svasdssvasds

แพทย์ผิวหนัง แจงชัด "ฉีดวัคซีนโควิด-19" แล้ว ทำให้เกิดผมร่วงได้จริงหรือไม่

แพทย์ผิวหนัง แจงชัด "ฉีดวัคซีนโควิด-19" แล้ว ทำให้เกิดผมร่วงได้จริงหรือไม่

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ไขข้อข้องใจ กรณีภาวะผมร่วงเป็นหย่อมภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19

จากกรณีที่หนุ่มวัย 19 ปี ฉีดวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค” ครบ 2 เข็ม แต่กลับมีผลข้างเคียง เส้นผมบนศีรษะหลุดร่วงจนเกือบหมด ซึ่งหมอที่คลินิก วินิฉัยว่า หลังฉีดวัคซีน ทำให้เม็ดเลือดขาวผิดปกติ และกลับมาทำร้ายตัวเอง เหมือนโรคพุ่มพวง และยังมีผู้ได้รับผลกระทบลักษณะเดียวกันอีก 4 ราย โพสต์ร้องเรียนไปยังเพจเฟซบุ๊ก “อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น Part 1” หลังเส้นผมหลุดร่วงอย่างหนัก เมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยทั้ง 4 คน มีประวัติฉีดวัคซีนดังนี้ 

รายที่ 1 ฉีดวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” เข็มที่ 1 ก็เริ่มมีอาการเส้นผมหลุดร่วงเป็นกระจุก ทำให้ไม่กล้าฉีดเข็มที่ 2

รายที่ 2 ได้รับผลกระทบหลังฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” เข็มที่ 2

รายที่ 3 ฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” เข็มที่ 2 

รายที่ 4 เป็นพยาบาล ฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เป็นเข็มกระตุ้น

 มีความเป็นได้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจจะกระตุ้นทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนบางรายเกิดอาการของโรคผมร่วงเป็นหย่อม ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกช่วงอายุ ผู้ป่วยมีอาการผมร่วง เป็นหย่อม ๆที่ศีรษะ โดยอาจจะมีขนร่วงที่บริเวณอื่นร่วมด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• "หมอมนูญ" เผย "ผมร่วง" อาการใหม่ที่พบได้ในผู้ป่วยโควิด-19

• "หมอแล็บแพนด้า" แจง เป็นไปไม่ได้ ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" 2 เข็ม ทำให้ตั้งครรภ์

• เช็กเลย! จุดฉีดวัคซีนไฟเซอร์ฟรีทั่วไทย

 ด้าน พญ.ชินมนัส เลขวัต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้อธิบายเกี่ยวกับ ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ยังจำเป็นที่จะต้องรอผลการศึกษามากกว่านี้

"ในเรื่องอุบัติการณ์การเกิด หลังจากการฉีดวัคซีน เนื่องจากวัคซีนใช้กระบวนการที่เลียนแบบการสร้างภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโควิด-19  ดังนั้นอาจมีการกระตุ้นการเกิดภูมิคุ้มกันต้านตนเองและเกิดปฏิกิริยาอักเสบที่บริเวณต่อมผม ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้

 ปัจจุบันพบรายงานการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อม ที่กลับมาเป็นซ้ำหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความเป็นไปได้ที่โรคผมร่วงเป็นหย่อมจะเกิดขึ้นใหม่ หรือในผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อมที่เป็นมากอยู่แล้วจะเกิดมีอาการมากขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว หลังจากมีการติดเชื้อโควิด-19" 

 อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อมที่เป็นน้อยไม่พบว่ามีอาการมากขึ้น  ภายหลังการติดเชื้อโควิด-19  ทั้งนี้ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวมากพอที่จะสรุปผลได้

 

ผมร่วงเป็นหย่อมๆ เกิดจากวัคซีนอะไรบ้าง?

• วัคซีนงูสวัด

• วัคซีนไวรัส

• ตับอักเสบบี

• วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี 

สังเกตอาการ-เกิดภาวะอื่นร่วมด้วย

 โรคผมร่วงเป็นหย่อม จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคร่วมด้วย เช่น ปัจจัยทางกรรมพันธุ์, ความเครียด, การเจ็บป่วย, โรคภูมิแพ้, โรคไทรอยด์, โรคลูปัส,  ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก, ภาวะการขาดวิตามินดี 

 

การดูแลรักษาหลังฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อโควิด-19

การรักษาขึ้นกับขนาดพื้นที่ของผมร่วงที่ศีรษะ

• ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย มีผมร่วงเป็นหย่อมเพียงเล็กน้อย อาการผมร่วงอาจหายได้เอง หรือไปรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง ด้วยการทายาสเตียรอยด์หรือฉีดยาสเตียรอยด์ที่ศีรษะร่วมกับการทายาไมน็อกซิดิล (Topical minoxidil) 2-5% วันละ 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นผมให้ขึ้นใหม่

• ผู้ป่วยที่มีอาการมาก มีผมร่วงทั่วศีรษะหรือมีขนตามร่างกายร่วงด้วย ควรจะพบแพทย์เพื่อพิจารณาหาวิธีการรักษา เช่น การรักษาด้วยยาทาไดฟีนิลไซโคล, โพรพีโนนหรือ ยาทาดีพีซีพี หรือยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์เฉพาะทางพิจารณา

 ด้าน ศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบมากมายให้กับสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพจิตที่ย่ำแย่จากการวิตกกังวลและความเครียดที่มีมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียตามมากับการใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นอีกโรคที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด การพักผ่อนน้อย การไม่สบายอื่น ๆ นำมาก่อน เช่น ภาวะโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองอื่น ๆ อาทิ โรคเอสแอลอี (SLE), โรคไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น

 โรคผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวของคนไข้มาทำลายรากผม ทำให้ผมหลุดร่วงเป็นหย่อม อาจจะเริ่มจากหย่อมเดียว ( Alopecia areata)  กระจายหลาย ๆ หย่อม (Multiple alopecia areata) ผมร่วงทั้งศีรษะ(Alopecia totalis) หรือมีขนตามร่างกายร่วงทั้งหมด (Alopecia Universalis)

 สาเหตุของการเกิดโรคเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาว ซึ่งเดิมมีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ กลับมาทำลายเซลรากผมของคนไข้เอง

ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดได้ทุกวัย

สามารถเกิดได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โอกาสพบได้ประมาณ 1 ใน 1,000 ของจำนวนประชากร ซึ่งการวินิจฉัย ตามปกติโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้จากอาการแสดงทางคลินิก คือ มีผมร่วงเป็นหย่อม

ลักษณะของผมร่วง

เป็นผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็น (Non-scarring alopecia) อาจมีหย่อมเดียว หลายหย่อม ทั่วทั้งศีรษะหรือมีขนคิ้ว ขนตา ขนรักแร้ ขนตามตัวต่าง ๆ ร่วงด้วยก็ได้ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อยืนยันการวินิจฉัยด้วย โดยการดำเนินโรคส่วนหนึ่งสามารถหายขาดได้ ส่วนหนึ่งจะเป็นเรื้อรังและอีกส่วนหนึ่งจะไม่หายถึงแม้ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว

 

related