เปิดมาตรการประเทศต่างๆ ในการรับมือและป้องกัน โควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่กำลังเป็นที่สนใจและจับตามองจากทั่วโลก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อมูลยังมีไม่มากพอและมีการเปลี่ยนแปลงตลอด โควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังเป็น "สิ่งที่ทำให้เป็นกังวล ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ตื่นตระหนก"
เวลานี้ กระแสที่ร้อนแรงที่สุดที่ทั่วโลกกำลังจับตามองนั่นคือ สถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่กระจายไปแล้วหลายประเทศ ล่าสุดลุกลามไปยังสหรัฐฯ ขณะที่ เกาหลีใต้ มีรายงานพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในประเทศแล้ว 5 คน โดยเป็นคู่สามีภรรยาที่เดินทางกลับจากไนจีเรีย
.
นั่นทำให้ ณ เวลานี้ ทั่วโลก มีการออกมาตรการออกมา โดยประเทศใหญ่ๆ พยายามควบคุมและจำกัดการเดินทางนักท่องเที่ยวจากทวีปแอฟริกาตอนใต้
.
โดย ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของไทย (ศบค.) รายงานเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ว่าจำนวนประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มเป็น 27 ประเทศ โดย 13 ประเทศอยู่ในยุโรป 8 ประเทศอยู่ในแอฟริกา ส่วนที่เหลือ ได้แก่ แคนาดา ฮ่องกง อิสราเอล สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอนทั่วโลกขณะนี้มีอยู่ราว 200 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ถกด่วนพรุ่งนี้ “โควิดโอไมครอน” หลัง 783 นักท่องเที่ยวเสี่ยงสูงเข้าไทย
โดย ทั่วโลกมีมาตรการรับมือโควิดโอไมครอนอย่างไร ?
.
สหราชอาณาจักร : คนเข้าประเทศต้องเข้ารับการตรวจหาโควิดด้วยวิธี RT-PCR ภายใน 2 วันหลังจากมาถึง และต้องกักตัวจนกว่าผลจะออกมาว่าเป็นลบ ,บังคับให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัยในระบบขนส่งสาธารณะและในร้านค้า เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
.
สหรัฐอเมริกา : ระงับเที่ยวบินจาก 8 ประเทศในแอฟริกาตอนใต้ ตั้งแต่ 29 พ.ย.
.
ออสเตรเลีย : ห้ามชาวต่างชาติที่เดินทางจาก 9 ประเทศในแอฟริกาตอนใต้ในช่วง 14 วันที่ผ่านมาเข้าประเทศ
.
สหภาพยุโรป : ระงับการเดินทางจาก 7 ประเทศในแอฟริการตอนใต้
.
อิสราเอล : ห้ามชาวต่างชาติเข้าประเทศ 2 สัปดาห์ นับตั้งแต่ 29 พ.ย. ส่วนชาวอิสราเอลที่เดินทางเข้าประเทศต้องถูกกักตัว
แคนาดา : ห้ามชาวต่างชาติที่เดินทางมาจาก 7 ประเทศในแอฟริกาในช่วง 14 วันที่ผ่านมาเข้าประเทศ
.
ยูเออี ,ซาอุดิอาระเบีย และบาห์เรน : ห้ามนักท่องเที่ยวจาก 7 ประเทศในแอฟริกาตอนใต้เข้าประเทศ
.
ญี่ปุ่น : ห้ามชาวต่างชาติเข้าประเทศ ตั้งแต่ 30 พ.ย. อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่น ยกเลิกคำสั่งห้ามสายการบินเปิดจองตั๋วเครื่องบินเข้าญี่ปุ่นเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เพียงหนึ่งวันหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เหตุเผชิญกระแสวิจารณ์อย่างหนักหน่วงจากทั้งในและนอกประเทศว่ามาตรการนี้เข้มงวดเกินไป
.
อิหร่าน และ บราซิล : ห้ามนักเดินทางจาก 6 ประเทศแอฟริกาตอนใต้เข้าประเทศ
.
สิงคโปร์ : เพิ่มรายชื่อ 7 ประเทศในแอฟริกาตอนใต้ในบัญชีแดง
.
เกาหลีใต้ : ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ ทั้งชาวเกาหลีและชาวต่างชาติ ต้องกักตัว 10 วันเมื่อเดินทางมาถึง ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม เบื้องต้นจะบังคับใช้มาตรการนี้ เป็นเวลา 2 สัปดาห์
.
ไทย : ห้ามนักเดินทางจาก 8 ประเทศเข้าไทย ประกอบด้วย บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามีเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ส่วนผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงไทยระหว่างวันที่ 28-30 พ.ย. จะต้องเข้ากระบวนการกักตัว 14 วันทันที
.
นอกจากนี้ แนวทางรับมือโควิดโอไมครอนของไทย ที่มาจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของไทย (ศบค.) มีดังนี้
.
1.ประกาศห้ามการเข้าประเทศของประเทศที่ค้นพบการแพร่ระบาดของโอมิครอนและใกล้เคียงในกลุ่ม 8 ประเทศแอฟริกา
.
2.ให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูข้อกำหนดทางกฎหมาย สัญญาที่ทำไว้กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนที่รอส่งมอบให้ไทย 90 ล้านโดส คือแอสตราเซเนกา 60 ล้านโดส ไฟเซอร์ 30 ล้านโดส ขอให้ส่งมอบวัคซีนรุ่นใหม่ที่มีการปรับปรุงเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ของโควิด-19
3.เตรียมความพร้อมยารักษา
4.เตรียมความพร้อมระบบสาธารณสุขเพื่อรองรับการระบาดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้น เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายภายในปีนี้
5.เตรียมพร้อมป้องกันฐานการผลิต เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนของซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องเดินหน้าไปได้ โดยจะต้องพยายามไม่ให้เกิดการระบาดเข้าไปในโรงงานหรือสถานประกอบการ ขณะที่ภาคส่วนที่ยังต้องมีมาตรการช่วยเหลือต่อเนื่อง คือภาคการท่องเที่ยว ที่ยังต้องเน้นการพึ่งพาการท่องเที่ยวในประเทศ รวมทั้งปรับโครงสร้างการท่องเที่ยวให้มีรายได้เข้ามาจากการพำนักของชาวต่างชาติที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยระยะยาว
.