ราชกิจจานุเบกษา ประกาศแนวปฏิบัติมาตรการป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) สําหรับผู้เดินทางเข้าไทย โดยให้ระงับการรับลงทะเบียนเข้าราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน มีผล 22 ธ.ค.- 4 ม.ค.65
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๒๕/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐)
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๐) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดและสอดรับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงาน เจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด นั้น
บัดนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์สายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) ในหลายประเทศทั่วโลกได้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และอาจมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการป้องกันโรคของวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 โดยที่ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ โอมิครอนที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านระบบคัดกรองและป้องกันโรคเป็นระยะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ด่วน! อนุทิน ยืนยันพบผู้ติดเชื้อเข้าข่าย โอไมครอน อีก 104 ราย
• WHO เตือน โควิดโอไมครอน (โอมิครอน ) จะส่งให้ระบบสาธารณสุขเข้าขั้นวิกฤต
• จับตา! โอไมครอน ดร.อนันต์ คาดอีก 7-10 วัน ยอดเสียชีวิตอาจพุ่งถึงหลักร้อย
ประกอบกับ จํานวนประชากรในประเทศที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) มีสัดส่วนที่ยังไม่มากพอจนอาจมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านสาธารณสุข หากเกิดการระบาดรุนแรงของไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว
เพื่อให้การดําเนินการตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว
และตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้ง หน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
อาศัยอํานาจตามความ ในข้อ ๔ (๒) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จึงมีคําสั่งให้
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไป ตามมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ระงับการรับลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (๑) และ (๒) ของข้อ ๑ ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒๔/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๑๔) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๑๔ วัน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือ จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ยกเว้นกรณีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้ซึ่ง ได้รับอนุญาตประเภท (๒) ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้กําหนดเป็นพื้นที่นําร่อง ด้านการท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างเคร่งครัดและเหมาะสมกับสถานการณ์
ข้อ ๒ ให้ปรับมาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒๔/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๙) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เฉพาะ หลักฐานการชําระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกําหนดก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 ครั้งที่ ๒ ในระหว่างที่พํานักอยู่ในราชอาณาจักร โดยยังคง ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอื่น ๆ ตามคําสั่งที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้โดยเคร่งครัด ดังนี้
๒.๑ ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (๑) และ (๒) ที่ได้ลงทะเบียน และได้รับอนุมัติให้เดินทางเข้าราชอาณาจักรแล้ว และได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ก่อนวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ แล้ว ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักร ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒๔/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๙) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
๒.๒.๒ กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (๒) ให้มีหลักฐาน หรือเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร และให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR จํานวน ๒ ครั้ง ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) ให้มีหลักฐานการชําระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการ กําหนดเมื่อผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร อย่างน้อย ๒ วัน และค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT - PCR จํานวน ๑ ครั้ง ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกําหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกัน ตามที่ทางราชการกําหนด ได้แก่
สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อ กระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติและตรวจสอบ และให้บังคับใช้ เงื่อนไขนี้กับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แม้จะมีสถานที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวด้วย
(๒) ให้โรงแรมหรือสถานที่พัก หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับ การกักกันตามที่ทางราชการกําหนด แล้วแต่กรณี ประสานสถานพยาบาลหรือหน่วยงานของภาครัฐและ เอกชนตามที่ทางราชการกําหนด เพื่อทําการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR ครั้งที่ ๒ ให้แก่ผู้เดินทาง ระหว่างวันที่ ๕ - ๖ ของระยะเวลาที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว หรือเมื่อมีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ โดยทางราชการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ทางราชการกําหนด
๒.๓ กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (๒) เฉพาะที่เดินทางเข้ามา ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ที่ได้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป และได้รับอนุมัติ ให้เดินทางเข้าราชอาณาจักร และเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นต้นไป ให้มีหลักฐานหรือเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร และให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ โรคโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR จํานวน ๒ ครั้ง ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) ให้มีหลักฐานการชําระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการ กําหนดเมื่อผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร อย่างน้อย ๗ วัน และค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT - PCR จํานวน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกําหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกัน ตามที่ทางราชการกําหนด ได้แก่
สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อ กระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติและตรวจสอบ และให้บังคับใช้ เงื่อนไขนี้กับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แม้จะมีสถานที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวด้วย
(๒) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ครั้งที่ ๒ ให้แก่ผู้เดินทาง ระหว่างวันที่ ๕ - ๖ ของระยะเวลาที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว หรือเมื่อมีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ทางราชการกําหนด
ข้อ ๓ สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (๓) (๔) (๕) และ (5) ของข้อ ๑ ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒๔/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๑๙) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ปฏิบัติตามคําสั่งที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้โดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19
อ่านฉบับเต็ม คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๒๕/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐)