สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานตามประเภท หน้ากากอนามัย ชนิดใช้ครั้งเดียว หลังผลทดสอบ พบ เกินครึ่งตกเกณฑ์ มอก.
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) และเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค (ANCA) ร่วมกันเรียกร้องให้มีการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นสินค้าควบคุมมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีการควบคุมฉลาก และมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน
ทั้งนี้เนื่องจากผลการทดสอบหน้ากากอนามัยในห้องปฏิบัติการ ที่นำมาจากการสุ่มตัวอย่างสินค้าที่วางขายตามร้านค้าทั่วไปจำนวน 60 ยี่ห้อ พบว่า 2 ใน 3 ของหน้ากากอนามัยที่สุ่มทดสอบหลายยี่ห้อไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. ขณะที่มีหน้ากากที่ผ่านเกณฑ์แต่ไม่เป็นไปตามโฆษณามี 7 ยี่ห้อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศบค. เตรียมเรียกนักท่องเที่ยวตรวจหาเชื้อซ้ำ เข้มมาตรการพร้อมเปิดประเทศ
หมอยง เผยโควิดโอไมครอน ติดง่ายแพร่กระจายได้เร็ว เชื่อมาแทน สายพันธุ์เดลตา
พบหมออิสราเอล 2 ราย ติดเชื้อโควิดโอไมครอน ฉีดวัคซีนไฟเซอร์แล้ว 3 โดส
หมอยง เผยหน้ากากอนามัย อาจปิดกั้นพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก ช่วงโควิด-19
ทพ. อนุศักดิ์ คงมาลัย สมาชิกวุฒิสภาและรองประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ระบุว่า มีผู้บริโภคร้องเรียนไปยัง คณะกรรมาธิการในประเด็นข้อสงสัยด้านประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยที่ประชาชนใช้เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19
เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อเชื้อระลอกที่สามมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ประชาชนทั่วไปจะปฏิบัติตามมาตรการรัฐครบถ้วน จึงมีข้อสังเกตว่า หน้ากากอนามัยที่ใช้กันทั่วไป อาจไม่มีประสิทธิที่ดีเพียงพอในการป้องกันการระบาดโควิด-19 จึงเสนอมายัง สอบ. เพื่อให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด
ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้เริ่มจากการสุ่มซื้อตัวอย่างผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัย ชนิดใช้ครั้งเดียว ที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปในท้องตลาด โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 ส.ค. 64 ถึง 3 ต.ค. 64
อีกทั้งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบทดสอบในครั้งนี้เป็นการเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ 15 ก.ค. 64 ถึง 30 ก.ค. 64 รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 ยี่ห้อ แบ่งเป็น
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก (Filter Efficiency) ขนาด 0.1 ไมครอน และอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน รวมถึงการทดสอบความสามารถในการซึมผ่านของอากาศ (Air Permeability) หรือการทดสอบด้านการหายใจ (Pressure Difference)
หลังจากนั้น ได้นำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่งตรวจวิเคราะห์ว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
จากผลการทดสอบแบ่งประเภทตามมาตรฐาน มอก. 2424 - 2562
กลุ่มที่ 1 พบว่า ระดับใช้งานทั่วไป กำหนดให้หน้ากากอนามัย มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ค่าผลต่างความดัน ไม่เกิน 4.0 mm H2O/cm2 พบว่า มี 3 ยี่ห้อที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว ส่วนอีก 11 ยี่ห้อ ไม่ผ่านเกณฑ์
ส่วนหน้ากากอนามัยระดับใช้งานด้านการแพทย์ทั่วไป และ ระดับใช้งานด้านการแพทย์ด้านศัลยกรรม กำหนดให้หน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพการกรองอนุภาค ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 ค่าผลต่างความดันไม่เกิน 5.0 mm H2O/cm2 พบว่า มียี่ห้อที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 ยี่ห้อ และยี่ห้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับหน้ากากอนามัยระดับใช้งานด้านการแพทย์ด้านศัลยกรรม มีจำนวน 24 ยี่ห้อ
กลุ่มที่ 2 หน้ากากที่ระบุว่าเป็นกลุ่มอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ ชนิดกรองอนุภาค ที่ระบุมาตรฐาน N95 หรือ KN 95 ที่มีข้อกำหนดตามมาตรฐาน มอก. 2480 - 2562 กำหนดประสิทธิภาพการกรองอนุภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ผลต่างความดันไม่เกิน 35 mmH2O พบว่า ยี่ห้อที่ผ่านเกณฑ์มีจำนวน 7 ยี่ห้อ และมียี่ห้อที่ผ่านเกณฑ์แต่ไม่เป็นไปตามที่โฆษณา จำนวน 5 ยี่ห้อ ส่วนยี่ห้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับหน้ากากที่อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ยี่ห้อ
ด้านเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เสริมว่า ผลการทดสอบครั้งนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่เพียงพอ และเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยได้อย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงสินค้าที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ และ สอบ. ได้มีการจัดเวทีกับหน่วยงานและส่งต่อข้อมูลผลการทดสอบรายงานต่อหน่วยงานของรัฐเรียบร้อยแล้ว เพื่อทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมกำกับการผลิตหรือการนำเข้าหน้ากากอนามัยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
สำหรับ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากากอนามัยชนิด N95 หรือสูงกว่า ที่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป มีมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดนั้น ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงจะต้องมาขออนุญาตกับ อย. ในส่วนของสถานที่ผลิตและนำเข้าก่อนที่จะผลิตหรือจัดจำหน่าย และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงฉลากและเอกสารกำกับ
เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2563 ระบุว่า หากเป็นหน้ากากอนามัยที่ผลิตหลังวันที่ 31 ตุลาคม2564 จะต้องระบุเลขที่ใบอนุญาต เลขที่ใบรับแจ้ง รายการละเอียด หรือเลขที่ใบรับจดแจ้ง และหน้ากากอนามัยที่นำเข้ามาในประเทศไทยจะต้องแสดงฉลากบนหน้ากากอนามัยด้วย
ข้อเสนอแนะที่เป็นมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ สอบ. จัดทำเพื่อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ มี 5 ข้อ ดังนี้