“สินทรัพย์ดิจิทัล” ถือเป็นนวัตกรรมทางการเงิน ด้วยความง่ายในการลงทุน สามารถทำธุรกรรมจากที่ไหนก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง ด้วยความที่ยังเป็นสินทรัพย์ใหม่ มีความผันผวนสูง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรเปิดเผยถึงรูปแบบการเสียภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัลว่า โดยปกติหากมีการขายแล้วมีกำไร ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา40(4)(ฌ)ซึ่งผู้จ่ายเงินได้(ผู้ซื้อ) มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15%
นอกจากนี้ ตามข้อกฎหมาย ผู้ขายสินทรัพยดิจิทัล หากมีกำไร มีหน้าที่ต้องนำกำไรจากการขายไปคำนวณรวมกับเงินได้อื่น ในการยื่นเสียภาษีประจำปี ตามปีที่ได้รับกำไร
เนื่องจาก กฎหมายไม่ได้ให้เลือกว่า จะนำมาคำนวณรวมหรือไม่ต้องนำมาคำนวณรวม เช่นเดียวกับการที่ถูกหักภาษีณที่จ่าย แบบดอกเบี้ยหรือเงินปันผล ที่ถูกหักณที่จ่ายในอัตรา15% และ 10% แล้วได้สิทธิ์ให้เลือกว่า จะรวมหรือไม่รวมกับเงินได้ตอนยื่นประจำปีได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
Bitkub (บิทคับ) ใต้ SCBX มีเหรียญไหนน่าซื้อ อนาคตดี ราคาพุ่งอีกบ้าง?
บิทคอยน์ คือ? เงินคริปโต เงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี่ ว่าที่เงินแห่งอนาคต
เตรียมใช้ บิทคอยน์(Bitcoin) ซื้อบ้าน-คอนโด กับแสนสิริผ่าน Bitazza
ภาษีกับสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีบุคคลธรรมดา พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่19 พ.ศ.2561 ระบุไว้ว่า
หากใครซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล(คริปโตเคอร์เรนซี่ เช่นบิทคอยน์,อีเธอเรียม และอื่นๆ หรือ โทเคนดิจิทัลต่างๆ) แล้วตอนขายออกไปสามารถทำกำไรได้ ส่วนผลกำไรจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และยังต้องนำกำไรจากการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลมารวมในการคำนวณภาษีเงินได้อีกด้วย ซึ่งในท้ายที่สุด สำหรับบุคลธรรมดาอาจต้องเสียภาษีสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลถึง 35%