"หมอธีระวัฒน์" เตือน ระยะห่าง "วัคซีนโควิด" กระตุ้นเข็ม 4 หากไม่พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน อาจมีผลกระทบถึงชีวิต แนะ ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ประเด็น "ระยะห่างในการกระตุ้น" สำหรับ "วัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น
"ต้องพิจารณา มีของดีจริงๆในตัว และแฝงของเลวหรือไม่"
เข็ม 3 ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนโควิดชนิด Az หรือ PZ ส่วนมากจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ถ้าวิเคราะห์เจาะจงสำหรับไวรัสที่มาในสาย เดลต้าหรือเบต้า (แต่ยังบอกไม่ได้ชัดเจนสำหรับโอไมครอน ซึ่งอาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำ) (ข้อมูลคณะทำงาน อาจารย์ อนันต์ อจ เขตต์ อจ ทยา และเรา)
ดังนั้น การที่จะบอกว่าวัคซีนโควิด เข็ม 4 เร็วไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันแบบไหน ที่ดีและสู้เชื้อได้ และอยู่ที่ว่าฉีดเข็มสี่ไปแล้วจะอันตรายหรือไม่?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• "หมอธีระวัฒน์" เปิดที่มาของโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน"
• ใครจองวัคซีนโมเดอร์นา ต้องฟัง เข็ม 3 ควรฉีดเมื่อไหร่ ฟังหมอธีระวัฒน์แนะ
• "หมอธีระวัฒน์" แนะฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็มให้เด็กเล็ก กระตุ้นด้วย mRNA
การวิเคราะห์อย่างละเอียด ทั้งระดับเซลล์และน้ำเหลือง ว่ามีของดี หรือของเลวอยู่ จึงจะบอกประเด็นได้ละเอียดกว่า แต่ข้อสำคัญคือเป็นการตรวจที่เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และเป็นหัวข้อที่คณะทำงานของเรากำลังทำเพื่อเลือกการตรวจที่ง่ายที่สุดที่จะใช้ได้สำหรับคนทั่วไป ดังนั้น อาจบอกไม่ได้จากเงื่อนเวลาอย่างเดียว ที่ให้ฉีดวัคซีนโควิดกระตุ้น ให้นานออกไป เพื่อประหยัดวัคซีนเท่านั้นคงต้องพิจารณารายละเอียดลึกลงไป ยกตัวอย่างเช่น ภูมิน้ำเหลือง อย่างเดียว ยังมีชนิดภูมิเฉย ๆ ภูมิดี ภูมิเลว ภูมิชั่วร้ายเป็นต้น
และการตอบสนองของภูมิในระดับเซลล์ที่อาจมีคุกรุ่นการอักเสบอยู่แล้ว และเมื่อได้รับวัคซีนโควิดไปกลับทำร้าย ทำให้เกิดอาการต่างๆตั้งแต่ น้ำรั่วจากผนังเซลล์หลอดเลือด ในสมองหรือตามอวัยวะต่างๆจนถึงปรากฏการณ์เลือดข้นเกิดลิ่มเลือด และความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดรวมทั้ง การอักเสบของหลอดเลือดและ ที่อวัยวะต่างๆ ดังที่มีผู้ได้รับผลกระทบถึงชีวิตหรือมีอาการหนักในระบบต่างๆ สมองหัวใจ บวมตามตัว เป็นต้น
ทั้งนี้ยังไม่นับภูมิคุ้มกันวิปริต แบบ autoimmune ซึ่งต่างจาก autoinflammatory ดังข้างต้น
และเป็นเหตุผลที่คนไทย ควรต้องทำอย่างรีบด่วน ในการฉีดวัคซีน ซึ่งง่ายที่สุดคือ
การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังซึ่งใช้ปริมาณน้อยกว่า
PZ ใช้หนึ่งในสาม
MDN ใช้หนึ่งใน 10
AZ ใช้หนึ่งในห้า
แต่ได้ผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีเช่นเดียวกัน และหลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนได้มากมายอย่างน้อย 10 เท่า ตามรายงานของคณะทำงานต่างๆในประเทศไทยเอง ทั้งนี้ ด้วยการกระตุ้นคนละกลไกของภูมิคุ้มกัน"