svasdssvasds

“ขับออก” กับ “ลาออก” ต่างกันอย่างไร? หลังพปชร. ขับ ธรรมนัส-21 ส.ส. พ้นพรรค

“ขับออก” กับ “ลาออก” ต่างกันอย่างไร? หลังพปชร. ขับ ธรรมนัส-21 ส.ส. พ้นพรรค

หลังจากที่มติพรรคพลังประชารัฐมีมติ ขับ 21 ส.ส.นำโดย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า โดยให้เหตุผล ทำผิดร้ายแรง มาโดยตลอดและเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ขัดแย้งทางการเมือง เปิดข้อกฎหมาย ถูกพรรคขับออกยังเป็น ส.ส. ได้ แต่ถ้าลาออกเองสถานภาพสิ้นสุดทันที

 นายบุญสิงห์ วรรินทร์รักษ์ นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ที่ประชุมมีมติ ขับส.ส.จำนวน 21 คน ออกจากพรรค หลังจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ได้เรียกมาพูดคุยที่มูลนิธิป่ารอยต่อ โดยกรรมการเห็นว่า 

 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีเหตุแห่งความร้ายแรงของพรรคพลังประชารัฐ ที่เกิดจาก 21 คน การให้สมาชิกพรรคพ้นตำแหน่งมี 3 สาเหตุ คือ ตัวบุคคลมีวินัยร้ายแรง ผิดจรรยาบรรณร้ายแรง ทำให้พรรคบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ  และเพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่ดีที่สุด ส่วนจะเป็นพรรคพันธมิตรรัฐบาลหรือไม่ ยังคาดว่าจะ สนับสนุนรัฐบาล ทำให้เรื่องของเสียงในสภา ไม่น่าเป็นห่วง โดยใน 1-2 วันนี้พรรคใหม่ จะมีการแถลงข่าว เพื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 

 ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวว่า พล.อ.ประวิตร แจ้งต่อที่ประชุมว่า ยอมๆไปเถอะ ถ้าอยากออกก็ให้ออกไป จะได้สงบ พรรคจะได้เดินต่อ และเรื่องนี้ได้คุยกับ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งเงื่อนไขในการให้ ขับออก เพราะขอโควต้า รัฐมนตรีที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง แต่คาดว่าจะไม่ใช่รัฐมนตรีช่วยว่าการ แต่จะเป็นรัฐมนตรีว่าการ เพราะจะมีเสียง ส.ส.ในมือถึง 21 คน 

 สำหรับพรรคที่จะย้ายไปสังกัดคือพรรคเศรษฐกิจไทยที่จะมีรายงานข่าวว่าจะมีชื่อ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ.อยุธยาเป็นหัวหน้าพรรค  และนายอภิชัย เตชะอุบล เป็นเลขาธิการพรรค และจะมีชื่อ พล.ต.อ.วัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นที่ปรึกษาพรรค แต่ตามรายงานของ กกต.มีช่ือ นายประสงค์ วรารัตนกุล เป็นหัวหน้าพรรค และนายเมธาวี เนตรไสว เป็นเลขาธิการพรรค  โดยมีรายงานว่าในที่ประชุมพรรคพลังประชารัฐที่มูลนิธิป่ารอยต่อ นายอภิชัย เข้าร่วมประชุมด้วย แต่นายอภิชัย ยังเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• พลังประชารัฐ มีมติ ขับธรรมนัส และ ส.ส. รวม 21 คน

• ธรรมนัส โพสต์ข้อความ หลังถูกขับออกจากพรรค ติดแฮชแท็ก #ไปอยู่พรรคไหนดีครับ

• ลือกระหึ่ม ! ธรรมนัส ยกทีม ส.ส.ลาออก จากพรรคพลังประชารัฐ

รายชื่อ ส.ส.21 คน ที่พรรคมีมติ ขับออกจากพรรค ประกอบด้วย 

 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา ,นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์  ส.ส.บัญชีรายชื่อ ,นายไผ่ ลิกข์ ส.ส.กำแพงเพชร , นายจีรเดช ศรีวิลาส ส.ส.พะเยา ,นายปัญญา จินาคำ ส.ส.แม่ฮ่องสอน ,นายวัฒนา สิทธิวัง ส.ส.ลำปาง ,นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ  ส.ส.ตาก,นายภาคภูมิ  บุญประมุข ส.ส.ตาก,นายพรชัย อินทร์สุข ส.ส.พิจิตร,นายเอกราช ช่างเหลา, ส.ส.บัญชีรายชื่อ,นายวัฒนา ช่างเหลา ส.ส.ขอนแก่น,นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.จ.ขอนแก่น ,นายเกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา ,นายสมศักด์ พันธ์เกษม ส.ส.นครราชสีมา ,นางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.นครราชสีมา,นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี นายณัฐพงษ์ จรัสพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์ ,นางจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร, นายยุทธนา โพธสุธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ พล.ต.ต.ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี

 ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 101 ระบุว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ด้วยรายละเอียดรวม 13 ข้อย่อย เช่น เสียชีวิต, สภาครบวาระ, ยุบสภา

 ประเด็นเรื่องลาออกมี 2 กรณี คือ (3) ลาออก ซึ่งหมายถึง การลาออกจากการเป็น ส.ส. 

“ขับออก” กับ “ลาออก” ต่างกันอย่างไร? หลังพปชร. ขับ ธรรมนัส-21 ส.ส. พ้นพรรค

 นอกจากนี้ยังมี (8) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก ซึ่งหมายความว่า ส.ส.จะลาออกจากพรรคการเมืองหนึ่งไปสังกัดอีกพรรคหนึ่งไม่ได้ เพราะความเป็น ส.ส.จะสิ้นสุดลงทันที

ส.ส.จะย้ายจากพรรคหนึ่งไปอีกพรรคหนึ่งได้ โดยไม่สิ้นสุดสถานภาพความเป็น ส.ส. มี 2 กรณี

1. ถูกพรรคการเมืองเดิมลงมติด้วยคะแนน 3 ใน 4 ให้พ้นจากพรรค จะมีเวลา 30 วันในการหาพรรคสังกัดใหม่

โดยมีกฎหมายอ้างอิงคือ รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (9) (ความเป็น ส.ส.สิ้นสุดลงเมื่อ) พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกตามมติของพรรคการเมืองนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ในกรณีเช่นนี้ ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นมิได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่พ้นสามสิบวันดังกล่าว

“ขับออก” กับ “ลาออก” ต่างกันอย่างไร? หลังพปชร. ขับ ธรรมนัส-21 ส.ส. พ้นพรรค

2. พรรคการเมืองเดิมถูกยุบ จะมีเวลา 60 วันในการหาพรรคสังกัดใหม่

โดยมีกฎหมายอ้างอิงคือ รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (10) (ความเป็น ส.ส.สิ้นสุดลงเมื่อ)ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีคําสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดหกสิบวันนั้น

“ขับออก” กับ “ลาออก” ต่างกันอย่างไร? หลังพปชร. ขับ ธรรมนัส-21 ส.ส. พ้นพรรค

การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉบับเต็ม 

related