เรื่องสินค้าราคาแพง เป็นเรื่องที่ซ้ำเติมประชาชนในช่วงที่โควิด-19 ระบาดแบบนี้อย่างมาก จากการสำรวจล่าสุด หมู ผัก ของกินของใช้ปรับขึ้นยกแผงทำผู้ประกอบร้านอาหารสุดอั้น ร้านอาหารปรับขึ้นราคายกแผง มีที่ไหนบ้าง ? วันนี้ส่อง
ผู้ประกอบการร้านอาหารหลังแอ่น ราคาสินค้าพุ่งไม่หยุด
ใครที่ไปจ่ายตลาด หรือไปซื้อของตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในช่วงนี้ จะเห็นว่าสินค้าแพงขึ้นมาก โดยเฉพาะของกินของใช้ อาหาร ผัก เนื้อ ปรับราคาขึ้นยกแผง พร้อมกันนี้ยังมีสัญญาณว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องยาวไปถึงปี2565 ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารเริ่มไม่ไหวแล้ว ร้านอาหารปรับขึ้นราคายกแผง เพราะไม่ไหวจริงๆ ที่จะต้องหลังแอ่นแบกรับต้นทุนที่สูงลิ่วขนาดนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เงินเฟ้อ คืออะไร? รู้หรือไม่เงินเรามีค่าลดลงทุกปีเพราะสิ่งนี้
‘เงินเฟ้อ’เม.ย 2564 พุ่งสูงรอบ 8 ปี ซ้ำเติมโควิด 19 ดันของแพงขึ้น
พาณิชย์ เผยไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืด หลังเงินเฟ้อติดต่อกัน 3 เดือน
วันนี้ #สปริงนิวส์ ได้สำรวจข้อมูลจากช่องทางออนไลน์ของแบรนด์ต่าง ๆ ในธุรกิจร้านอาหาร ว่าตอนนี้มีร้านอาหารปรับขึ้นราคายกแผง มีแบรนด์ใดบ้าง ตามรายละเอียดที่สรุปมาแล้ว ดังต่อไปนี้
พาส่องธุรกิจร้านอาหารไหน ปรับขึ้นราคาบ้าง ?
-สุกี้ตี๋น้อย ปรับราคาบุฟเฟ่ต์ 20 บาท/ท่าน ผู้ใหญ่ 199 บาท เป็น 219 บาท เด็ก จาก 99 บาท เป็น 109 บาท เริ่ม 1 ม.ค. 65
-บุฟเฟต์นารายณ์พิซเซอเรีย ข้าน้อยขอชาบู ปรับบุฟเฟ่ต์ 199 บาท เป็น 229 บาท ราคาบุฟเฟ่ต์พรีเมี่ยม 299 บาท เป็น 329 บาท เริ่ม 1 ม.ค. 65
-สุกี้ดารา ปรับราคาบุฟเฟ่ต์ 20 บาท/ท่าน ผู้ใหญ่จาก 199 บาท เป็น 219 บาท เริ่ม 1 ม.ค. 65
-ร้านชาบู สุกี้ โมโม่พาราไดซ์ ผู้ใหญ่ 560 บาท เป็น 599 บาท ชุดเด็ก (ความสูง 110-140 ซม.) จาก 279 บาท เป็น 299 บาท เริ่ม 1 ม.ค.65
-ร้านเจ๊จง หมูทอดกก. ละ 280 บาท ปรับกก.ละ 280 - 300 บาท หลังปีใหม่
สำหรับปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารปรับขึ้นราคายกแผง คือ ราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวขึ้นสูงมากในช่วงนี้ โดยข้อมูลจาก, สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รายงานข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 53/2564) วันพระที่ 27 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ว่าจำนวนสุกรออกสู่ตลาดลดลงมาก จากอัตราความสูญเสียสูงขึ้นในทุกภูมิภาค ส่งผลให้ฟาร์มส่วนใหญ่ต้องเพิ่มยาต้านไวรัสมากขึ้นในกลุ่มที่ยังไม่กระทบ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารโปรตีนให้ผู้บริโภคในประเทศโดยต้นทุนการผลิตทั้งประเทศจะต้องปรับให้สะท้อนทุกองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการต้นทุนของ Pig Board ในครั้งต่อไป สำหรับ Q1/2565 โดยปัจจุบันราคาขายปลีกหมูเนื้อแดงเฉลี่ยอยู่ที่ 153 -160 บาท/กก. ส่วนราคาขายปลีก190 - 200 บาท/กก.
ล่าสุด กรมปศุสัตว์ ออกเปิดเผยสาเหตุเนื้อหมูแพงจากหลายปัจจัย ส่งผลให้ระบบผลิตได้ลดลงแต่ความต้องการยังคงเพิ่มต่อเนื่อง โดย ‘นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต’ อธิบดีกรมปศุสัตว์ สาเหตุมาจากปัจจัยเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารสัตว์ ยาในการรักษาโรค แล้วยังมีปัจจัยเรื่องการพบโรคระบาดในสุกรที่ก่อความเสียหายต่อสุกรมีชีวิตที่จะเข้าสู่ตลาดเนื่องจากต้องมีการทำลายสุกรมีชีวิตเพื่อควบคุมโรค ส่งผลทำให้สุกรขาดตลาด รวมทั้งก่อนหน้านี้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายเล็ก รายย่อยและรายกลางเกิดความตื่นตระหนกต่อข่าวของการเกิดโรคระบาดในสุกรจึงได้เร่งขายสุกรมีชีวิตออกจากฟาร์มทำให้ปัจจุบันสุกรมีชีวิตในระบบการผลิตมีปริมาณที่ลดลง จึงทำให้ปัจจุบันราคาจำหน่ายเนื้อสุกรเพื่อการบริโภคมีราคาที่สูงขึ้น