฉีดยา ตลอดจนชุมชนใกล้กับหลุมฝังกลบที่อาจจัดการไม่ดีกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคและเข้าสู่แหล่งน้ำชุมชนหรือปนเปื่อนไปกับสัตว์จำพวกหนู
WHO ไม่ได้รายงานชัดเจน ว่ามีแหล่งใดบ้างที่เป็นแหล่งสะสมของขยะทางการแพทย์ แต่อ้างถึงความท้าทาย เช่น การกำจัดและบำบัดของเสียที่มีความสามารถอย่างจำกัด เช่น ในชนบทของอินเดีย รวมถึงตะกอนอุจจาระจำนวนมากจากสถานกักกันในมาดากัสการ์
หน่วยงานด้านสุขภาพของ UN เรียกร้องให้มีการปฏิรูปและการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ การใช้ PPE อย่างมีเหตุผลมากขึ้น และการลงทุนในเทคโนโลยีการบำบัดของเสียที่ไม่ทำให้เกิดการเผาไหม้