svasdssvasds

โรฮีนจายื่นฟ้อง Facebook 150,000 ล้านดอลลาร์ ไม่ควบคุมเนื้อหารุนแรง

โรฮีนจายื่นฟ้อง Facebook 150,000 ล้านดอลลาร์ ไม่ควบคุมเนื้อหารุนแรง

โรฮีนจา ยื่นฟ้อง ​ Facebook เป็นเงินมหาศาล 150,000 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจากเมียนมา กล่าวหาว่าทางบริษัท Faebook ไม่ดำเนินการใดๆ ต่อข้อความที่สร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮีนจา และมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรง

โรฮีนจายื่นฟ้อง Facebook โทษฐานไม่ควบคุมเนื้อหารุนแรง ก่อเกิดแห่งความเกลียดชัง 

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจากเมียนมา ยื่นฟ้องบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta Platforms) เจ้าของสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค​ Facebook เป็นเงินมหาศาล 150,000 ล้านดอลลาร์  (หรือราวๆ 5.04 แสนล้านบาท)  โดยผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจากเมียนมา กล่าวหาว่าทางบริษัท Faebook ไม่ดำเนินการใดๆ ต่อข้อความที่สร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮีนจา และมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรง 
.
ทั้งนี้ ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจากเมียนมา ใช้ชื่อ บริษัทกฎหมาย Edelson PC และบริษัท Fields PLLC ยื่นฟ้องแบบกลุ่มต่อบริษัทเมตา แพลทฟอร์มส์ (Meta Platforms) ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย
.
โดยสำนวนฟ้องระบุว่า การที่บริษัท Facebook ไม่สามารถควบคุมเนื้อหาได้และการออกแบบพื้นที่สื่อได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้ชุมชนชาวโรฮีนจาเผชิญกับความรุนแรงในโลกความเป็นจริง โดยกลุ่มทนายในอังกฤษยังส่งจดหมายแจ้งเตือนไปยังสำนักงานของในกรุงลอนดอนด้วย

โรฮีนจายื่นฟ้อง Facebook โทษฐานไม่ควบคุมเนื้อหารุนแรง ก่อเกิดแห่งความเกลียดชัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชนเผ่าเมารีขอร้องผู้ต่อต้านวัคซีนหยุดเต้นท่าฮากาประจำเผ่า

แท่นบูชายันพร้อมกองขี้เถ้ามนุษย์ถูกค้นพบที่เม็กซิโก

เวลานี้ Facebook ไม่มีความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวโดยทันที แต่ก่อนหน้านี้ทางบริษัท ก็ยอมรับว่า ตนดำเนินการช้าเกินไปต่อการป้องกันข้อมูลเท็จและความเกลียดชังในเมียนมา แต่นับจากนั้นมา ทางบริษัทระบุว่าได้ดำเนินการเพื่อปราบปรามการใช้พื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทไปในทางที่ผิด รวมทั้งแบนกองทัพเมียนมาจาก Facebook และ IG หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 
.
ทั้งนี้ Facebook ระบุว่า พวกเขา ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่เผยแพร่โดยผู้ใช้งานตามกฎหมายอินเตอร์เน็ตของสหรัฐฯ มาตรา 230 ที่ระบุว่า พื้นที่ออนไลน์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่เผยแพร่โดยบุคคลที่สาม .
อย่างไรก็ตาม สำนวนฟ้องจากกลุ่มชาวโรฮีนจา ครั้งนี้ระบุว่า จะอ้างอิงกฏหมายเมียนมาหากทางบริษัทสื่อสังคมออนไลน์อ้างกฎหมายสหรัฐฯ มาตราดังกล่าว
.
แม้ศาลสหรัฐฯ อาจพิจารณากฎหมายต่างชาติในคดีที่ความเสียหายจากบริษัทเกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสองรายกล่าวว่า พวกเขายังไม่ทราบถึงการชนะคดีก่อนหน้านี้ ที่กฎหมายต่างชาติถูกนำมาใช้กับคดีที่ยื่นฟ้องบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจได้รับการปกป้องจากมาตรา 230

ทำความเข้าใจ โรฮีนจา เบื้องต้น (อีกครั้ง) 
.
ชาวโรฮีนจา คือใคร ? โรฮิงจา คือ กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่นับถืออิสลาม ส่วนใหญ่อาศัยในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมา โดยรัฐนี้มีพรมแดนในทิศตะวันตก ติดกับประเทศบังกลาเทศ 
.
ในขณะที่โรฮีนจา อ้างว่า พวกเขาอาศัยในประเทศเมียนมา มาหลายชั่วอายุคน แต่รัฐบาลเมียนมาจะตอบโต้เสมอว่าจริงๆแล้ว โรฮีนจา เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และไม่ยอมรับว่าเป็นพลเมือง นั่นทำให้ชาวโรฮีนจา ไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐ ทั้งการรักษาพยาบาล และการศึกษา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชาวโรฮีนจา ตกต่ำลงเรื่อยๆ  โดยกลุ่มคนโรฮิงจา จะมีความขัดแย้งกับรัฐบาลเมียนมาอยู่เสมอ เพราะรู้สึกว่าชาติพันธุ์ของตัวเองโดนรัฐบาลกดขี่  ปัจจุบัน โรฮีนจา เป็นผู้อพยพลี้ภัยความรุนแรง ไปมากกว่า 17 ประเทศ รวมถึงไทยด้วย

โรฮีนจายื่นฟ้อง Facebook โทษฐานไม่ควบคุมเนื้อหารุนแรง ก่อเกิดแห่งความเกลียดชัง

 โศกนาฏกรรมของชาวโรฮีนจา

ความน่าเศร้าและเป็นข่าวร้ายอันหดหู่ครั้งใหญ่ที่สุด คงหนีไม่พ้น สิงหาคม 2017 ชาวมุสลิมโรฮีนจากว่า 730,000 คนลี้ภัยจากรัฐยะไข่ในเมียนมาหลังกองทัพปราบปรามพวกเขา ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ระบุว่า มีการสังหารหมู่และการข่มขืน กลุ่มสิทธิมนุษยชนยังบันทึกการสังหารพลเรือนและการเผาหมู่บ้านด้วย ในขณะที่ทางการเมียนมาระบุว่า พวกเขารับมือกับการจลาจล และปฏิเสธว่าไม่ได้ก่อความรุนแรงอย่างเป็นระบบ
.
ปี 2018 เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนจากสหประชาชาติระบุว่า การใช้งาน Facebook มีส่วนสำคัญต่อการเผยแพร่ข้อความสร้างความเกลียดชังและจุดชนวนให้เกิดความรุนแรง โดยการสืบสวนของสำนักข่าวรอยเตอร์ในปีดังกล่าว ซึ่งถูกอ้างอิงในสำนวนฟ้องครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ระบุถึงตัวอย่างของโพสต์ ความเห็น และภาพกว่า 1,000 ตัวอย่างที่โจมตีชาวโรฮีนจาและชาวมุสลิมอื่นๆ ใน Facebook  และเวลานั้น Facebook ก็ยอมรับว่า มีมาตรการ "ไม่ดีพอ" ในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงกับชาวโรฮีนจา 

ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหาอาชญากรรมในภูมิภาคนี้ และเมื่อเดือนกันยายน ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ สั่งให้ Facebook เปิดเผยข้อมูลบัญชีที่ถูกปิดที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจาในเมียนมา

การยื่นฟ้องกลุ่มโดยชาวโรฮีนจาครั้งนี้ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ยังอ้างอิงคำกล่าวของฟรานเซส ฮอเก้น ผู้เปิดเผยเอกสารภายในของเฟสบุ๊คก่อนหน้านี้ ที่ระบุว่า ทางบริษัทไม่ได้ควบคุมเนื้อหาที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงได้ในหลายประเทศ

สำนวนฟ้องนี้ยังอ้างรายงานข่าวล่าสุด รวมถึงรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา เผยว่า กองทัพเมียนมาใช้บัญชีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ปลอมเพื่อทำ “สงครามข้อมูลข่าวสาร”

related